dc.description.abstract |
แพลงก์ตอนเป็นกลุ่มที่มีความสำคัญในห่วงโซ่อาหาร ข้อมูลพื้นฐานที่ดีของแพลงก์ตอนพืชและแพลงก์ตอนสัตว์มีความสำคัญต่อระบบนิเวศทางทะเลในระยะยาว การศึกษาครั้งนี้พบความชุกชุมและความหลากหลายของแพลงก์ตอนที่เก็บตัวอย่างตลอดแนวชายฝั่งทะเลตั้งแต่ปากแม่น้ำบางปะกงถึงพื้นที่อนุรักษ์พันธุกรรมพืชทางทะเล หมู่เกาะแสมสาร จังหวัดชลบุรี โดยการเก็บตัวอย่าง 6 ครั้ง ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2559 ถึงเดือนกันยายน 2560 (เดือนเว้นเดือน) เก็บตัวอย่างจาก 7 สถานี ได้แก่ ปากแม่น้ำบางปะกง (ใกล้ฝั่งและไกลฝั่ง) เมืองใหม่ (ใกล้ฝั่งและไกลฝั่ง) อ่างศิลา (ใกล้ฝั่งและไกลฝั่ง) หาดวอนนภา (ใกล้ฝั่งและไกลฝั่ง) แหลมฉบัง (ใกล้ฝั่งและไกลฝั่ง) นาจอมเทียน (ใกล้ฝั่งและไกลฝั่ง) และหมู่เกาะแสมสาร (ใกล้ฝั่งและไกลฝั่ง) พบแพลงก์ตอนพืช 4 ดิวิชัน (Division) ได้แก่ Cyanophyta , Chlorophyta , Chromophyta และ Pyrrophyta พบแพลงก์ตอนพืชทั้งสิ้น 110 สกุล แบ่งเป็น class Cyanophyceae 11 สกุล class Chlorophyceae 12 สกุล class Euglenophyceae 4 สกุล class Bacillariophyceae 66 สกุล class Dictyochophyceae 1 สกุล และ class Dinophyceae 16 สกุล โดยจะพบแพลงก์ตอนพืชสกุลเด่น ได้แก่ Chaetoceros, Thalassiosira, Skeletonema, Thalassionema, Tichodesmium, Cylindrotheca, Pleurosigma, Bacteriastrum, Coscinodiscus และ Lithodesmium และพบว่าแพลงก์ตอนพืชกลุ่มไดอะตอมเป็นกลุ่มที่มีความหนาแน่นเฉลี่ยสูงกว่ากลุ่มอื่น ๆ ที่พบในบริเวณที่ทำการศึกษา แพลงก์ตอนพืชสกุลที่พบได้ทุกเดือนและมีการแพร่กระจายสูงในการศึกษาครั้งนี้ได้แก่ สกุล Chaetoceros และ Thalassiosira..และแพลงก์ตอนสัตว์พบ 54 กลุ่ม 13 ไฟลัม ได้แก่ไฟลัม Protozoa, Cnidaria, Ctenophora, Nematoda, Nemertea, Annelida, Rotifera, Arthropoda, Phoronida, Chaetognatha, Mollusca, Echinodermata และ Chordata พบความชุกชุมเฉลี่ยรวมของแพลงก์ตอนพืชในฤดูแล้งมากกว่าในฤดูฝน.เท่ากับ 3.9 x 106 และ 0.77 x 106 หน่วยต่อลิตร ตามลำดับ พบความชุกชุมเฉลี่ยรวมสูงสุดในเดือน มกราคม.รองลงมาได้แก่ เดือนกันยายน พฤศจิกายน พฤษภาคม มีนาคม กรกฎาคม เท่ากับ 34.33, 6.67, 3.93, 0.99, 0.74 และ 0.06 x 105 หน่วยต่อลิตร ตามลำดับ และแพลงก์ตอนสัตว์ในฤดูแล้งมากและฤดูฝน เท่ากับ 246.76 และ 220.03 X 104 ตัว/ม3 ตามลำดับ ในเดือนมกราคม 2560 พบจำนวนตัวเฉลี่ยรวมสูงสุดที่สถานีแหลมฉบัง (ไกลฝั่ง) เท่ากับ 400.18 X 104 ตัว/ม3 รองลงมาคือเดือนมีนาคม 2560 ที่สถานีหาดวอนนภา (ใกล้ฝั่งและไกลฝั่ง) สถานีแหลมฉบัง (ใกล้ฝั่งและไกลฝั่ง) พบเท่ากับ (105.70 - 215.45) และ (71.95 - 164.09) X 104 ตัวต่อลูกบาศก์เมตร ตามลำดับ เดือนที่พบความชุกชุมเฉลี่ยต่ำสุดคือเดือนพฤษภาคม 2560 พบเท่ากับ 52.12 X 104 ตัว/ม3 โดยกลุ่มที่มีความสำคัญในห่วงโซ่อาหารที่เป็นกลุ่มเด่น ได้แก่ Larvaceans (Oikopleara spp.), Chaetognatha (Sagitta spp.), Arthropoda (Lucifer hanseni) และกลุ่มของสัตว์หน้าดินวัยอ่อน (Polychaete larvae) คุณภาพของน้ำทะเลตลอดแนวชายฝั่ง จังหวัดชลบุรี มีความเหมาะสมต่อการเจริญและการดารงชีวิตของสัตว์น้ำ ได้แก่ อุณหภูมิ มีค่าระหว่าง 27.0 – 32.9C ความเค็ม มีค่าระหว่าง 1.8 – 32.9 PSU พีเอช มีค่าระหว่าง 7.6 – 8.8 และค่าออกซิเจนละลายในน้า มีค่าระหว่าง 2.56 – 8.8 (มิลลิกรัม/ลิตร)
จากการศึกษาความผันแปรตามลักษณะทางพันธุกรรมของแพลงก์ตอนสัตว์ในกลุ่มโคพีพอด ชนิด Acrocalanus gibber Giesbrecht, 1888 จากการวิเคราะห์ลาดับนิวคลีโอไทด์ในบริเวณไมโทคอนเดรียของยีนส์ cytochrome oxidase I (COI) พบว่ามีขนาด 659 คู่เบส สามารถจำแนกลำดับทางพันธุกรรมได้ 5 haplotype (polymorphic site=, haplotype= 5 haplotype diversity= 0.8056±0.120, neucleotide diversity= 0.00337±0.00079) ค่า Pairwise genetic distance อยู่ระหว่าง 0-0.008% |
th_TH |
dc.description.abstractalternative |
Plankton are an important group the marine food chain. Good baseline data on phytoplankton and zooplankton abundance and diversity are important for a long term monitoring of the health of a marine ecosystem. This study, therefore, examined diversity and abundance of plankton collected from along the Bangpakong River Estuary to Samaesarn Islands, a marine plant genetically protected area during November 2016 (B.E. 2559) to September 2017 (B.E. 2560) (bi monthly sampling); the sampling sites were nearshore and offshore of 7 stations: Bangpakong River Estuary, Muangmai, Ang-Sila, Vonnapha, Laem-Chabang, Najomtein, Samaesarn Islands, Chon Buri Province. One hundred and ten genera were found belonging to 4 divisions of Phytoplankton. These Divisions included Cyanophyta, Chlorophyta, Chromophyta and Pyrrophyta, including 11 genera from class Cyanophyceae, 12 genera from class Chlorophyceae, 4 genera from class Euglenophyceae, 66 genera from class Bacillariophyceae, 1 genus from class Dictyochophyceae and 16 genera from class Dinophyceae. Phytoplankton with the high density of cells were Chaetoceros, Thalassiosira, Skeletonema, Thalassionema, Tichodesmium, Cylindrotheca, Pleurosigma, Bacteriastrum, Coscinodiscus, and Lithodesmium respectively. Phytoplankton genera with the highest distribution and density of cells were Chaetoceros and Thalassiosira. The highest average density of
phytoplankton were found during the dry and wet seasons with 3.9 and 0.77 X 106 unit /L, respectively. The highest density of phytoplankton cells was recorded in January followed by September, November, May, March and July with 34.33, 6.67, 3.93, 0.99, 0.74 and 0.06 x 105unit/L
Fifty-four taxonomic groups belonging to 13 phyla of zooplankton. These phyla included Protozoa, Cnidaria, Ctenophora, Nematoda, Nemertea, Annelida, Rotifera, Arthropoda, Phoronida, Chaetognatha, Mollusca, Echinodermata and Chordata. The highest average abundance of zooplankton was found during the dry and wet seasons with 246.76 and 220.03 X 104 individuals /m3, respectively. Within the dry season (January 2017), samples collected in Laem-Chabang (offshore) had the higher densities of av. 400.18 X 104 ind./m3 and Vonnapha (nearshore and offshore) (105.70 - 215.45) and (71.95 - 164.09) x 104 ind./m3 in March 2017, respectively, while the lowest density of zooplankton was found in May with only 52.12 X 104 ind./m3 was within the zooplankton there were a number of important food chain species that were found in abundance, including species such as Larvaceans (Oikopleura sp.), Chaetognatha (Sagitta spp.), Arthropoda (Lucifer hanseni) and within the benthos group, various Polychaete larvae. Water quality along the coast of Chon Buri Province were within a typical range with water temperature ranging from 27.0 – 32.9C, salinity ranging from 1.8 – 32.9 PSU pH ranging from 7.6 – 8.8 and Dissolve oxygen ranging from 2.56 – 8.8 mg/L.
From the study, a 659 base-pair fragments from the Cytochrome oxidase 1 (COI) gene from 9 individual sequences of copepod species Acrocalanus gibber Giesbrecht, 1888 revealed low genetic divergence (nucleotide divergence= 0-0.008%). The study found degrees of variation between the species (i.e. 7 polymorphic sites; 5 haplotypes with a haplotype diversity of 0.8056±0.120 and a nucleotide diversity of 0.00337±0.00079). |
en |