Abstract:
แพลงก์ตอนเป็นกลุ่มที่มีความสำคัญในห่วงโซ่อาหาร ข้อมูลพื้นฐานที่ดีของแพลงก์ตอนพืชและแพลงก์ตอนสัตว์มีความสำคัญต่อระบบนิเวศทางทะเลในระยะยาว การศึกษาครั้งนี้พบความชุกชุมและความหลากหลายของแพลงก์ตอนที่เก็บตัวอย่างตลอดแนวชายฝั่งทะเลตั้งแต่ปากแม่น้ำบางปะกงถึงพื้นที่อนุรักษ์พันธุกรรมพืชทางทะเล หมู่เกาะแสมสาร จังหวัดชลบุรี โดยการเก็บตัวอย่าง 6 ครั้ง ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2559 ถึงเดือนกันยายน 2560 (เดือนเว้นเดือน) เก็บตัวอย่างจาก 7 สถานี ได้แก่ ปากแม่น้ำบางปะกง (ใกล้ฝั่งและไกลฝั่ง) เมืองใหม่ (ใกล้ฝั่งและไกลฝั่ง) อ่างศิลา (ใกล้ฝั่งและไกลฝั่ง) หาดวอนนภา (ใกล้ฝั่งและไกลฝั่ง) แหลมฉบัง (ใกล้ฝั่งและไกลฝั่ง) นาจอมเทียน (ใกล้ฝั่งและไกลฝั่ง) และหมู่เกาะแสมสาร (ใกล้ฝั่งและไกลฝั่ง) พบแพลงก์ตอนพืช 4 ดิวิชัน (Division) ได้แก่ Cyanophyta , Chlorophyta , Chromophyta และ Pyrrophyta พบแพลงก์ตอนพืชทั้งสิ้น 110 สกุล แบ่งเป็น class Cyanophyceae 11 สกุล class Chlorophyceae 12 สกุล class Euglenophyceae 4 สกุล class Bacillariophyceae 66 สกุล class Dictyochophyceae 1 สกุล และ class Dinophyceae 16 สกุล โดยจะพบแพลงก์ตอนพืชสกุลเด่น ได้แก่ Chaetoceros, Thalassiosira, Skeletonema, Thalassionema, Tichodesmium, Cylindrotheca, Pleurosigma, Bacteriastrum, Coscinodiscus และ Lithodesmium และพบว่าแพลงก์ตอนพืชกลุ่มไดอะตอมเป็นกลุ่มที่มีความหนาแน่นเฉลี่ยสูงกว่ากลุ่มอื่น ๆ ที่พบในบริเวณที่ทำการศึกษา แพลงก์ตอนพืชสกุลที่พบได้ทุกเดือนและมีการแพร่กระจายสูงในการศึกษาครั้งนี้ได้แก่ สกุล Chaetoceros และ Thalassiosira..และแพลงก์ตอนสัตว์พบ 54 กลุ่ม 13 ไฟลัม ได้แก่ไฟลัม Protozoa, Cnidaria, Ctenophora, Nematoda, Nemertea, Annelida, Rotifera, Arthropoda, Phoronida, Chaetognatha, Mollusca, Echinodermata และ Chordata พบความชุกชุมเฉลี่ยรวมของแพลงก์ตอนพืชในฤดูแล้งมากกว่าในฤดูฝน.เท่ากับ 3.9 x 106 และ 0.77 x 106 หน่วยต่อลิตร ตามลำดับ พบความชุกชุมเฉลี่ยรวมสูงสุดในเดือน มกราคม.รองลงมาได้แก่ เดือนกันยายน พฤศจิกายน พฤษภาคม มีนาคม กรกฎาคม เท่ากับ 34.33, 6.67, 3.93, 0.99, 0.74 และ 0.06 x 105 หน่วยต่อลิตร ตามลำดับ และแพลงก์ตอนสัตว์ในฤดูแล้งมากและฤดูฝน เท่ากับ 246.76 และ 220.03 X 104 ตัว/ม3 ตามลำดับ ในเดือนมกราคม 2560 พบจำนวนตัวเฉลี่ยรวมสูงสุดที่สถานีแหลมฉบัง (ไกลฝั่ง) เท่ากับ 400.18 X 104 ตัว/ม3 รองลงมาคือเดือนมีนาคม 2560 ที่สถานีหาดวอนนภา (ใกล้ฝั่งและไกลฝั่ง) สถานีแหลมฉบัง (ใกล้ฝั่งและไกลฝั่ง) พบเท่ากับ (105.70 - 215.45) และ (71.95 - 164.09) X 104 ตัวต่อลูกบาศก์เมตร ตามลำดับ เดือนที่พบความชุกชุมเฉลี่ยต่ำสุดคือเดือนพฤษภาคม 2560 พบเท่ากับ 52.12 X 104 ตัว/ม3 โดยกลุ่มที่มีความสำคัญในห่วงโซ่อาหารที่เป็นกลุ่มเด่น ได้แก่ Larvaceans (Oikopleara spp.), Chaetognatha (Sagitta spp.), Arthropoda (Lucifer hanseni) และกลุ่มของสัตว์หน้าดินวัยอ่อน (Polychaete larvae) คุณภาพของน้ำทะเลตลอดแนวชายฝั่ง จังหวัดชลบุรี มีความเหมาะสมต่อการเจริญและการดารงชีวิตของสัตว์น้ำ ได้แก่ อุณหภูมิ มีค่าระหว่าง 27.0 – 32.9C ความเค็ม มีค่าระหว่าง 1.8 – 32.9 PSU พีเอช มีค่าระหว่าง 7.6 – 8.8 และค่าออกซิเจนละลายในน้า มีค่าระหว่าง 2.56 – 8.8 (มิลลิกรัม/ลิตร)
จากการศึกษาความผันแปรตามลักษณะทางพันธุกรรมของแพลงก์ตอนสัตว์ในกลุ่มโคพีพอด ชนิด Acrocalanus gibber Giesbrecht, 1888 จากการวิเคราะห์ลาดับนิวคลีโอไทด์ในบริเวณไมโทคอนเดรียของยีนส์ cytochrome oxidase I (COI) พบว่ามีขนาด 659 คู่เบส สามารถจำแนกลำดับทางพันธุกรรมได้ 5 haplotype (polymorphic site=, haplotype= 5 haplotype diversity= 0.8056±0.120, neucleotide diversity= 0.00337±0.00079) ค่า Pairwise genetic distance อยู่ระหว่าง 0-0.008%