dc.contributor.author | วทัญญู วุฒิวรรณ์ | |
dc.contributor.other | มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์ | |
dc.date.accessioned | 2022-06-21T01:45:11Z | |
dc.date.available | 2022-06-21T01:45:11Z | |
dc.date.issued | 2563 | |
dc.identifier.uri | http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/4459 | |
dc.description | โครงการวิจัยประเภทงบประมาณเงินรายได้จากกองทุนวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยบูรพา ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 | th_TH |
dc.description.abstract | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1. เพื่อศึกษาการทำงานวิจัยและปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการทำงานวิจัยของอาจารย์คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา 2. เพื่อหาแนวทางการส่งเสริมการวิจัยของอาจารย์ในคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพาโดยผู้วิจัยใช้การวิจัยและพัฒนา ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ อาจารย์ของคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา กลุ่มตัวอย่าง คือ อาจารย์ที่เคยรับทุนอุดหนุนการวิจัยของคณะศึกษาศาสตร์ จำนวน 10 คน และอาจารย์ที่ไม่เคยรับทุนอุดหนุนการวิจัยของคณะศึกษาศาสตร์ จำนวน 45 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถามแนวทางการส่งเสริมการวิจัยของอาจารย์ในคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ (Frequency) ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (𝑥𝑥̅) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) ผลการศึกษาวิจัย พบว่า 1. อาจารย์ที่รับทุนอุดหนุนการวิจัยจากคณะศึกษาศาสตร์ ต้องการทำผลงานเพื่อขอเลื่อนตำแหน่งทางวิชาการ คิดเป็นร้อยละ 80.00 รองลงมาคือ ภาระหน้าที่ และต้องการค้นคว้าความรู้เพิ่มเติมให้เป็นประโยชน์ต่อแวดวงวิชาการ คิดเป็นร้อยละ 40.00 เพื่อให้นิสิต หรือผู้สนใจสามารถนำองค์ความรู้ที่ได้รับไปอ้างอิงได้ คิดเป็นร้อยละ 30.00 เพื่อสร้างนวัตกรรมใหม่ๆ คิดเป็นร้อยละ 20.00 และต้องการความยอมรับและชื่อเสียงทางวิชาการของตนเอง คิดเป็นร้อยละ 10.00 2. ปัจจัยที่ส่งผลต่อการทำวิจัยของอาจารย์ที่เคยได้รับทุนอุดหนุนการวิจัยจากคณะศึกษาศาสตร์ในภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก (𝑥𝑥̅ = 0.77, SD = 4.30) เมื่อพิจารณาแต่ละประเด็น พบว่า กำหนดปัญหาวิจัยและวัตถุประสงค์การวิจัยได้อย่างถูกต้อง การสืบค้นเอกสาร และงานวิจัยจากแหล่งข้อมูลต่าง ๆ ได้อย่างถูกต้อง และจะรับฟังข้อเสนอแนะจากบุคคลอื่นอย่างมีเหตุผล ค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด 3. อาจารย์ที่ไม่รับทุนอุดหนุนการวิจัยจากคณะศึกษาศาสตร์ เนื่องจากมีภาระงานสอนมาก คิดเป็นร้อยละ 44.44 รองลงมาคือ ไม่มีพี่เลี้ยงในการให้คำปรึกษาเกี่ยวกับการทำวิจัย คิดเป็นร้อยละ 26.67 และมีขั้นตอนการขอรับทุนยุ่งยากมาก คิดเป็นร้อยละ 15.56 4. ปัจจัยในการขอรับทุนอุดหนุนการวิจัยจากคณะศึกษาศาสตร์ในอนาคตของอาจารย์ที่ไม่เคยรับทุนอุดหนุนการวิจัยของคณะศึกษาศาสตร์ คือ การทำวิจัยเพื่อความก้าวหน้าในตำแหน่งที่สูงขึ้น คิดเป็นร้อยละ 64.44 รองลงมาคือ คณะกำหนดทิศทางการวิจัยที่ชัดเจน คิดเป็นร้อยละ 26.67 | th_TH |
dc.description.sponsorship | กองทุนวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยบูรพา | th_TH |
dc.language.iso | th | th_TH |
dc.publisher | คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา | th_TH |
dc.subject | อาจารย์มหาวิทยาลัยบูรพา | th_TH |
dc.subject | อาจารย์มหาวิทยาลัย - - วิจัย | th_TH |
dc.title | แนวทางการส่งเสริมการวิจัยของอาจารย์ในคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา | th_TH |
dc.title.alternative | Guidelines to encourage Research Practice of Instructors in Faculty of Education, Burapha University | th_TH |
dc.type | Research | th_TH |
dc.author.email | watanyou@buu.ac.th | th_TH |
dc.year | 2563 | th_TH |
dc.description.abstractalternative | The proposes of this research were to: 1. Explore the state of conducting research at the Faculty of Education, Burapha University, including policy, administration, resource allocation, amount of research, and ways of conducting research. 2. Analyze factors impinging upon research activities of faculty members; and 3. Propose ways to improve the research culture of this Faculty. In terms of research methodology, this study is a descriptive research. Data were collected through document and aggregate data analysis, questionnaire, in-depth interview, and focus group discussion. Findings are as follows: 1. In terms of the state of conducting research, while the Faculty attempts to provide a conducive research-oriented environment, less than 50% of them do research. Most of the researches are action research, done individually or among a small group of faculty members. The Faculty also confronts other problems, such as complicated financial procedures, lack of coherence and relevance among its research products, etc. However, the Faculty has a potential for becoming an institution with the research culture as it possesses many strengths, such as talent scholars who can serve as mentors, administrators who are committed to the research culture, adequate financial support, consistently organized research training. 2. This study also reports factors that enhance the research culture from the perspectives of research oriented and non-research oriented faculty members. Important factors for boosting the research culture include clear policy, reward system, and opportunities for publicizing research findings. 3. Finally, many approaches for improving the research culture are recommended ranging from changing the attitude of faculty members to administrative action. | en |
dc.keyword | สาขาการศึกษา | th_TH |