DSpace Repository

กลไกการส่งสัญญาณเซลล์ของสารสกัดจากเมล็ดกระทงลายและสารออกฤทธิ์ต่อการยับยั้งการสูญเสียความจำในหนูชราเพศเมีย

Show simple item record

dc.contributor.author ณรงค์ฤทธิ์ ทองอุ่น
dc.contributor.author ศิริพร จำเนียรสวัสดิ์
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะสหเวชศาสตร์ th
dc.date.accessioned 2022-06-16T07:05:31Z
dc.date.available 2022-06-16T07:05:31Z
dc.date.issued 2563
dc.identifier.uri http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/4443
dc.description งานวิจัยนี้ได้รับทุนสนับสนุนการวิจัยจากงบประมาณเงินรายได้คณะสหเวชศาสตร์ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2562 มหาวิทยาลัยบูรพา เลขที่สัญญา AHS3/2562 th_TH
dc.description.abstract การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อแสดงให้เห็นผลของการให้สารสกัดจากเมล็ดกระทงลายแบบสกัดหยาบต่อการบำรุงความจำในหนูแรทเพศเมีย ผ่านวิถี mTOR และฤทธิ์ในการปกป้องเซลล์ประสาทเพาะเลี้ยง ชนิด SH-SY5Y ทำการทดสอบความจำโดยวิธี Moris Water Maze ศึกษาระดับการแสดงออกของโปรตีน mTOR ในเนื้อเยื่อสมองส่วนฮิปโปแคมปัส ด้วยวิธี Western blot และศึกษาค่าความเป็นพิษของสารสกัดจากเมล็ดกระทงลายตลอดจนฤทธิ์ในการปกป้องเซลล์ประสาทด้วยวิธี MTT assay ในเซลล์ประสาทเพาะเลี้ยง SH-SY5Y ผลการวิจัยพบว่าการให้สารสกัดจากเมล็ดกระทงลายเป็นเวลา 14 วัน มีฤทธิ์บำรุงความจำโดยลดการใช้เวลาในการหา platform ที่ซ่อนอยู่ใต้น้ำอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ เมื่อเทียบกับกลุ่มควบคุม และยังพบว่าหนูที่ได้รับสารสกัดจากเมล็ดกระทงลายเป็นเวลา 14 วัน เพิ่มการแสดงออกของ mTOR ในสมองส่วน hippocampus ได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติเมื่อเทียบกับกลุ่มควบคุม นอกจากนี้งานวิจัยชิ้นนี้ยังทำการศึกษาฤทธิ์ของกระทงลายในเซลล์เพาะเลี้ยง ชนิด SH-SY5Y พบว่าไม่มีความเป็นพิษต่อเซลล์และยังเพิ่มค่าการมีชีวิตของเซลล์เพาะเลี้ยงได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติอีกด้วย โดยความเข้มข้นที่เหมาะสมคือ 10 ug/ml เป็นเวลา 24 ชั่วโมง แสดงให้เห็นว่า สารสกัดจากเมล็ดกระทงลายมีฤทธิ์บำรุงความจำและเพิ่มอัตราการมีชีวิตของเซลล์ประสาท th_TH
dc.description.sponsorship คณะสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา th_TH
dc.language.iso th th_TH
dc.publisher คณะสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา th_TH
dc.subject ภาวะสมองเสื่อม th_TH
dc.title กลไกการส่งสัญญาณเซลล์ของสารสกัดจากเมล็ดกระทงลายและสารออกฤทธิ์ต่อการยับยั้งการสูญเสียความจำในหนูชราเพศเมีย th_TH
dc.title.alternative Signaling mechanism of celastrus paniculatus seed extract and its active compound-inhibited memory impairment in aged female rat en
dc.type Research th_TH
dc.author.email narongritt@buu.ac.th th_TH
dc.author.email siripornc@buu.ac.th th_TH
dc.year 2563 th_TH
dc.description.abstractalternative The present study demonstrated that Celastrus Paniculatus seed extract enhanced memory in female rat via mTOR pathway. Moreover, this research also showed neuroprotective effect of Celastrus Paniculatus seed extract in SH-SY5Y cell. This study used Moris Water Maze to demonstrate memory behavior, used Western blot to study the expression of mTOR protein in hippocampus. On the other hand, we also study the toxicity of Celastrus Paniculatus seed extract on SH-SY5Y cell. The results showed that treatment with Celastrus Paniculatus seed extract for 14 days increase memory function by significant decreasing the time of finding the platform in compare to control. Moreover, Celastrus Paniculatus seed extract-treated rat for 14 days significantly increased mTOR expression in hippocampus compare to control group. On the other hand, the present also demonstrated the effect of Celastrus Paniculatus seed extract on the viability of SH-SY5Y cells. The results showed that Celastrus Paniculatus seed extract are non-toxic to the cell and significantly increased cell viability up to 80% after 24 hours. This study summarized that Celastrus Paniculatus seed extract enhanced spatial learning and memory fomation as well as increased the viability of cell. en
dc.keyword สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์ th_TH


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account