dc.contributor.author |
อริสฬา เตหลิ่ม |
|
dc.contributor.other |
มหาวิทยาลัยบูรพา. สำนักงานอธิการบดี |
th |
dc.date.accessioned |
2022-06-16T06:40:56Z |
|
dc.date.available |
2022-06-16T06:40:56Z |
|
dc.date.issued |
2563 |
|
dc.identifier.uri |
http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/4439 |
|
dc.description |
งานวิจัยนี้ได้รับทุนสนับสนุนการวิจัยจากงบประมาณกองทุนวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยบูรพา ประจำปี พ.ศ. 2562 เลขที่สัญญา R9/2562 |
th_TH |
dc.description.abstract |
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาฟังก์ชันการอยู่รอด มัธยฐานระยะเวลา การอยู่รอด และอัตราเสี่ยงอันตรายของนิสิตมหาวิทยาลัยบูรพา 2) เปรียบเทียบฟังก์ชันการอยู่รอดของนิสิตมหาวิทยาลัยบูรพาที่มีคุณลักษณะแตกต่างกัน 3) ศึกษาโมเดลของฟังก์ชันความเสี่ยงอันตรายของนิสิตมหาวิทยาลัยบูรพาที่มีคุณลักษณะแตกต่างกัน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่ นิสิตระดับปริญญาตรี ที่เริ่มศึกษาปีการศึกษา 2557 หลักสูตร 4 ปี จำนวน 1,000 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบแบ่งชั้น โดยใช้ข้อมูลทุติยภูมิ (Secondary source) ซึ่งรวบรวมจากกองทะเบียนและประมวลผลการศึกษา มหาวิทยาลัยบูรพา โดยประยุกต์ใช้การวิเคราะห์การอยู่รอดในการศึกษา ตัวแปรที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ เพศ อายุ อาชีพผู้ปกครอง รายได้ผู้ปกครอง เกรดเฉลี่ยสะสมระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย (GPA) และกลุ่มสาขาวิชา ผลการศึกษาพบว่า
1. จากการวิเคราะห์ตารางชีพ (Life Table) พบว่า ช่วงเวลาที่ 3 หรือภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2557 เป็นช่วงเวลาที่มีความเสี่ยงสูงสุด โดยมีอัตราความเสี่ยงเท่ากับ 0.1078 และมีโอกาสอยู่รอดในการศึกษานานกว่าภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2557 เท่ากับ 85.92% และไม่สามารถแสดงมัธยฐานระยะเวลาการอยู่รอดได้ เนื่องจากยังไม่เกิดกรณีนิสิตจำนวนครึ่งหนึ่งออกกลางคันในช่วงเวลาที่ศึกษา
2. การเปรียบเทียบฟังก์ชันการอยู่รอด โดยใช้การวิเคราะห์ Kaplan-Meier และการทดสอบโดย Log-Rank Test พบว่า ตัวแปรที่ให้ผลการเปรียบเทียบฟังก์ชันการอยู่รอดแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติที่ระดับ .05 ได้แก่ เพศ อายุ เกรดเฉลี่ยสะสมระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย (GPA) และกลุ่มสาขาวิชา
3. การวิเคราะห์โมเดลของฟังก์ชันความเสี่ยงต่อการออกกลางคัน ด้วยการวิเคราะห์การถดถอยของ Cox พบว่า ตัวแปรที่มีอิทธิพลต่อความเสี่ยงต่อการออกกลางคันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ได้แก่ เพศและเกรดเฉลี่ยสะสมระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย (GPA) |
th_TH |
dc.description.sponsorship |
กองทุนวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยบูรพา |
th_TH |
dc.language.iso |
th |
th_TH |
dc.publisher |
สำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยบูรพา |
th_TH |
dc.subject |
การออกกลางคัน |
th_TH |
dc.subject |
การออกกลางคันในสถาบันอุดมศึกษา |
th_TH |
dc.title |
การวิเคราะห์ความอยู่รอดจากการออกกลางคันของนิสิตระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยบูรพา |
th_TH |
dc.title.alternative |
A survival analysis of dropning out of undergaduate students, Burapha University |
en |
dc.type |
Research |
th_TH |
dc.author.email |
alisala@buu.ac.th |
th_TH |
dc.year |
2563 |
th_TH |
dc.description.abstractalternative |
The research aimed to 1) investigate the survival function, median survival time and hazard rate of Undergraduate Students, Burapha University (BUU). 2) to compare the survival function of BUU students with different characteristics, and 3) to study hazard model of BUU students with different characteristics. The sample consisted of 1,000 undergraduate students in academic year 2014, selected by stratified random sampling. The data used for this study were from Registrar’s Office, BUU. The variables in this study included gender, age, parents’ occupations, parents’ salary, grade point average of high school (GPA), and fields of study. The results of the study revealed that:
1. From life table, the highest risk period of 0.1078 and survival time of 85.92% occurred in the second semester, 2014. The median survival time could not be shown because of 50% of student’s drop out did not occur in the study time.
2. The Kaplan Meier analysis indicated that the predictors which affected the survival time, with a significantly difference at the level of .05, were gender, age, GPA, and fields of study.
3. Form Cox’s regression, it revealed that the predictors which affected hazard model were gender, and GPA. |
en |
dc.keyword |
สาขาการศึกษา |
th_TH |