Abstract:
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินหลักสูตรการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการสอนวิทยาศาสตร์ (ฉบับ พ.ศ.2559) คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา ตามกรอบการประเมินตามเกณฑ์มาตราฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2552 เกณฑ์ประกันคุณภาพภายในระดับหลักสูตรของ สกอ. องค์ประกอบที่ 1 ประเมินตามเกณฑ์ AUN QA ประเมินตามรูปแบบซิปป์ (CIPP model) และเทคนิคการวิจัยอนาคตภาพแบบ EFR กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย คณะกรรมการบริหารหลักสูตร บัณฑิต นิสิต ผู้บังคับบัญชา ผู้เกี่ยวข้องกับบัณฑิตและผู้เชี่ยวชาญ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์
1. หลักสูตรการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการสอนวิทยาศาสตร์ (ฉบับ พ.ศ.2559) มีผลการดำเนินงานผ่านเกณฑ์ของการประกันคุณภาพการศึกษาภายในระดับหลักสูตร ตามกรอบการประเมินตามกรอบมาตราฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2552 ทั้ง 12 ตัวบ่งชี้
2. หลักสูตรการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการสอนวิทยาศาสตร์ (ฉบับ พ.ศ.2559) มีผลการดำเนินงานผ่านเกณฑ์การประกันคุณภาพการศึกษาภายในระดับหลักสูตร ตามเกณฑ์ประกันคุณภาพภายในระดับหลักสูตรของ สกอ. องค์ประกอบที่ 1 ทั้ง 11 ข้อ
3. หลักสูตรการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการสอนวิทยาศาสตร์ (ฉบับ พ.ศ.2559) มีผลการดำเนินงานผ่านเกณฑ์การประกันคุณภาพการศึกษาภายในระดับหลักสูตร ตามเกณฑ์ AUN QA ทั้ง 11 ตัวบ่งชี้ โดยมีค่าเฉลี่ยรวมทุกตัวบ่งชี้อยู่ในระดับ 3
4. หลักสูตรการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการสอนวิทยาศาสตร์ (ฉบับ พ.ศ.2559) มีผลการประเมินหลักสูตรตามรูปแบบซิปป์ในภาพรวมมีค่าเฉลี่ยความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก (μ = 4.48, σ = 0.12) โดยด้านที่มีความคิดเห็นมากที่สุด ได้แก่ ความคิดเห็นด้านกระบวนการ (μ = 4.61, σ = 0.08) รองลงมาคือ ความคิดเห็นด้านบริบท (μ = 4.61, σ = 0.28) ความคิดเห็นด้านปัจจัยนำเข้า (μ = 4.53, σ = 0.04) และ ความคิดเห็นด้านผลผลิต (μ = 4.43, σ = 0.07) ตามลำดับ
5. ผลการศึกษาอนาคตภาพของหลักสูตรการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการสอนวิทยาศาสตร์ จำแนกได้ 4 ด้าน ได้แก่ ด้านคุณลักษณะของบัณฑิต บัณฑิตที่มีคุณลักษณะดังนี้ มีคุณธรรม จริยธรรม มีจิตวิญญาณความเป็นครูและเป็นครูมืออาชีพ มีความรู้ความสามารถและเชี่ยวชาญในการจัดการเรียนรู้ทางการศึกษา คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ คอมพิวเตอร์ ที่สอดคล้องตามเกณฑ์มาตรฐานวิชาชีพครู มีความสามารถใช้ภาษาต่างประเทศเป็นเครื่องมือในการแสวงหาความรู้และถ่ายทอดความรู้ เป็นครูนักวิจัยที่สามารถพัฒนาความรู้ในศาสตร์ที่เชี่ยวชาญหรือพัฒนานวัตกรรมทางการศึกษาโดยใช้กระบวนการวิจัย เป็นนักคิดอย่างเป็นระบบ สามารถคิดสร้างสรรค์ คิดอย่างมีวิจารณญาณ คิดแก้ปัญหา และสามารถตัดสินใจ เป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลงการจัดการเรียนการสอนที่สอดคล้องกับการเรียนรู้ยุคใหม่ เป็นผู้ที่พร้อมที่จะพัฒนาตนเองอยู่เสมอในทุก ๆ ด้าน รวมทั้งมีมนุษยสัมพันธ์ที่ดีกับบุคคลอื่น ทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ และมีเครือข่ายการทำงานร่วมกันอย่างสร้างสรรค์