dc.contributor.author |
ปิยะฉัตร ฉัตรตันใจ |
|
dc.contributor.other |
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิศวกรรมศาสตร์ |
th |
dc.date.accessioned |
2022-06-15T09:26:02Z |
|
dc.date.available |
2022-06-15T09:26:02Z |
|
dc.date.issued |
2561 |
|
dc.identifier.uri |
http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/4429 |
|
dc.description |
งานวิจัยนี้ได้รับทุนสนับสนุนการวิจัยจากงบประมาณเงินรายได้ (เงินอุดหนุนจากรัฐบาล) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2561 มหาวิทยาลัยบูรพา ผ่านสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ เลขที่สัญญา 212/2561 |
th_TH |
dc.description.abstract |
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ในการหาค่าสัมประสิทธิ์แรงดันดินด้านข้างในสภาวะอยู่นิ่งของดินเหนียวอ่อนกรุงเทพทั้งในสภาวะอัดตัวปรกติและอัดตัวมากกว่าปรกติ โดยทั่วไปแล้วการหาค่าดังกล่าวจะใช้เครื่องมือทดสอบแบบแรงอัดสามแกนซึ่งมีความยุ่งยากเป็นอย่างมากที่จะต้องทำการควบคุมให้ความเครียดในแนวดิ่งมีค่าเท่ากับความเครียดเชิงปริมาตรในกระบวนการอัดตัวคายน้ำ ซึ่งหากการทดสอบไม่เป็นไปตามเงื่อนไขดังกล่าวจะทำให้ค่าสัมประสิทธิ์แรงดันดินด้านข้างในสภาวะอยู่นิ่งเกิดความผิดพลาด ด้วยเหตุนี้ งานวิจัยนี้จึงได้นำเสนอวิธีการในการทดสอบรวมทั้งเครื่องมือที่ใช้ในการทดสอบแบบใหม่ เครื่องมือที่ใช้ทดสอบจะทำงานร่วมกันระหว่างเซ็นเซอร์ที่มีความแม่นยำสูงกับระบบควบคุมแบบป้อนกลับซึ่งจะทำให้สามารถวัดแรงเค้นได้ทั้งสามทิศทางและยังสามารถจำลองสภาวะแวดล้อมจริงในสนามได้ทั้งในขั้นตอนการสร้างโครงสร้างให้กับดินรวมทั้งการเฉือนตัวอย่างอีกด้วย
ตัวอย่างดินจะถูกอัดตัวคายน้ำโดยใช้ค่าแรงเค้นประสิทธิผลในแนวดิ่งสำหรับตัวอย่างดินอัดตัวปรกติและค่าอัตราส่วนการยุบอัดตัวเกินปกติสำหรับตัวอย่างอัดตัวมากกว่าปรกติที่แตกต่างกัน ค่าสัมประสิทธิ์แรงดันดินด้านข้างในสภาวะอยู่นิ่งจะถูกวัดค่าเมื่อการอัดตัวคายน้ำหลักสิ้นสุดลง หลังจากนั้นเงื่อนไขสภาวะแวดล้อมของการทดสอบจะถูกเปลี่ยนเป็นแบบสมมาตรรอบแกนเดียวและตัวอย่างจะถูกเฉือนทันทีในสภาวะที่น้ำไม่สามารถไหลออกจากตัวอย่างดินได้ จากผลการทดสอบพบว่าระบบควบคุมอัตโนมัติที่นำเสนอนั้นมีประสิทธิภาพดีมากในการควบคุมการเคลื่อนตัวด้านข้างของดินตัวอย่างในขณะที่ดินอยู่ระหว่างกระบวนการอัดตัวคายน้ำ ความสัมพันธ์ระหว่างความเค้นและความเครียดในขั้นตอนการเฉือนดินตัวอย่างอัดตัวคายน้ำปรกติเป็นแบบมีจุดสูงสุดของค่าความเค้นและจะลดลงสูงค่าคงที่ ลักษณะการวิบัติเกิดทั้งการบวมตัวออกด้านข้างและแถบแรงเฉือนผสมกัน ค่าความสามารถในการรับแรงเฉือนจะเพิ่มขึ้นตามค่าความเค้นในแนวดิ่งที่ใช้ในกระบวนการอัดตัวคายน้ำ ผลการทดสอบยังพบอีกว่าค่าสัมประสิทธิ์แรงดันดินด้านข้างในสภาวะอยู่นิ่งของดินเหนียวอัดตัวปรกตินั้นจะไม่ขึ้นอยู่กับค่าความสามารถในการรับแรงเฉือนและค่าดังกล่าวจะเพิ่มขึ้นตามค่าอัตราส่วนการยุบอัดตัวเกินปกติเมื่อดินอยู่ในสภาวะอัดตัวคายน้ำมากกว่าปรกติ ความสัมพันธ์ดังกล่าวสามารถนาเสนอเป็นสมการโดยใช้ตัวแปลคือค่าอัตราส่วนการยุบอัดตัวเกินปกติและมุมเสียดทานภายในเมื่อค่าความเค้นในแนวดิ่งคงที่ |
th_TH |
dc.description.sponsorship |
สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ |
th_TH |
dc.language.iso |
th |
th_TH |
dc.publisher |
คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา. |
th_TH |
dc.subject |
ดินเหนียว |
th_TH |
dc.title |
สัมประสิทธิ์ของความดันดินที่สภาวะอยู่นิ่งของดินเหนียวกรุงเทพประกอบตัวใหม่ขณะเพิ่มหน่วยแรงประสิทธิผลในแนวดิ่ง |
th_TH |
dc.title.alternative |
Coefficient of earth Pressure at rest of Remolded Bangkok Clay under Increasing the Effective Vertical Stress Condition |
en |
dc.type |
Research |
th_TH |
dc.author.email |
Piyachatc@buu.ac.th |
th_TH |
dc.year |
2561 |
th_TH |
dc.description.abstractalternative |
This research mainly focus on how to determine the coefficient of earth pressure at rest (ko) for soft Bangkok clay in both normally consolidated and overconsolidated state. It is well-known that this value has been performing with Triaxial test equipment. However, the procedure to perform ko-consolidation via Triaxial test is a very high complexity to maintain the vertical strain which must be equal to volumetric strain for ko-consolidation process. The value of ko was spoiled if the experiment can’t rich to this important criteria. Therefore, the new testing methodology and artificial equipment were proposed in this research. The experiment was operate by using the high precision sensors combined with the automatic feedback control system that able to measure the stresses in three axis and reproduces the significant boundary condition in the field for both soil structure reconstruction and shearing. The specimens were consolidated by differential pre-consolidation pressures and overconsolidate ratio (OCR) for normally consolidated and overconsolidated soil specimens, respectively. The values of ko were captured at the end of primary consolidation. After that, the boundary condition of the specimens were changed into an axisymmetric condition and immediately sheared under un-drained condition. According to the experimental results, the proposed automatic controlling system work every well to constrain the lateral movement while consolidation was performed. The relationship between effective vertical stress and vertical strain shows the strain softening after the stress reach to the peak state and the failure mode shows the combination between barreling and shear failure for normally consolidated specimens. The undrained shear strength at peak and residual state increase with pre-consolidation pressures. The ko doesn't depend on the undrained shear strength for normally consolidated clay, but it increase with OCR for overconsolidated state. Finally, the formula of ko for soft Bangkok clay was proposed as the function of residual internal friction angle and OCR. |
en |