Abstract:
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1. เพื่อสำรวจปัญหาและความต้องการด้านการใช้ภาษาอังกฤษของผู้ใช้บัณฑิตในเขตพัฒนาเศรษฐกิจภาคตะวันออก (EEC) 2. เพื่อพัฒนากรอบสมรรถนะหลักด้านการใช้ภาษาอังกฤษเพื่อรองรับเขตพัฒนาเขตเศรษฐกิจภาคตะวันออก (EEC) กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ประกอบการ 10 อุตสาหกรรมเป้าหมายในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) ในจังหวัดชลบุรี ระยอง และฉะเชิงเทรา จำนวน 400 แห่ง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือแบบสอบถามที่มีโครงสร้าง โดยมีค่าความเชื่อมั่นที่ .952 สถิติที่ใช้ในงานวิจัยคือ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า การฟังภาษาอังกฤษมีปัญหามาก การอ่านพูด อ่าน และเขียนมีปัญหาปานกลาง สมรรถนะหลักโลจิสติกส์ที่ผู้ใช้บัณฑิตมีความต้องการมากอยู่ในเกณฑ์ CEFR ระดับ C1 ได้แก่ การคิดเชิงวิพากษ์และการคิดเชิงวิเคราะห์ คณิตศาสตร์สถิติและการคิดวิเคราะห์ กฎหมายและกฎระเบียบโลจิสติกส์ การค้าอิเลคทรอนิคส์ เศรษฐศาสตร์การขนส่ง และระบบข้อมูลโลจิสติกส์ ผู้ใช้บัณฑิตมีความต้องการค่อนข้างมากในเกณฑ์ CEFR ระดับ B2 ด้านวิชาการ 5 ลำดับแรก ได้แก่ การดำเนินงานและเศรษฐศาสตร์องค์กร พื้นฐานการจัดการวัสดุ ความรู้พื้นฐานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ การสื่อสารด้วยภาพและด้วยวาจา และความรู้พื้นฐานด้านโซ่อุปทาน ด้านคุณลักษณะทักษะโลจิสติกส์ 5 ลำดับแรกคือ การวางแผนทรัพยากร การจัดการกระจาย การบริหารการขนส่ง และการจัดการการส่งสินค้า การวางแผนการผลิต โลจิสติกส์ระหว่างรูปแบบการขนส่ง และการจัดการโซ่อุปทาน และพบว่ามีความต้องการระดับปานกลางในเกณฑ์ CEFR ระดับ B1 ได้แก่ ด้านการจัดการการค้าปลีก ดังนั้นจากสมรรถนะหลักเหล่านี้สามารถสร้างเป็นกรอบการพัฒนาสมรรถนะหลักภาษาอังกฤษของบัณฑิตสาขาโลจิสติกส์ให้พร้อมที่จะทำงานให้กับผู้ใช้บัณฑิตใน EEC ได้