dc.contributor.author | ขันทอง สุขผ่อง | |
dc.contributor.other | มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะแพทยศาสตร์ | th |
dc.date.accessioned | 2022-06-14T13:13:11Z | |
dc.date.available | 2022-06-14T13:13:11Z | |
dc.date.issued | 2563 | |
dc.identifier.uri | http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/4417 | |
dc.description | โครงการวิจัยประเภทงบประมาณเงินรายได้ จากเงินอุดหนุนรัฐบาล (งบประมาณแผ่นดิน) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2561 | th_TH |
dc.description.abstract | การวิจัยครั้งนี้เป็นวิจัยเชิงคุณภาพมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาบทบาทการใช้ชีวิตเมื่อเริ่มตั้งครรภ์ เข้าสู่ระยะคลอด ระยะหลังคลอด และแรงสนับสนุนทางสังคมที่มีส่วนช่วยในการเผชิญปัญหาของแม่วัยเรียน ผู้ให้ข้อมูลหลักคือนักศึกษาระดับอุดมศึกษาอายุ 18-24 ปี ที่คลอดบุตรและบุตรอายุไม่เกิน 1 ปี ณ โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยบูรพา จังหวัดชลบุรี ยังคงสถานะเป็นนักศึกษา จำนวน 14 คน และผู้ที่เกี่ยวข้อง สนับสนุนหรือช่วยเหลือจำนวน 14 คน เก็บข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์เจาะลึก วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า บทบาทการใช้ชีวิตเมื่อเริ่มตั้งครรภ์ของแม่วัยเรียน ในระยะแรกเป็นความรู้สึกเสียใจ ผิดหวังต่อมารู้สึกกังวล งง สับสน ต้องอดทนต่อสิ่งรอบข้างและอดทนต่ออารมณ์ฉุนเฉียว หงุดหงิดของตนเอง และยังต้องแบ่งเวลาให้กับการเรียนและการดูแลบุตรที่อยู่ในครรภ์ ในระยะคลอดและระยะหลังคลอดมีการปรับบทบาทการใช้ชีวิตต้องจัดเวลาระหว่างการเรียนและการเลี้ยงดูบุตร บางรายต้องเลี้ยงดูบุตรตามลำพัง และหารายได้ ขณะเดียวกันแม่วัยเรียนบางรายรู้สึกว่าประสบการณ์การตั้งครรภ์ทำให้ตนเองมีความรับผิดชอบมากขึ้น แรงสนับสนุนทางสังคมที่มีส่วนช่วยในการเผชิญปัญหาของแม่วัยเรียนคือกำลังใจจากตนเอง และการสนับสนุนจากคนรอบข้าง ได้แก่ พ่อแม่ สามี อาจารย์ เพื่อน โดยสนับสนุนค่าใช้จ่าย ช่วยเหลือแนะนำเรื่องการเลี้ยงดูบุตร ที่พักอาศัย การจัดการเรื่องการเรียน และให้กำลังใจ แม้ว่าการตั้งครรภ์และการเป็นแม่วัยเรียนจะไม่เป็นที่ยอมรับและส่งผลกระทบทางด้านลบต่อแม่วัยเรียน ทั้งด้านเศรษฐกิจและการเงิน ด้านสังคม โดยเฉพาะช่วงแรกของการตั้งครรภ์ แต่เมื่อเวลาผ่านไปแม่วัยเรียนสามารถเรียนรู้ที่จะรับมือกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นและมีการปรับตัวเพี่อรับบทบาทใหม่ในฐานะแม่ได้อย่างเหมาะสม การช่วยเหลือจากครอบครัว และบุคคลรอบข้าง ที่เข้าใจจะช่วยบรรเทาความรุนแรงของผลกระทบทางด้านลบที่เกิดจากการตั้งครรภ์และการเลี้ยงดูบุตรได้ สถาบันการศึกษา หรือสถานบริการสาธารณสุขนอกจากจะมีระบบการป้องกันการตั้งครรภ์ที่เข้าถึงและทันการณ์แล้ว ควรมีแนวทางในการดูแลช่วยเหลือในกรณีที่มีการตั้งครรภ์ เพื่อให้แม่วัยเรียนและเด็กที่จะเกิดมานั้น สามารถผ่านช่วงเวลาที่สำคัญนี้ได้ | th_TH |
dc.description.sponsorship | คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา | th_TH |
dc.language.iso | th | th_TH |
dc.publisher | คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา | th_TH |
dc.subject | นักศึกษาอุดมศึกษา | th_TH |
dc.subject | มารดาวัยรุ่น | th_TH |
dc.title | การปรับเปลี่ยนบทบาทชีวิตแม่วัยเรียนของนักศึกษาระดับอุดมศึกษา | th_TH |
dc.title.alternative | Maternal task adaptation of undergraduated student | en |
dc.type | Research | th_TH |
dc.author.email | khanthong@buu.ac.th | th_TH |
dc.year | 2563 | th_TH |
dc.description.abstractalternative | This qualitative research aimed to study the role of college students life when being pregnant, stage of labor, postpartum period, and social support on coping. Fourteen undergraduate students 18-24 years of age who delivered and have a child aged lower than one-year-old at Burapha university hospital, Chonburi, and fourteen related persons who support were purposively selected. The data were collected using in-depth interviews and were analyzed using a content analysis method. The study results found that college students who become pregnant during the first period they were sadness, disappointment, anxiety, confusion, feeling of having to endure the surroundings, and control their emotions. They have to handle their responsibility for the school and take care of themselves. At the stage of labor and the postpartum period, the lifestyle of college students has been transformed. They developed their schedule for study and childcare. Some of them have to raise their child themselves and earn a living. In their own words, the college students' mother has to be a highly responsible person. According to social support, self-encouragement, parental and husband support, peers and teacher were the strongly support concerning expenses, advice, accommodation, study management, and encouragement. Although college pregnancy is unacceptable and brings some negative impact in many aspects such as the economic, financial, and social, especially during the first trimester of pregnancy, college mothers can learn to cope with the difficulties and adjust the new role as a mother properly. Family and surroundings people with support and understanding could help them facing those difficulties. Not only an effective fertility prevention system, but an educational institution or public health should also provide the guidelines of college pregnancy as well. | en |
dc.keyword | สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์ | th_TH |