Abstract:
การศึกษาในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการเจริญเติบโตของปะการังแข็ง 5 ชนิด ที่ได้จากการขยายพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศด้วยวิธีการตัดแบ่งในระบบเลี้ยงแบบกึ่งปิดที่ใช้สาหร่ายในการบำบัด โดยแบ่งชุดการทดลองออกป็น 5 ชุดการทดลอง (Treatment) ชุดการทดลองละ 3 ซ้ำ ( Replicate) ดังนี้ ชุดการทดลอง ที่ 1 ชนิด Pavona decussata, ชุดการทดลอง ที่ 2 Mussa angulosa ชนิด, ชุดการทดลอง ที่ 3 ชนิด Fungia scrutaria, ชุดการทดลอง ที่ 4 ชนิด Sandalolitha robusta, ชุดการทดลอง ที่ 5 ชนิด Leptoseris explanata ทำการทดลองเป็นระยะเวลา 12 เดือน ณ โรงเรือนสาธิตงานวิจัยเพาะเลี้ยงสัตว์และพืชทะเล มหาวิทยาลัยบูรพา จ.ชลบุรี
ผลการศึกษาพบว่า ชนิดและรูปร่างของปะการังมีผลต่อการเจริญเติบโตที่เพิ่มขึ้นแตกต่างกัน โดยการเจริญเติบโตของพื้นที่ผิวเฉลี่ยรวมที่เพิ่มขึ้นของปะการังทั้ง 5 ชนิด มีความแตกต่างกันทางสถิติ (P<0.05) ปะการังชนิด F.scrutaria มีการเจริญเติบโตสูงที่สุด (455.16 + 51.76 cm2) รองลงมาคือชนิด S.robusta (430.67 + 6.12 cm2)M. angulosa 109.51 + 46.62 cm2, P.decussata 77.63 + 15.56 cm2 และ การเจริญเติบโตต่ำที่สุดเท่ากับ 32.17 + 12.73 cm2 ในชนิด L.explanata การเจริญเติบโตของพื้นที่ผิวเฉลี่ยในแต่ละเดือนที่เพิ่มขึ้นของปะการังทั้ง 5 ชนิดมีความแตกต่างกันทางสถิติ (P<0.05) ชนิดที่มีอัตราการเจริญเติบโตที่เพิ่มขึ้นเฉลี่ยต่อเดือนสูงที่สุด 41.94 + 15.39 cm2 คือชนิด S.robusta รองลงมาคือ F scrutaria (40.63 + 17.16 cm2) , M. angulosa (11.82 + 10.86 cm2), P.decussata (10.10 + 8.45 cm2) และชนิด L. explanata 8.92 + 8.78 cm2 มีอัตรากาเรเจริญเติบโตเฉลี่ยต่อเดือนต่ำที่สุด