dc.contributor.author | จันทนา เกิดบางแขม | |
dc.contributor.author | ภรภัทร เฮงอุดมทรัพย์ | |
dc.contributor.author | สรพงษ์ เจริญกฤตยาวุฒิ | |
dc.contributor.other | มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะพยาบาลศาสตร์ | th |
dc.date.accessioned | 2022-06-06T03:38:29Z | |
dc.date.available | 2022-06-06T03:38:29Z | |
dc.date.issued | 2564 | |
dc.identifier.uri | http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/4403 | |
dc.description | งานวิจัยนี้ ได้รับทุนสนับสนุนงานวิจัยจากงบประมาณกองทุนวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยบูรพา ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 เลขที่สัญญา 021/2562 | th_TH |
dc.description.abstract | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยด้านส่วนบุคคล ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพ ด้านการทำงาน และด้านสังคมที่ส่งผลต่อภาวะซึมเศร้าของแรงงานไทยในระบบในเขตพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก ตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่ กลุ่มคนวัยแรงงานที่ถือสัญชาติไทยที่มีอายุอยู่ระหว่าง 18 ถึง 60 ปี ในเขตพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก ได้แก่ ในพื้นที่จังหวัดชลบุรี ระยอง และฉะเชิงเทรา รวมจำนวนทั้งสิ้น 455 ราย การสุ่มตัวอย่างใช้แบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป แบบสอบถามภาวะซึมเศร้า แบบสอบถามคุณภาพการนอนหลับ แบบสอบถามความเครียดจากการทำงาน แบบสอบถามสมดุลชีวิตกับการทำงาน และแบบสอบถามการรับรู้การสนับสนุนทางสังคม การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์การถดถอยลอจิสติก ผลการวิจัย พบว่า ร้อยละ 40.44 ของแรงงานตัวอย่างเผชิญกับภาวะซึมเศร้า ผลการวิเคราะห์การถดอถอยลอจิสติก พบว่า ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับภาวะซึมเศร้าของแรงงานไทยในระบบในเขตพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก ได้แก่ สถานภาพสมรม สถานะทางเศรษฐกิจ พฤติกรรมการออกกำลังกาย คุณภาพการนอนหลับ ความเครียดจากการทำงาน และแรงสนับสนุนทางสังคมด้านอารมณ์ อย่างไรก็ดี ผลการศึกษากลับพบว่า ตัวแปรเพศ อายุ ระดับการศึกษา ดัชนีมวลกาย โรคและการเจ็บป่วย ลักษณะงาน การทำงานเป็นกะ สมดุลชีวิตกับการทำงาน และจังหวัดที่ทำงาน ไม่มีความสัมพันธ์กับภาวะซึมเศร้าของแรงงานไทยในระบบในเขตพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออกแต่อย่างใด" | th_TH |
dc.description.sponsorship | กองทุนวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยบูรพา | th_TH |
dc.language.iso | th | th_TH |
dc.publisher | คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา | th_TH |
dc.subject | แรงงานไทย | th_TH |
dc.subject | ภาวะซึมเศร้า | th_TH |
dc.title | ปัจจัยที่สัมพันธ์กับภาวะซึมเศร้าของแรงงานไทยในเขตพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษ ภาคตะวันออก | th_TH |
dc.title.alternative | Factors associated with depression among Thai labors in the eastern economic corridor, Thailand | th_TH |
dc.type | Research | th_TH |
dc.author.email | jantanak@buu.ac.th | th_TH |
dc.author.email | pornpath@buu.ac.th | th_TH |
dc.author.email | sorrapong.ch@buu.ac.th | th_TH |
dc.year | 2564 | th_TH |
dc.description.abstractalternative | The main objective of this quantitative research was to investigate the relationship between personal, health and health behaviors, work environment and social factors and depression among Thai labors aged between 18 and 60 years in the formal sectors in the Eastern Economic Corridor (EEC), Thailand. Sample selected by multi-stage sampling included 455 labors holding Thai nationality in the EEC consisting of 3 provinces: Chonburi, Rayong, and Chacheongsao. Six questionnaires were used for collecting data. Frequency, percentage, mean and standard deviation were used for data analysis. The findings indicated that 40.82% had depressive symptoms. In addition, the findings based on logistic regression revealed that marital status, economic status, exercise, quality of sleep, work stress, and emotional social support. However, gender, age, educational level, body mass index, illness, work type, shift work, work-life balance, and province had no relationship with depressive symptoms among Thai labors in the Eastern Economic Corridor (EEC), Thailand. | en |
dc.keyword | สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์ | th_TH |