Abstract:
การช่วยเหลือดูแลแรงงานที่มีภาวะซึมเศร้าจำเป็นต้องได้รับการดูแลอย่างเป็นระบบ จึงจะทำให้การช่วยเหลือดูแลแรงงานที่มีภาวะซึมเศร้าในสถานประกอบการเกิดประโยชน์สูงสุด การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative descriptive research) เพื่อศึกษาสภาพปัญหา ปัจจัยที่มีผลต่อการจัดการภาวะซึมเศร้า และพัฒนารูปแบบการจัดการภาวะซึมเศร้าของแรงงานในสถานประกอบการเขตพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก ผู้ให้ข้อมูลในการศึกษาครั้งนี้ คือ บุคคลที่มีส่วนได้ส่วนเสียทั้งจากภาครัฐ ภาคเอกชนในพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก คือ จังหวัดชลบุรี ระยอง และฉะเชิงเทรา จำนวน 28 คน เก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เชิงลึก วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์แก่นสาระ (Miles, Huberman & Saldana, 2014)
ผลการศึกษาพบว่า 1) สภาพปัญหาการจัดการภาวะซึมเศร้าของแรงงาน มีประเด็นหลักดังนี้ (1) สุญญากาศ -ขาดความเชื่อมโยง (2) แฝงไว้กับงาน และ(3) พึ่งพาตนเอง 2) ปัจจัยที่มีผลต่อการจัดการภาวะซึมเศร้าของแรงงานในสถานประกอบการ ได้ 3 ประเด็น คือ (1) ทัศนคติและความเชื่อเกี่ยวกับภาวะซึมเศร้า (2) ความรู้ และทักษะการจัดการ (3) ขนาด ลักษณะสิ่งแวดล้อม และสวัสดิการของสถานประกอบการ และ(4) นโยบายสถานประกอบการและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และ 3) รูปแบบการจัดการภาวะซึมเศร้าของแรงงานในสถานประกอบการเขตพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก ประกอบด้วย (1)บูรณาการนโยบาย-สร้างความร่วมมือ (2) นโยบายของฝ่ายทรัพยากรมนุษย์ (3) สร้างวัฒนธรรมของสถานประกอบการ และ(4) พัฒนากระบวนการทำงานของสถานประกอบการอย่างต่อเนื่องเพื่อการดูแลพนักงานที่มีภาวะซึมเศร้า ได้แก่ การประเมินความเสี่ยง วางแผนเสริมสร้างทัศนคติ/ความเชื่อ สร้างความรู้ความเข้าใจภาวะซึมเศร้า สร้างทักษะUpskill-Reskill รวมทั้งสร้างพลังอำนาจพนักงาน สร้างสรรค์วิธีการดูแล และจัดโปรแกรมให้ความช่วยเหลือพนักงานในสถานประกอบการ ผลการวิจัยสามารถนารูปแบบการจัดการภาวะซึมเศร้าของแรงงานไปใช้ในสถานประกอบการได้