DSpace Repository

ปัญหาและความต้องการของนิสิตระดับปริญญาตรี ชั้นปีที่ 1 เกี่ยวกับการใช้บริการและทรัพยากรสารสนเทศของสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยบูรพา ปีการศึกษา 2547

Show simple item record

dc.contributor.author กุสลวัฒน์ คงประดิษฐ์
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
dc.date.accessioned 2019-03-25T08:45:44Z
dc.date.available 2019-03-25T08:45:44Z
dc.date.issued 2559
dc.identifier.uri http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/43
dc.description.abstract การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัญหาและความต้องการใช้บริการและทรัพยากรสารสนเทศของสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยบูรพา ของนิสิตระดับปริญญาตรีชั้นปีที่ 1 ปีการศึกษา 2547 และเพื่อเปรียบเทียบปัญหาและความต้องการดังกล่าวจำแนกตามเพศ อายุ และสาขาวิชา โดยวิธีการสำรวจ และเก็บรวบรวมข้อมูลจากแบบสอบถาม โดยกำหนดขนาดตัวอย่างด้วยการเปิดจากตารางสำเร็จของ Krejcie และ Morgan (1970) จำนวน 330 คน คิดเป็นร้อยละ 13.18 ของนิสิตระดับปริญญาตรีชั้นปีที่ 1 ทั้งหมด นำข้อมูลที่ได้มาคำนวณหาค่าร้อยละ ข้อมูลเบื้องต้นของกลุ่มตัวอย่าง หาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ระดับความเห็นด้วยในปัญหาและความต้องการใช้บริการและทรัพยากรสารสนเทศของสำนักหอสมุด และเปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ยระหว่างนิสิตที่มีเพศและอายุต่างกันใช้การทดสอบด้วย t-test สูตรเป็นอิสระกัน และระหว่างนิสิตที่เรียนสาขาวิชาต่างกันใช้การวิเคราะห์แปรปรวนทางเดียวกัน (One way Analysis of Variance: ANOVA) ผลการวิจัยพบว่า นิสิตมีปัญหาเกี่ยวกับการส่งเสริมการใช้บริการมากที่สุด ซึ่งมีขอบเขตการให้บริการที่เป็นความรับผิดชอบของหน่วยงานอื่น ๆ ของมหาวิทยาลัยด้วย รองลงมาเป็นปัญหาการให้บริการทรัพยากรสารสนเทศ บุคลิกภาพของบุคลากร สภาพสถานที่บริการ การให้บริการ และด้านการให้ความช่วยเหลือเป็นปัญหาน้อยที่สุด เมื่อเปรียบเทียบระดับปัญหาการใช้บริการระหว่างนิสิตกับสาขาวิชาที่เรียน พบว่า นิสิตสาขาวิชาที่เรียนต่างกันมีปัญหาการใช้บริการและทรัพยากรสารสนเทศของสำนักหอสมุดด้านทรัพยากรสารสนเทศ การให้บริการ การให้บริการความช่วยเหลือ สภาพสถานที่บริการ และบุคลิกภาพของบุคลากรที่ให้บริการ และปัญหาโดยรวมไม่แตกต่างกัน ที่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ 0.01 มีเฉพาะด้านการส่งเสริมการใช้บริการ อย่างไรก็ตาม ยังพบว่านิสิตจำนวนมากมีปัญหาการเข้าถึงและใกล้ชิดแหล่งสารสนเทศ การขาดเครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อการสืบค้นสารสนเทศอย่างเพียงพอที่หอพักมหาวิทยาลัย ดังนั้น สำนักหอสมุดและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรพยายามแก้ปัญหา และสนองตอบความต้องการให้กับนิสิตเพิ่มขึ้น ด้วยการส่งเสริมการใช้บริการทีควรปรับปรุง เพื่อให้นิสิตได้ทราบกิจกรรมและการให้บริการต่าง ๆ การติดป้ายและเครื่องหมายต้องเด่นชัด จัดให้มีบริการต่าง ๆ ผ่านอินเทอร์เน็ตเพิ่มขึ้น รวมทั้งให้ความสำคัญกับสิ่งอำนวยความสะดวกภายในสำนักหอสมุดและแก้ปัญหาเสียงรบกวน th_TH
dc.description.sponsorship งานวิจัยนี้ได้รับทุนสนับสนุนการวิจัยจากสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ 2548 en
dc.language.iso th th_TH
dc.publisher คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา th_TH
dc.subject บริการสารสนเทศ th_TH
dc.subject ห้องสมุดและบริการของห้องสมุด th_TH
dc.subject สาขาเทคโนโลยีสารสนเทศและนิเทศศาสตร์ th_TH
dc.title ปัญหาและความต้องการของนิสิตระดับปริญญาตรี ชั้นปีที่ 1 เกี่ยวกับการใช้บริการและทรัพยากรสารสนเทศของสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยบูรพา ปีการศึกษา 2547 th_TH
dc.title.alternative Problems and Needs of the Burapha University's First Year Students about the Use of Services and Library Materials of Central Library in the Academic Year 2004 en
dc.type Research
dc.author.email tkongpradit@gmail.com
dc.year 2549
dc.description.abstractalternative The aim of this descriptive research was to study the problems and needs of the first year students regarding the use of the services and library materials of the Central Library of Burapha University in the academic year 2004, and to compare the above problems and needs with their sex, age, major subject, and former university education. To collect the data, a questionnaire was prepared and sent to a sample of 330 or 13.18 percent of all first year students selected by means of Krejcie and Morgan's table (1970). All of them were returned and the data were analyzed by the methods of the percentage, the Independent t-test, and the One-Way Analysis of Variance (ANOVA). It was found that the most significant problems were: the personalities of the staff, the place, the services, and the help respectively. The least significant problem of the same category was the resources of library materials. By comparing the students in different faculties, it was found that there was no significance of difference in the problems of the resources of library materials, the services the help, the place, the personalities of the staff, and all the above problems as a whole. A significance of difference was found with respect to the problem of the service promotion at only 0.01. However, the accessibility of the collections and the distance between them and the students also caused problems. As a result, the library needed to enhance more service promotion, obvious signs and notices, and services via the internet. The provision of facilities and the reduction of noise in reading areas were needed en


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account