dc.contributor.author |
ศรุติ สกุลรัตน์ |
th |
dc.contributor.author |
สุพจน์ บุญวิเศษ |
th |
dc.contributor.other |
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ |
|
dc.date.accessioned |
2019-03-25T08:51:49Z |
|
dc.date.available |
2019-03-25T08:51:49Z |
|
dc.date.issued |
2539 |
|
dc.identifier.uri |
http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/439 |
|
dc.description.abstract |
การวิจัยเรื่อง การศึกษาปัญหาการเคลื่อนย้ายแรงงานในพื้นที่เป้าหมายของโครงการพัฒนาชายฝั่งทะเลตะวันออก (ชลบุรี) มีจุดมุ่งหมายเพื่อสำรวจการเคลื่อนย้ายของแรงงานสู่พื้นที่ชายฝั่งทะเลตะวันออก โดยเฉพาะจังหวัดชลบุรี และปัญหาของแรงงานภาคอุตสาหกรรมที่ย้ายถิ่นเหล่านี้ รวมทั้งการแสวงหามาตรการที่เหมาะสมในการก้ไขปัญหาที่เกิดจากการย้ายถิ่นของแรงงาน
การศึกษานี้ได้ดำเนินการต่อประชากรเป้าหมาย ซึ่งเป็นแรงงานภาคอุตสาหกรรมในโรงงาน 4 แห่ง ในจังหวัดชลบุรี แบ่งเป็นโรงงานในเขตอำเภอศรีราชา 2 แห่ง โรงงานในเขตนิคมแหลมฉบัง 2 แห่ง ซึ่งมีจำนวนแรงงานประมาณ 1,200 คน การสุ่มตัวอย่าง จะทำประมาณร้อยละ 50 ของแรงงานในโรงงานแต่ละแห่ง จำนวน 625 คน
การศึกษานี้จะสำรวจสถานภาพและปัญหาของแรงงานในภาคอุตสาหกรรมเขตชลบุรี 10 ประการ ได้แก่ เพศ อายุ ภูมิลำเนา สถานภาพสมรส การย้ายครอบครัว ประสบการณ์ก่อนการทำงาน แหล่งฝึกงาน ระดับการศึกษา สถานที่อยู่อาศัย และอาชีพเดิม การวิเคราะห์ข้อมูลจะกระทำโดยใช้อัตราส่วนแบบร้อยละ จากการวิจัยพบว่า แรงงานภาคอุตสาหกรรมในจังหวัดชลบุรี มีสัดส่วนระหว่างชายและหญิงไม่แตกต่างกัน ส่วนใหญ่มีอายุระหว่าง 19-27 ปี แรงงานส่วนใหญ่ร้อยละ 39.52 มีภูมิลำเนาอยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ผู้ที่เป็นโสดและสมรสแล้วมีสัดส่วนไม่แตกต่างกัน แรงงานที่สมรสแล้วส่วนใหญ่ร้อยละ 70.21 นำครอบครัวมาอยู่ด้วย แรงงานส่วนใหญ่ร้อยละ 60.16 ไม่เคยเรียนหรือฝึกงานด้านโรงงานมาก่อน อาศัยการเรียนรู้จากโรงงาน การศึกษาของแรงงานส่วนใหญ่ร้อยละ 47.68 จบการศึกษาชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่พักอาศัยร้อยละ 53.44 อยู่บ้านเช่า และห้องเช่า แรงงานส่วนใหญ่ร้อยละ 33.28 เคยทำงานในโรงงานในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑลมาก่อน
ปัญหาสำคัญของแรงงานที่ย้ายถิ่นในเขตจังหวัดชลบุรี คือ ที่อยู่อาศัย ผู้ใช้แรงงานในภาคอุตสาหกรรมยังไม่สามารถซื้อบ้านเป็นของตนเองได้เพราะรายได้ไม่เพียงพอที่จะเช่าซื้อ หรือผ่อนชำระเป็นงวด นอกจากนี้ที่อยู่อาศัยในเขตอุตสาหกรรมยังมีราคาที่สูงมาก แม้กระทั่งแฟลตของการเคหะแห่งชาติก็ยังมีราคาที่สูงเกินกว่าแรงงานย้ายถิ่นเหล่านี้จะเช่าซื้อได้ ผลที่ตามมาคือการก่อตัวของบ้านแบ่งเช่า หรือห้องแบ่งเช่าราคาถูก และที่ดินแบ่งเช่า ซึ่งกำลังจะแปรสภาพกลายเป็นชุมชนแออัดต่อไป หากรัฐบาลและหน่วยงานราชการยังไม่เริ่มต้นแก้ไขปัญหานี้อย่างจริงจังและต่อเนื่อง |
|
dc.language.iso |
th |
th_TH |
dc.publisher |
คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา |
th_TH |
dc.subject |
การเคลื่อนย้ายแรงงาน - - ชลบุรี |
th_TH |
dc.subject |
การเคลื่อนย้ายแรงงาน - - ไทย (ภาคตะวันออก) |
th_TH |
dc.subject |
รงงาน - - ชายฝั่งทะเลตะวันออก |
th_TH |
dc.subject |
สาขารัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ |
th_TH |
dc.subject |
อุปทานแรงงาน - - ไทย (ภาคตะวันออก) |
th_TH |
dc.title |
การศึกษาปัญหาการเคลื่อนย้ายแรงงานในพื้นที่เป้าหมายของโครงการพัฒนาชายฝั่งทะเลตะวันออก (ชลบุรี) |
th_TH |
dc.title.alternative |
A study of labor migration problems in the Eastern seaboard development project area with the focus on the area in Chonburi |
en |
dc.type |
Research |
|
dc.year |
2539 |
|
dc.description.abstractalternative |
This research aimed to explore the labor migration toward to Thailand Eastern Coast with the focus on Chonburi, to determine the problems of the labor migration and the appropriate solutions for the problems resulting from this migration. The study covered 10 aspects concerning the workers' status and problems including sex, birth places, marital status, family migration, previous experiences, training, educational qualification, living condition, and previous jobs.
The sample consisted of 628 industrial workers randomly selected from 1,200 workers in 4 factors in Chonburi Province (2 in Sriracha District, and the other 2 in Lamchabang Industrial Estate, in which 50 percent of the number of industrial workers in each factory was selected). Percentage was the statistical device for data analyzing.
The study revealed that there was an equal number of male and female workers with the age ranging from 19-27 and an estimate of 39.52 percent were natives of The North East. There was also an equal number of unmarried and married workers, in which 70.21 percent of the married ones having the families with them 60.16 percent of the workers had no previous industrial training and 47.68 percent had their education ranging from Prathom 6-Mathayom 3. 53.44 percent lived in rent rooms or houses And 33 percent had working experience in factories in Bangkok prior to their present jobs.
The research suggests the most urgent problem of the workers is the one of housing. The workers could not afford to buy their own houses due to the low income and the financial inability to afford the down payment or monthly payment, and also due to the high price of houses including of those flats offered by the National Housing Project, in the industrial areas. The problems results in the workers' poor living conditions: having to share the rooms, houses or the land near the industrial sires. Without the government's talking these into considerations, and trying to find solutions for them, the areas are likely to turn into slums in the near future. |
|