Abstract:
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อการศึกษาแนวทางการขยายพื้นที่การให้บริการที่ครอบคลุมการขนส่ง
แบบ last mile ของบริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด ในพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก ( Eastern Economics Corridor : EEC) ซึ่งเป็นพื้นที่ยุทธศาสตร์การลงทุนของประเทศไทย ด้วยการใช้เทคโนโลยีระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (Geographic Information Systems : GIS) โดยนำการวิเคราะห์โครงข่าย (Network Analysis) ที่เป็นเทคนิคการวิเคราะห์เชิงโครงข่ายพื้นที่ให้บริการ (Service Area Analysis) เพื่อคำนวณหารัศมีการให้บริการจากจุดที่สนใจออกไปในระยะทางที่กำหนดให้ครอบคลุมระดับการให้บริการการขนส่ง โดยวิเคราะห์ภายใต้หลักของ ไดค์สตรา อัลกอริทึม (Djikstra’s Algorithm) ที่วิเคราะห์โครงข่ายในรูปแบบของระยะทางที่สั้นที่สุดหรือระยะเวลาที่น้อยที่สุดเพื่อให้สามารถตอบสนองกิจกรรมทางการขนส่ง โลจิสติกส์และตอบสนองความต้องการซื้อในยุคของ e-commerce การวิเคราะห์พื้นที่ให้บริการนี้ ของที่ทำการไปรษณีย์ จำนวน 56 จุดในเขตพื้นที่กรณีศึกษา ซึ่งแบ่งการวิเคราะห์ออกเป็น 3 แบบจำลอง ได้แก่ ระดับการให้บริการ 15 กิโลเมตร 10 กิโลเมตร และ 5 กิโลเมตร ตามระยะทางที่เหมาะสมในการให้บริการการขนส่งแบบ last mile delivery ผลการวิเคราะห์พบว่า ระยะการให้บริการตามที่กำหนดไว้ ที่ทำการไปรษณีย์สามารถให้บริการได้ครอบคลุมพื้นที่ทั้งหมดของพื้นที่กรณีศึกษาได้ 8,948 ตารางกิโลเมตร (67%) 3,943 ตารางกิโลเมตร (29%) และ 2,178 ตารางกิโลเมตร (16%) ตามลาดับ ซึ่งถ้าไปรษณีย์ไทย จำกัด ต้องการเพิ่มศักยภาพการบริการให้เข้าถึงลูกค้ามากขึ้น ดังนั้นต้องให้ความสำคัญของจำนวนที่ตั้งไปรษณีย์ไทย เพื่อให้สามารถรองรับการให้บริการแบบ last mile delivery ได้ จากงานวิจัยพบว่า บริษัทไปรษณีย์ไทย จากัด ควรเพิ่มจำนวนที่ทาการไปรษณีย์ตามระยะการให้บริการที่แตกต่างกัน โดยเพิ่มที่ทำการไปรษณีย์เป็น 85 จุด 190 จุด และ 486 จุด ในเขตพื้นที่เศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (Eastern Economic Corridor : EEC) ได้อย่างครอบคลุมและมีประสิทธิภาพมากขึ้น