Abstract:
ท่าเรือคือช่องทางหลักของการนำเข้าและส่งออกที่มีผลต่อมูลค่าทางเศรษฐกิจประเทศ ดังนั้นการใช้พื้นที่หน้าท่าอย่างมีประสิทธิภาพจึงเป็นการเพิ่มมูลค่า ท่าเรือแหลมฉบังคือท่าเรือหลักสนับสนุนการนำเข้าและส่งออก การศึกษามาตรการเพิ่มประสิทธิภาพการจัดเรือเทียบท่า วิเคราะห์โครงสร้างความสัมพันธ์ระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและค่านำหนักของกิจกรรมการจัดเรือเทียบท่า ด้วยตัวแปรแฝงที่มีผลกับการจัดเรือเทียบท่า ได้แก่ ผู้ประกอบการท่าเรือ เจ้าของเรือและสายการเดินเรือ หน่วยงานราชการ ลูกค้า ผ่านตัวชี้วัด 19 ตัวชี้วัดและ 190 ตัวอย่าง ด้วยสมการโครงสร้างประเมินความเหมาะสมของแบบจำลอง การวิเคราะห์เส้นทางรวมทั้งทดสอบความเที่ยงตรง 2 แบบ ได้แก่ ความเที่ยงตรงเชิงโครงสร้างและความเที่ยงเชิงจำแนก ผลของค่าถ่วงน้ำหนักและความน่าเชื่อด้วย Cronbach Alpha จากโปรแกรม ADANCO พบว่านอกจากผลระทบจากกิจกรรมภายในของผู้ประกอบการท่าเรือแล้วยังมีโครงสร้างภายนอกที่มีผลกับการจัดการเรือเทียบท่า คือ ลูกค้า (0.439) หน่วยงานราชการ (0.329) เรือเจ้าของเรือและสายการเดินเรือ (0.146) ตัวแปรแฝงทุกตัวมีผลโดยตรงต่อท่าเทียบเรือและผลของตัวชี้วัดที่ได้รับจากการศึกษาระบุค่าน้ำหนักของผลกระทบของกิจกรรมของแต่ละส่วนของโครงสร้างการจัดเรือเทียบท่า และลำดับความสำคัญสำหรับการแก้ปัญหาและเพิ่มประสิทธิภาพการจัดเรือเทียบท่า