Abstract:
ข้าวพื้นเมืองเป็นพันธุ์ข้าวที่มีความแปรปรวนทางพันธุกรรมสูง แต่ละสายพันธุ์มีคุณสมบัติเฉพาะตัว เช่น ทนแล้ง ทนต่อโรคและแมลง เป็นต้น การปลูกข้าวพื้นเมืองพบในพื้นที่ของจังหวัดที่มีติดกับประเทศกัมพูชา แต่ปัจจุบันข้าวพื้นเมืองมีการปลูกน้อยลงและข้าวพันธุ์ปรับปรุงมาปลูกแทน ดังนั้นเพื่อเป็นการอนุรักษ์พันธุ์ไม่ให้สูญหายและเพิ่มมูลค่าทางการตลาด จึงได้ทำการเก็บรวมรวบเมล็ดข้าวพื้นเมืองและประเมินความหลากหลายทางพันธุกรรมภายในและระหว่างประชากร โดยรวบรวมพันธุ์ข้าวพื้นเมืองจำนวน 101 ตัวอย่าง มาจากเกษตรกรในพื้นที่ 6 จังหวัด คือสระแก้ว บุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ อุบลราชธานี สุรินทร์ และอานาจเจริญ โดยประเมินลักษณะทางสัณฐานวิทยาของเมล็ดที่ได้จากเกษตรกร และนำเมล็ดไปปลูกทดสอบในรุ่นลูก จากนั้นประเมินความหลากหลายทางชีวโมเลกุล พบว่าผลการทดลองพบความหลากหลายทางพันธุกรรมทั้งภายในและระหว่างประชากร ข้าวพื้นเมืองในแต่ละตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นข้าวเจ้า และเมล็ดเรียว โดยลักษณะสัณฐานวิทยาของเมล็ดมีค่าความหลากหลาย (H') รวมอยู่ระหว่าง 0.11 1.47 ส่วนความหลากหลายรวมของลักษณะสัณฐานวิทยาในประชากรรุ่นลูกมีค่าความหลากหลายระหว่าง 0.-1.07 และค่าความหลากหลายทางพันธุกรรมมีค่าอยู่ระหว่าง 0-0.26 จากการศึกษานี้สรุปได้ว่าการประเมินความหลากหลายทางพันธุกรรมของข้าวพื้นเมืองของเกษตรกรในพื้นที่ 6 จังหวัด มีความหลากหลายทั้งภายในและระหว่างประชากร โดยมีความแปรปรวนของพันธุกรรมตั้งแต่ไม่มีความหลากหลายถึงสูง ดังนั้นต้องมีการอนุรักษ์และใช้แหล่งพันธุกรรมให้เพิ่มมูลค่าต่อไป