Abstract:
จุดประสงค์ของการศึกษานนี้มี 3 แนวทางคือ 1) เพื่อสํารวจระดับขีดความสามารถและผลการ
ดําเนินการของสถาบันการศึกษาอาชีวศึกษาของรัฐของประเทศไทย 2) เพื่อตรวจสอบหาปัจจัยที่มี
ความสัมพันธ์กับขีดความสามารถและผลการดําเนินการของสถาบันการศึกษาอาชีวศึกษาของรัฐของ
ประเทศไทย และ 3) เพื่อนําผลการศึกษาไปปรับปรุงและพัฒนาขีดความสามารถและผลการดําเนินการของสถาบันการศึกษาอาชีวศึกษาของรัฐของประเทศไทย หน่วยของการวิเคราะห์เป็นสถาบันการศึกษาอาชีวศึกษาของรัฐของประเทศไทย 6 ประเภท คือ วิทยาลัยเทคนิค วิทยาลัยการอาชีพ วิทยาลัยอาชีวศึกษา วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยี วิทยาลัยสารพัดช่าง และวิทยาลัยพาณิชย์และอื่น ๆ กลุ่มตัวอย่างใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอนจากประชากร 423 แห่ง กลุ่มตัวอย่าง 123 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 60 ของกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด ด้วยแบบสอบถามการวัดแบบ likert - scale 5 ระดับ ความเชื่อมั่น การรวบรวมข้อมูลอยู่ที่ระดับ 0.970
การวิเคราะห์ข้อมูลประกอบด้วยการวิเคราะห์ descriptive analysis, ANOVA, Correlation and
Regression ผลการวิเคราะห์พบว่าขีดความสามารถและผลการดําเนินการของสถาบันการศึกษาอาชีวศึกษาของรัฐของประเทศไทยอยู่ที่ระดับสูง มีความแตกต่างอย่างมีนัยสําคัญในเทคโนโลยีสารสนเทศ และความรู้และการเรียนรู้ท่ามกลางชนิดวิทยาลัย วิทยาลัยเทคนิค วิทยาลัยอาชีวศึกษา วิทยาลัยการอาชีพ วิทยาลัยสารพัดช่าง และวิทยาลัยพาณิชย์และอื่น ๆ มีขีดความสามารถเทคโนโลยีสารสนเทศสูงกว่าวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยี ในขณะที่วิทยาลัยการอาชีวศึกษามีขีดความสามารถความรู้และการเรียนรู้สูงกว่าวิทยาลัยเทคนิค วิทยาลัยการอาชีพ และวิทยาลัยเกษตรและเทค
โนโลยี เช่นเดียวกับวิทยาลัยพาณิชย์และอื่น ๆ มีขีดความสามารถของความรู้และการเรียนรู้สูงกว่าวิทยาลัยเทคนิคและวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยี 3 ปัจจัยที่ส่งผลโดยตรงเชิงบวกต่อผลการดําเนินการจากมากที่สุดไปสู่น้อยที่สุดคือ ภาวะผู้นําความร่วมมือ และทรัพยากรการเงิน ตามลําดับ แสดงสมการได้ว่า y= (0.229)x1 + (0.119)x2 + (0.173)x3.
การค้นพบสะท้อนให้เห็นว่า ภาวะผู้นํา ความร่วมมือ และทรัพยากรการเงิน เป็นจุดแข็งสําคัญที่สุดของขีดความสามารถและผลการดําเนินการของสถาบันการศึกษาอาชีวศึกษาของรัฐของประเทศไทย แต่มีจุดอ่อนทรัพยากรมนุษย์ เทคโนโลยีสารสนเทศ ความรู้และการเรียนรู้ และพันธะสัญญาผู้มีส่วนได้เสีย
นอกจากนั้นขนาดยังเป็นจุดอ่อนสําคัญจากการที่มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับทรัพยากรการเงินแต่ไม่มี
ความสัมพันธ์กับขีดความสามารถและผลการดําเนินการของวิทยาลัย จึงเห็นว่าสถาบันการศึกษา
อาชีวศึกษาของรัฐของประเทศไทยควรปรับปรุงขนาดวิทยาลัยให้เป็นผลโดยตรงต่อการพัฒนาประเทศและก้าวไปสู่สถาบันการศึกษาอาชีวศึกษาระดับสากล ผู้นําวิทยาลัยต้องการผู้ดํารงตําแหน่งที่ทักษะภาวะผู้นําได้รับการยอมรับอย่างเต็มใจจากผู้มีส่วนได้เสีย เพื่อการบริการที่ดีและเป็นธรรมควรมีความร่วมมือที่มีความยอดเยี่ยมในผลการดําเนินการและการบริการที่น่าเชื่อถือด้วยการมีส่วนร่วมจากผู้มีส่วนได้เสียในการดําเนินการ เพื่อให้เกิดความสะดวกและคล่องตัวในการดําเนินการทรัพยากรการเงินควรไปสู่การจัดการเชิงยุทธศาสตร์ สําหรับทรัพยากรมนุษย์ต้องการได้รับการพัฒนาทักษะความรู้ความสามารถและค่าตอบแทนบนกระบวนการกฎหมายที่เป็นธรรมและชอบธรรมของวิทยาลัย บุคลากรควรถูกฝึกอบรมให้มุ่งเพิ่มขีดความสามารถและลดต้นทุนอย่างต่อเนื่อง ในส่วนความรู้และการเรียนรู้วิทยาลัยควรมีแผนพัฒนาบุคลากรที่ชัดเจนที่ผ่านกระบวนการยอมรับอย่างเต็มใจ สําหรับเทคโนโลยีสารสนเทศวิทยาลัย ควรดําเนินการปรับปรุงและพัฒนาตนเองให้บรรลุสู่ความยอดเยียมเป็นที่ยอมรับของผู้ใช้บริการและสังคมทั่วไป ในส่วนพันธะสัญญาผู้มีส่วนได้เสีย กระบวนการมีส่วนร่วมในการให้บริการและในการดําเนินการ ควรได้รับการยอมรับอย่างเต็มใจจากผู้มีส่วนได้เสีย ผลการดําเนินการ-ผลผลิต ผลลัพธ์ ประสิทธิภาพควรยกระดับจากระดับสูงไปสู่ระดับสูงที่สุดเท่าที่เป็นไปได้ ปริมาณผลผลิตควรดําเนินการตามแผนการพัฒนาประเทศ การเข้าถึงสถาบันการศึกษาอาชีวศึกษาของรัฐของประเทศไทยควรทําได้ง่ายโดยเทคโนโลยีสารสนเทศ ผลผลิตควรมีคุณภาพและควรตอบสนองการพัฒนาประเทศและเป็นมาตรฐานสากล ควรลดขั้นตอนการทำงานให้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ ประเทศไทยต้องมีแผนการพัฒนาประเทศที่มีทิศทางเป้าหมายชัดเจนในคุณลักษณะคุณสมบัติของประชาชนและจํานวนที่จะรองรับการพัฒนาประเทศ สถาบันการศึกษาอาชีวศึกษาของรัฐของประเทศไทยควรมีทิศทางการสร้างความรู้และมาตรฐานสู่สากล