DSpace Repository

การใช้กากมันสำปะหลังหมักยีสต์ในอาหารโคเนื้อต่อกระบวนการหมักในรูเมนและสมรรถนะการผลิต

Show simple item record

dc.contributor.author สุปรีณา ศรีใสคำ
dc.contributor.author พิพัฒน์ เหลืองลาวัณย์
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตสระแก้ว. คณะเทคโนโลยีการเกษตร
dc.date.accessioned 2022-03-11T03:43:22Z
dc.date.available 2022-03-11T03:43:22Z
dc.date.issued 2561
dc.identifier.uri http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/4308
dc.description โครงการวิจัยประเภทงบประมาณเงินรายได้จากเงินอุดหนุนรัฐบาล (งบประมาณแผ่นดิน) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2560 (เพิ่มเติม) th_TH
dc.description.abstract ศึกษาการใช้กากมันสำปะหลังหมักเป็นวัตถุดิบแหล่งพลังงานในอาหารข้นต่อกระบวนการหมักในรูเมนและสมรรถนะการผลิตของโคเนื้อบราห์มันลูกผสม การศึกษาครั้งนี้ประกอบด้วย 3 การศึกษาเบื้องต้น และ 1 การทดลอง คือ 1.1) การศึกษาเบื้องต้นถึงองค์ประกอบทางเคมี พบว่า คุณค่าทางโภชนะของกากมันสำปะหลังมีองค์ประกอบทางเคมีเหมาะสมที่จะนำมาเป็นวัตถุดิบแหล่งพลังงานในสูตรอาหารได้ 1.2) การเพิ่มโปรตีนจากกระบวนการหมักกากมันสำปะหลังสดด้วย Aspergillus oryzae และ Saccharomyces cerevisiae ร่วมกับยูเรียในระดับห้องปฏิบัติการ จัดแผนการทดลองแบบ 5 x 6 Factorial in ใน CRD โดยปัจจัย A เป็นระดับยูเรีย 5 ระดับคือ 0, 0.25, 0.50, 0.75 และ 1.00 เปอร์เซ็นต์ของน้ำหนักแห้ง และปัจจัย B เป็นระยะเวลาในการหมักที่ 0, 1, 2, 3, 4 และ 5 วัน พบว่า ปริมาณโปรตีนและยูเรียทุกสูตรได้เพิ่มขึ้นอย่างชัดเจนในการหมักของวันที่ 2 เป็นต้นไป โดยที่ระดับการเติมยูเรีย 1.00 เปอร์เซ็นต์ สูงที่สุด รองลงมาคือ 0.75, 0.50, 0.25 และ 0 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ ปริมาณโปรตีนและยูเรียตกค้างเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติตามระดับการเติมยูเรียที่สูงขึ้น สรุปได้ว่ากระบวนการหมักกากมันสำปะหลังสดด้วยราและยีสต์สามารถเพิ่มปริมาณโปรตีนได้ โดยระยะเวลาการหมักที่เหมาะสมที่สุดคือ 5 วัน และยูเรียที่ระดับ 0.50, 0.75 และ 1.00 เปอร์เซ็นต์ เป็นสูตรที่ดีที่สุด และ 1.3) การศึกษาวัตถุแห้งที่ย่อยสลายได้ในโคเจาะกระเพาะจานวน 3 ตัวของกากมันสำปะหลังหมักยีสต์ทั้ง 11 กลุ่มการทดลองจากการศึกษาที่ 1.2 ไม่พบอิทธิพลร่วมระหว่างระดับยูเรียกับระยะเวลาในการหมัก การทดลองที่ 1 ศึกษาผลการใช้กากมันสาปะหลังหมักที่มีคุณภาพในแต่ละระดับของสูตรอาหารข้นโคเนื้อต่อกระบวนการหมักในรูเมนและสมรรถนะการผลิต จัดแผนการทดลองแบบ 4x4 Latin square design ใช้โคเนื้อจำนวน 4 ตัว อายุประมาณ 14-17 เดือน น้ำหนักเฉลี่ย 250+25 กิโลกรัม โดยมีการบันทึกน้ำหนักตัวก่อนเริ่มเข้างานทดลอง ทำการเก็บข้อมูลเป็นระยะเวลา 84 วัน ปรับสัตว์เป็นระยะเวลา 14 วัน แบ่งออกเป็น 4 ช่วงการทดลอง ช่วงละ 21 วัน โดยที่กลุ่มการทดลองที่ 1 ได้รับฟางหมักยูเรียร่วมกับอาหารข้นที่ไม่มีกากมันสาปะหลังหมักยีสต์ (อาหารกลุ่มควบคุม) กลุ่มการทดลองที่ 2 ได้รับฟางหมักยูเรียร่วมกับอาหารข้นที่มีกากมันสำปะหลังหมักยีสต์ในสูตรที่ระดับ 10% (DM basis) กลุ่มการทดลองที่ 3 ได้รับฟางหมักยูเรียร่วมกับอาหารข้นที่มีกากมันสำปะหลังหมักยีสต์ในสูตรที่ระดับ 20% (DM basis) และกลุ่มการทดลองที่ 4 ได้รับฟางหมักยูเรียร่วมกับอาหารข้นที่มีกากมันสำปะหลังหมักยีสต์ในสูตรที่ระดับ 30% (DM basis) โดยทั้ง 4 กลุ่มการทดลองได้รับฟางหมักเป็นแหล่งของอาหารหยาบที่ให้แบบเต็มที่ ไม่พบว่า ปริมาณการกินได้ ความสามารถในการย่อยได้ของโภชนะ น้ำหนักตัว ปริมาณของไนโตรเจนในกระแสเลือด ค่าความเป็นกรด-ด่าง (pH) แอมโมเนีย-ไนโตรเจนในของเหลวในกระเพาะหมัก การเปลี่ยนแปลงประชากรของแบคทีเรียและโปรโตซัว และกรดไขมันระเหยได้ของทั้ง 4 กลุ่มการทดลองมีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P>0.05) th_TH
dc.description.sponsorship สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ th_TH
dc.language.iso th th_TH
dc.publisher คณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตสระแก้ว th_TH
dc.subject มันสำปะหลัง - - การใช้เป็นอาหารสัตว์ th_TH
dc.subject อาหารสัตว์ - - การผลิต - - วิจัย th_TH
dc.subject อุตสาหกรรมการเกษตรและเทคโนโลยีชีวภาพ th_TH
dc.subject เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) th_TH
dc.subject สาขาเกษตรศาสตร์และชีววิทยา th_TH
dc.title การใช้กากมันสำปะหลังหมักยีสต์ในอาหารโคเนื้อต่อกระบวนการหมักในรูเมนและสมรรถนะการผลิต th_TH
dc.title.alternative Utilizing protein-enriched cassava pulp in beef cattle diet on rumen fermentation and productive performances en
dc.type Research th_TH
dc.author.email supreena.sr@buu.ac.th th_TH
dc.author.email pipat@sut.ac.th th_TH
dc.year 2561 th_TH
dc.description.abstractalternative The present research aimed to study the utilization of fermented fresh cassava pulp (FFCP) as an energy source of concentrate for Brahman-cross beef cattle. This study comprised 2 sections (3 research studies and 1 research experiment). The first section was conducted to determine the preliminary study of chemical composition, increasing protein in FFCP using Aspergillus oryzae (A. oryzae) and Saccharomyces cerevisiae (S. cerevisiae) and digestibility of FFCP in the rumen of fistulated cows. The latter section was designed to investigate in the experiments. The experiment aimed to determine a suitable method of fermenting fresh cassava pulp (FCP) using fungi and yeasts. The results showed that the nutritional value of FCP has the appropriate chemical composition to be used as a source of energy in the diet. The experiment was designed to determine the crude protein of FCP after incubating with A. oryzae and S. cerevisiae plus urea: laboratory scale. The 5 x 6 factorial in CRD arrangement was used with Factor A, five urea addition levels; 0, 0.25%, 0.50%, 0.75% and 1.00% of dry matter (DM) and was incubated at 0, 1, 2, 3, 4 and 5 days (Factor B). The results showed that the CP and urea of all formulas at day 2 fermentation increased markedly, with 1.00% urea addition levels being the highest followed by 0.75%, 0.50%, 0.25 and 0% respectively. The CP and urea remaining significantly increased with increasing levels of urea addition. It can be concluded from the experiment that the CP can be enriched in fresh cassava pulp through the fermentation process obtained from fungi and yeasts. The best fermentation period was 5 d and formula urea addition levels at 0.50%, 0.75% and 1.00% were the best formulation. While the trial with lactating cows was carried on, 3 rumen fistulated dairy cows. Cows were fed concentrate and rice straw as in the trial with lactating dairy cows. The result showed that rumen degradable dry matter was no interaction between urea addition levels and incubation time (day) in all groups. The experiment was carried out to investigate the effect of different level of FFCP in concentrates on rumen fermentation and productive performances of beef cattle. This experiment was designed in 4x4 Latin square design. Four Brahman-cross beef cattle, averaging 14-17 months old and 250+25 kg body weight that was recorded live weight (LW) before the start of the trial. The experiment lasted 84 days that the first 14 days were considered as adaptation period and measurements were made during the last 21 days in 4 periods. The first group was fed 0%FFCP concentrate, the second, third and fourth group were fed 10, 20 and 30%FFCP concentrate respectively. All cows were fed ad libitum urea treated rice straw as roughage. The results showed no significant differences in daily feed intake, digestibility of nutrient, LW change, blood urea nitrogen, rumen pH, ammonia-nitrogen, population change of bacteria and protozoa and volatile fatty acids in rumen fluid in all groups en


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account