Abstract:
ศึกษาการใช้กากมันสำปะหลังหมักเป็นวัตถุดิบแหล่งพลังงานในอาหารข้นต่อกระบวนการหมักในรูเมนและสมรรถนะการผลิตของโคเนื้อบราห์มันลูกผสม การศึกษาครั้งนี้ประกอบด้วย 3 การศึกษาเบื้องต้น และ 1 การทดลอง คือ 1.1) การศึกษาเบื้องต้นถึงองค์ประกอบทางเคมี พบว่า คุณค่าทางโภชนะของกากมันสำปะหลังมีองค์ประกอบทางเคมีเหมาะสมที่จะนำมาเป็นวัตถุดิบแหล่งพลังงานในสูตรอาหารได้ 1.2) การเพิ่มโปรตีนจากกระบวนการหมักกากมันสำปะหลังสดด้วย Aspergillus oryzae และ Saccharomyces cerevisiae ร่วมกับยูเรียในระดับห้องปฏิบัติการ จัดแผนการทดลองแบบ 5 x 6 Factorial in ใน CRD โดยปัจจัย A เป็นระดับยูเรีย 5 ระดับคือ 0, 0.25, 0.50, 0.75 และ 1.00 เปอร์เซ็นต์ของน้ำหนักแห้ง และปัจจัย B เป็นระยะเวลาในการหมักที่ 0, 1, 2, 3, 4 และ 5 วัน พบว่า ปริมาณโปรตีนและยูเรียทุกสูตรได้เพิ่มขึ้นอย่างชัดเจนในการหมักของวันที่ 2 เป็นต้นไป โดยที่ระดับการเติมยูเรีย 1.00 เปอร์เซ็นต์ สูงที่สุด รองลงมาคือ 0.75, 0.50, 0.25 และ 0 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ ปริมาณโปรตีนและยูเรียตกค้างเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติตามระดับการเติมยูเรียที่สูงขึ้น สรุปได้ว่ากระบวนการหมักกากมันสำปะหลังสดด้วยราและยีสต์สามารถเพิ่มปริมาณโปรตีนได้ โดยระยะเวลาการหมักที่เหมาะสมที่สุดคือ 5 วัน และยูเรียที่ระดับ 0.50, 0.75 และ 1.00 เปอร์เซ็นต์ เป็นสูตรที่ดีที่สุด และ 1.3) การศึกษาวัตถุแห้งที่ย่อยสลายได้ในโคเจาะกระเพาะจานวน 3 ตัวของกากมันสำปะหลังหมักยีสต์ทั้ง 11 กลุ่มการทดลองจากการศึกษาที่ 1.2 ไม่พบอิทธิพลร่วมระหว่างระดับยูเรียกับระยะเวลาในการหมัก
การทดลองที่ 1 ศึกษาผลการใช้กากมันสาปะหลังหมักที่มีคุณภาพในแต่ละระดับของสูตรอาหารข้นโคเนื้อต่อกระบวนการหมักในรูเมนและสมรรถนะการผลิต จัดแผนการทดลองแบบ 4x4 Latin square design ใช้โคเนื้อจำนวน 4 ตัว อายุประมาณ 14-17 เดือน น้ำหนักเฉลี่ย 250+25 กิโลกรัม โดยมีการบันทึกน้ำหนักตัวก่อนเริ่มเข้างานทดลอง ทำการเก็บข้อมูลเป็นระยะเวลา 84 วัน ปรับสัตว์เป็นระยะเวลา 14 วัน แบ่งออกเป็น 4 ช่วงการทดลอง ช่วงละ 21 วัน โดยที่กลุ่มการทดลองที่ 1 ได้รับฟางหมักยูเรียร่วมกับอาหารข้นที่ไม่มีกากมันสาปะหลังหมักยีสต์ (อาหารกลุ่มควบคุม) กลุ่มการทดลองที่ 2 ได้รับฟางหมักยูเรียร่วมกับอาหารข้นที่มีกากมันสำปะหลังหมักยีสต์ในสูตรที่ระดับ 10% (DM basis) กลุ่มการทดลองที่ 3 ได้รับฟางหมักยูเรียร่วมกับอาหารข้นที่มีกากมันสำปะหลังหมักยีสต์ในสูตรที่ระดับ 20% (DM basis) และกลุ่มการทดลองที่ 4 ได้รับฟางหมักยูเรียร่วมกับอาหารข้นที่มีกากมันสำปะหลังหมักยีสต์ในสูตรที่ระดับ 30% (DM basis) โดยทั้ง 4 กลุ่มการทดลองได้รับฟางหมักเป็นแหล่งของอาหารหยาบที่ให้แบบเต็มที่ ไม่พบว่า ปริมาณการกินได้ ความสามารถในการย่อยได้ของโภชนะ น้ำหนักตัว ปริมาณของไนโตรเจนในกระแสเลือด ค่าความเป็นกรด-ด่าง (pH) แอมโมเนีย-ไนโตรเจนในของเหลวในกระเพาะหมัก การเปลี่ยนแปลงประชากรของแบคทีเรียและโปรโตซัว และกรดไขมันระเหยได้ของทั้ง 4 กลุ่มการทดลองมีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P>0.05)