DSpace Repository

การสร้างสรรค์ระบำโบราณคดีจากโบราณสถาน ปราสาทเขาน้อยสีชมพู

Show simple item record

dc.contributor.author มานิต เทพปฏิมาพร
dc.date.accessioned 2022-02-02T06:39:26Z
dc.date.available 2022-02-02T06:39:26Z
dc.date.issued 2563
dc.identifier.uri http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/4298
dc.description ทุนอุดหนุนการวิจัย ประเภทงบประมาณเงินรายได้มหาวิทยาลัยบูรพา เงินรายได้ส่วนเงินกองทุนวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยบูรพา ประจำปีงบประมาณ 2563 th_TH
dc.description.abstract งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างสรรค์การแสดงนาฏศิลป์ไทยรูปแบบระบำจากแหล่งโบราณ สถานที่สำคัญในจังหวัดสระแก้วซึ่งเป็นจังหวัดทางภาคตะวันออกของประเทศไทย โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพผ่านการเก็บรวบรวมข้อมูลจากเอกสารผลงานทางวิชาการด้านประวัติศาสตร์และนาฏศิลป์ไทย การลงพื้นที่เก็บข้อมูลจากแหล่งโบราณสถานปราสาทเขาน้อยสีชมพู การสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญทางด้านนาฏศิลป์ไทย นักโบราณคดี ปราชญ์ชาวบ้าน และผู้ที่เกี่ยวข้อง โดยนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อหาวิธีการในการสร้างสรรค์การแสดง ผลการวิจัยพบว่าปราสาทเขาน้อยสีชมพูเป็นโบราณสถานที่สร้างขึ้นราวพุทธศตวรรษที่ ๑๒ จากอักษรบนหลักศิลาจารึกโบราณ นอกจากนี้ยังพบโบราณวัตถุอื่นๆ ได้แก่ ทับหลังศิลปะแบบสมโบร์ไพรกุก ศิลปะแบบไพรกเมง ประติมากรรมรูปบุคคล ตุ๊กตาดินเผาสมัยเกาะแกร์ ฐานศิวลึงค์แบบตรีมูรติ และเครื่องสำริดอีกหลายรายการ ผู้วิจัยกำหนดจินตภาพรูปบุคคลอยู่เหนือตัวมกรที่ปรากฎบนทับหลังของปราสาทเขาน้อย จึงได้ออกแบบการแสดงให้เป็นบุรุษในรูปแบบขอมโบราณ ที่แสดงท่าทางการร่ายรำตามหลักฐานที่ปรากฎจากภาพจำหลัก ลายเส้น โครงสร้างของปราสาท ตลอดจนโบราณวัตถุที่ค้นพบและกำหนดโครงสร้างสัญลักษณ์ ในการออกแบบท่าทาง การออกแบบแถวในการแสดงตามโครงเรื่องแสดงให้เห็นถึงความเชื่อ ความศรัทธา การบูชาตามหลักศาสนาฮินดูลัทธิไศวะนิกายและไวษณพนิกายที่กล่าวถึงการสรรเสริญพระวิษณุ ผ่านโครงสร้างท่าทางแบบขนบผสมผสานกับหลักแนวคิดของการสร้างสรรค์ระบำโบราณคดีกรมศิลปากรและการออกแบบสร้างสรรค์เครื่องแต่งกายประกอบการแสดงที่ต้องอาศัยองค์ประกอบสำคัญ 3 สิ่งคือ ท่ารำ ดนตรี เครื่องแต่งกายที่จะสามารถสื่อสารให้ผู้รับสารเชื่อได้ว่า การแสดงระบำโบราณคดีที่ถูกสร้างขึ้นใหม่นี้สามารถถ่ายทอดความหมายและเล่าเรื่องราวของมนุษย์ในยุคนั้น ๆ ได้ตามแนวคิดที่ผู้สร้างสรรค์กำหนดไว้ th_TH
dc.description.sponsorship กองทุนวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยบูรพา th_TH
dc.language.iso th th_TH
dc.publisher คณะดนตรีและการแสดง มหาวิทยาลัยบูรพา th_TH
dc.title การสร้างสรรค์ระบำโบราณคดีจากโบราณสถาน ปราสาทเขาน้อยสีชมพู th_TH
dc.title.alternative The Creation of Archaeological Dance based on Prasart Kaonoi Sichompoo historic site th_TH
dc.type Research th_TH
dc.author.email manit@go.buu.ac.th th_TH
dc.year 2563 th_TH
dc.description.abstractalternative This research aimed to create a Thai classical dance inspired by an archeological site in an eastern Thailand of Saekaew Province. Qualitative research was applied in the resech. Data collection included historical and Thai classical dance academic documents; on-site exploration at Prasart Kaonoi Si Chompoo; interviewing Thai classical experts; archeologists; local scholars; and others. Data abalysis was to find an approach for creating the performance. The results revealed that Prasart Kaonoi Si Chompoo has been an archeological site built in 12th century B.E. according to the messages on an ancient stone inscription. Other artifacts, additionally, found included Sombopireku artistic style linten; Prei Khmeng art; human sculptures; terra-cotta dolls of Koh Ker artistic style; Trimurati-shaped Sivalingam base; as well as other various objects. The researcher has determined an imagination of a human appearing above a mythical animal so called “Makara” that was demonstrated on the lintel of the Prasart Kaonoi Si Chompoo. The ancient Khmer-looked human was consequently formed for the performance, dancing in line with the evidence on the petroglyphy; dancing lines; the structure of the site; and other discovered artifacts. Symbolic structure for choreography was later created. Performance blocking design addressed belief; faith; and Shaivism and Vaishanavism hindu worship through traditional posture structure, combining with the concept of Rabamborankadee of the Fine Art Department. The costume design for the performance consisted of three crucial components: tunes; music; and costumes to communicate with and convince the audiences that this newly created Rabamborankadee delivered the meaning and the story of human in the ancient time according to the concept determined. th_TH
dc.keyword นาฎศิลป์สร้างสรรค์ th_TH
dc.keyword ระบำ th_TH
dc.keyword ปราสาทเขาน้อยสีชมพู th_TH


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account