dc.contributor.author |
รุ้งนภา ยรรยงเกษมสุข |
|
dc.contributor.other |
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ |
th |
dc.date.accessioned |
2021-11-19T02:39:51Z |
|
dc.date.available |
2021-11-19T02:39:51Z |
|
dc.date.issued |
2560 |
|
dc.identifier.uri |
http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/4286 |
|
dc.description |
โครงการวิจัยประเภทงบประมาณเงินรายได้จากเงินอุดหนุนรัฐบาล (งบประมาณแผ่นดิน) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2560 |
th_TH |
dc.description.abstract |
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ในการศึกษาถึงเพื่อการพัฒนาอุตสาหกรรมของจังหวัด
ปราจีนบุรีในอดีตที่ผ่านมา และวิเคราะห์กระบวนการจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมใหม่ของจังหวัด
ปราจีนบุรีในปัจจุบัน รวมถึงการรวบรวมข้อเสนอแนะการจัดทำผังเมืองที่เหมาะสมเพื่อการพัฒนา
อุตสาหกรรมในจังหวัดปราจีนบุรีที่เหมาะสมและมีความยั่งยืน การศึกษานี้เป็นการศึกษาวิจัยเชิง
คุณภาพ เพื่อพิจารณาถึงเหตุและผลของการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นกับอุตสาหกรรมในจังหวัด
ปราจีนบุรี
ผลการศึกษาวิจัยนี้ พบว่า ประวัติศาสตร์ของพัฒนาการอุตสาหกรรมของจังหวัดปราจีนบุรี
มีจุดเปลี่ยนที่สำคัญ คือ ช่วงที่มีแผนพัฒนาชายฝั่งทะเลตะวันออก (ESB) ในช่วงทศวรรษที่ 2530 เป็น
ต้นมา ช่วงเวลาก่อนหน้าแผนพัฒนาชายฝั่งทะเลตะวันออกเกิดขึ้น จังหวัดปราจีนบุรีเป็นพื้นที่
เกษตรกรรมที่สำคัญ ผู้คนในพื้นที่มีวิถีการผลิตแบบเกษตรกรรม แต่ผลของแผนพัฒนาชายฝั่งทะเล
ตะวันออก ระยะที่ 2 ได้ขยายพื้นที่การพัฒนาอุตสาหกรรมกระจายตัวจาก 3 จังหวัดชายฝั่งทะเล
ตะวันออกมาสู่ปราจีนบุรีทำให้พื้นที่จังหวัดปราจีนบุรีมีการเติบโตของอุตสาหกรรมเรื่อยมา นอกจากนี้
การกำหนดขอบเขตพื้นที่ตั้งอุตสาหกรรมเฉพาะ เช่น ข้อกำหนดเกี่ยวกับการจัดสรรที่ดินเพื่อ
อุตสาหกรรมจังหวัดปราจีนบุรี พ.ศ. 2550 หรือผังเมืองรวมจังหวัดปราจีนบุรี พ.ศ. 2555 ก็เป็นปัจจัย
สำคัญต่อการพัฒนาอุตสาหกรรมในจังหวัดปราจีนบุรี ส่วนการวิเคราะห์กระบวนการจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมใหม่ของจังหวัดปราจีนบุรีการศึกษา
ครั้งนี้พบว่า มีกลไกที่สำคัญที่มีความเกี่ยวข้องกับการเคลื่อนไหวของกระบวนการจัดตั้งนิคม
อุตสาหกรรมใหม่ในจังหวัดปราจีนบุรี ประกอบด้วย กลไกทางด้านกฎหมาย ได้แก่ กฎหมายข้อบังคับ
เกี่ยวกับการดำเนินการและการบริหารจัดการนิคมอุตสาหกรรมและกฎหมายเกี่ยวกับที่ดินสำหรับการ
ตั้งนิคมอุตสาหกรรม กลไกทางด้านนโยบาย ได้แก่ การเคลื่อนไหวและการสนับสนุนของภาครัฐ ผ่าน
การใช้นโยบายการพัฒนาอุตสาหกรรมและยุทธศาสตร์การพัฒนาพื้นที่ และกลไกทางด้านสถาบัน
ได้แก่ กลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในพื้นที่ ประกอบด้วย ภาคเอกชนในฐานะผู้ลงทุน ภาคประชาชนใน
ฐานะผู้ได้รับผลกระทบจากการตั้งนิคมอุตสาหกรรมในพื้นที่จังหวัดปราจีนบุรี
นอกจากนี้ สำหรับประเด็นข้อเสนอแนะในการพัฒนาการจัดทำผังเมืองที่เหมาะสมเพื่อการ
พัฒนาอุตสาหกรรมในจังหวัดปราจีนบุรีมีข้อเสนอที่สำคัญ ได้แก่ การสร้างกระบวนการการมีส่วน
ร่วมของทุกภาคส่วนในรูปแบบไตรภาคี (ภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชน) ภายใต้กระบวนการ
จัดวางผังเมืองและการจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมในพื้นที่จังหวัดปราจีนบุรี รวมถึงการกำหนดขอบเขต
พื้นที่อุตสาหกรรมให้เกิดความชัดเจน และจำกัดการกระจายตัวของอุตสาหกรรมไปยังในพื้นที่เขต
เมือง พื้นที่เขตเกษตรกรรม และพื้นที่ใกล้กับแหล่งงน้ำธรรมชาติ |
th_TH |
dc.description.sponsorship |
สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ |
th_TH |
dc.language.iso |
th |
th_TH |
dc.publisher |
คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา |
th_TH |
dc.subject |
ชายฝั่งทะเลตะวันออก - - ไทย |
th_TH |
dc.subject |
ผังเมือง - - (ไทย (ภาคตะวันออก) - - ปราจีนบุรี |
th_TH |
dc.subject |
สาขารัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ |
th_TH |
dc.title |
การทบทวนและปรับยุทธศาสตร์การพัฒนาของโครงการพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งทะเลตะวันออกสู่การเป็นประเทศอาเซียนในจังหวัดปราจีนบุรี : กรณีการวางผังเมืองเพื่อการพัฒนาอุตสาหกรรม |
th_TH |
dc.title.alternative |
Review and development strategy adjustment of Eastern Seaboard development program toward Asean Country in Prachinburi province : the case of city planning for industry development |
en |
dc.type |
Research |
th_TH |
dc.author.email |
yrungnapa2002@hotmail.com |
th_TH |
dc.year |
2560 |
th_TH |
dc.description.abstractalternative |
This research aims to study the industrial development in Prachinburi in the
past and analyses the establishment processes of new industries in Prachinburi at the
present. Including, the research collects the suitable proposition of urban planning in
order to develop properly and sustainably the industries in Prachinburi. In addition,
this study is the qualitative research to consider causes and effects of changing among
the industrialization in Prachinburi.
The research found that the historical industrial development in Prachinburi
had the turning point: firstly, from 1987 decade had Eastern Seaboard Development
Program (ESB). Before ESB was instituted, Prachinburi was the agricultural areas. There
were many people trended to be agricultural production. However, the effects of ESB
in the second period extended the industrial development from three provinces of
ESB to Prachinburi province. These effects led to Prochinburi was industrial growth.
Furthermore, there were the boundary of industrial setting in particular such as the
provision of land allocation for industries in Prachinburi 2007, and Prachinburi master
plan 2012. They were the significant factors to develop industry of Prachinburi.
Subsequently, the analysis of the new industrial establishment processes of
Prachinburi found that there was the important mechanism relevant to the movement
of the new industrial contribution processes in Prachinburi. It consisted of the law
mechanism such as the provision of implementation and industrial management, land
law for industrial construction, and mechanism policy. For example, the movement
and support of government sectors through the policy operation of industrial
development and space development strategies as well as the institutional
mechanism such as stakeholder consisted of private sectors in the position of investors,
people who had affected from the industries in Prachinburi province.
Finally, the proper proposition of urban planning development in order to
develop industries in Prachinburi province should cooperate among tripartite- public
sectors, private sectors and people under the processes of urban planning and the
industrial construction in the areas of Prachinburi province. Including, they should
regulate clearly the boundary of industrial areas as well as limit the spreads of
industrialization to other city, agriculture, and water resources. |
en |