Abstract:
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ในการศึกษาถึงเพื่อการพัฒนาอุตสาหกรรมของจังหวัด
ปราจีนบุรีในอดีตที่ผ่านมา และวิเคราะห์กระบวนการจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมใหม่ของจังหวัด
ปราจีนบุรีในปัจจุบัน รวมถึงการรวบรวมข้อเสนอแนะการจัดทำผังเมืองที่เหมาะสมเพื่อการพัฒนา
อุตสาหกรรมในจังหวัดปราจีนบุรีที่เหมาะสมและมีความยั่งยืน การศึกษานี้เป็นการศึกษาวิจัยเชิง
คุณภาพ เพื่อพิจารณาถึงเหตุและผลของการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นกับอุตสาหกรรมในจังหวัด
ปราจีนบุรี
ผลการศึกษาวิจัยนี้ พบว่า ประวัติศาสตร์ของพัฒนาการอุตสาหกรรมของจังหวัดปราจีนบุรี
มีจุดเปลี่ยนที่สำคัญ คือ ช่วงที่มีแผนพัฒนาชายฝั่งทะเลตะวันออก (ESB) ในช่วงทศวรรษที่ 2530 เป็น
ต้นมา ช่วงเวลาก่อนหน้าแผนพัฒนาชายฝั่งทะเลตะวันออกเกิดขึ้น จังหวัดปราจีนบุรีเป็นพื้นที่
เกษตรกรรมที่สำคัญ ผู้คนในพื้นที่มีวิถีการผลิตแบบเกษตรกรรม แต่ผลของแผนพัฒนาชายฝั่งทะเล
ตะวันออก ระยะที่ 2 ได้ขยายพื้นที่การพัฒนาอุตสาหกรรมกระจายตัวจาก 3 จังหวัดชายฝั่งทะเล
ตะวันออกมาสู่ปราจีนบุรีทำให้พื้นที่จังหวัดปราจีนบุรีมีการเติบโตของอุตสาหกรรมเรื่อยมา นอกจากนี้
การกำหนดขอบเขตพื้นที่ตั้งอุตสาหกรรมเฉพาะ เช่น ข้อกำหนดเกี่ยวกับการจัดสรรที่ดินเพื่อ
อุตสาหกรรมจังหวัดปราจีนบุรี พ.ศ. 2550 หรือผังเมืองรวมจังหวัดปราจีนบุรี พ.ศ. 2555 ก็เป็นปัจจัย
สำคัญต่อการพัฒนาอุตสาหกรรมในจังหวัดปราจีนบุรี ส่วนการวิเคราะห์กระบวนการจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมใหม่ของจังหวัดปราจีนบุรีการศึกษา
ครั้งนี้พบว่า มีกลไกที่สำคัญที่มีความเกี่ยวข้องกับการเคลื่อนไหวของกระบวนการจัดตั้งนิคม
อุตสาหกรรมใหม่ในจังหวัดปราจีนบุรี ประกอบด้วย กลไกทางด้านกฎหมาย ได้แก่ กฎหมายข้อบังคับ
เกี่ยวกับการดำเนินการและการบริหารจัดการนิคมอุตสาหกรรมและกฎหมายเกี่ยวกับที่ดินสำหรับการ
ตั้งนิคมอุตสาหกรรม กลไกทางด้านนโยบาย ได้แก่ การเคลื่อนไหวและการสนับสนุนของภาครัฐ ผ่าน
การใช้นโยบายการพัฒนาอุตสาหกรรมและยุทธศาสตร์การพัฒนาพื้นที่ และกลไกทางด้านสถาบัน
ได้แก่ กลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในพื้นที่ ประกอบด้วย ภาคเอกชนในฐานะผู้ลงทุน ภาคประชาชนใน
ฐานะผู้ได้รับผลกระทบจากการตั้งนิคมอุตสาหกรรมในพื้นที่จังหวัดปราจีนบุรี
นอกจากนี้ สำหรับประเด็นข้อเสนอแนะในการพัฒนาการจัดทำผังเมืองที่เหมาะสมเพื่อการ
พัฒนาอุตสาหกรรมในจังหวัดปราจีนบุรีมีข้อเสนอที่สำคัญ ได้แก่ การสร้างกระบวนการการมีส่วน
ร่วมของทุกภาคส่วนในรูปแบบไตรภาคี (ภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชน) ภายใต้กระบวนการ
จัดวางผังเมืองและการจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมในพื้นที่จังหวัดปราจีนบุรี รวมถึงการกำหนดขอบเขต
พื้นที่อุตสาหกรรมให้เกิดความชัดเจน และจำกัดการกระจายตัวของอุตสาหกรรมไปยังในพื้นที่เขต
เมือง พื้นที่เขตเกษตรกรรม และพื้นที่ใกล้กับแหล่งงน้ำธรรมชาติ