Abstract:
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการเพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติงานด้วยระบบสารสนเทศด้านการเงินและบัญชี ในความร่วมมือ 5 สถาบัน ด้วยวิธีวิจัยเชิงปริมาณ โดยใช้แบบสอบถามเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง กลุ่มตัวอย่างคือ บุคลากรที่อยู่ในตำแหน่ง นักวิชาการเงินและบัญชี นักวิชาการพัสดุ ของ 5 สถาบัน จำนวน 409 คน การสุ่มตัวอย่างของ Hair, Black, Babin & Anderson (2010) โดยปัจจัยที่ใช้ในศึกษาประกอบด้วย ปัจจัยด้านการสนับสนุนจากหน่วยงาน ปัจจัยด้านการควบคุมภายใน ปัจจัยด้านนโยบายและกฎหมาย และประสิทธิภาพการปฏิบัติงานด้วยระบบสารสนเทศด้านการเงินและบัญชี สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน Bartlett’s Test of Sphericity และตรวจสอบความสอดคล้อง ของโมเดลสมการโครงสร้างที่พัฒนาขึ้นกับข้อมูลเชิงประจักษ์ ผลการศึกษาพบว่า ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.01 ปัจจัยที่มีอิทธิพลทางตรงในเชิงบวกต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานด้วยระบบสารสนเทศด้านการเงินและบัญชี คือ ปัจจัยด้านนโยบายและ กฎระเบียบ โดยมีค่าน้ำหนักเท่ากับ .709 และปัจจัยด้านการควบคุมภายใน มีค่าน้ำ หนักเท่ากับ .590 ในขณะที่ปัจจัยด้านการสนับสนุนจากหน่วยงาน มีอิทธิพลทางตรงในเชิงลบ มีค่าน้ำหนักเท่ากับ -.312 และเมื่อพิจารณาปัจจัยที่มีอิทธิพลทางตรงในเชิงบวกต่อปัจจัยด้านการควบคุมภายในคือ ปัจจัยด้านการสนับสนุนจากหน่วยงาน มีค่าน้ำหนักมากที่สุดคือ .003 ในขณะที่ปัจจัยด้านนโยบายและกฎระเบียบมีอิทธิพลทางตรงในเชิงลบ ค่าน้ำหนักเท่ากับ -.1931