dc.contributor.author | พัชร โกฉัยพัฒน์ | |
dc.contributor.author | สุกฤษฎิ์ คูวัฒนเธียรชัย | |
dc.contributor.other | มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะแพทยศาสตร์ | |
dc.date.accessioned | 2021-06-23T06:40:57Z | |
dc.date.available | 2021-06-23T06:40:57Z | |
dc.date.issued | 2563 | |
dc.identifier.uri | http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/4246 | |
dc.description.abstract | บทนำ อาการทางระบบหัวใจและหลอดเลือดเป็นอาการที่พบได้ในผู้ป่วยติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 โดยเฉพาะภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะซึ่งส่งผลต่อพยากรณ์โรคของผู้ป่วย วัตถุประสงค์ การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อรวบรวมอุบัติการณ์ พยาธิกำเนิด พยาธิสรีรวิทยา ผู้ป่วยติดเชื้อที่มีโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะแต่กำเนิด การรักษาและผลข้างเคียงจากการรักษา รวมถึงแนวทางป้องกันผลข้างเคียงดังกล่าว วิธีการศึกษา ทำการค้นคว้ารวบรวมวรรณกรรมที่เกี่ยวข้องผ่านฐานข้อมูล Pubmed และ Google ในช่วงที่มีการแพร่ระบาดจนถึงเดือนเมษายน พ.ศ.2563 ผลการศึกษา พบว่ามีอุบัติการณ์การเกิดภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะร้อยละ 5.9-16.7 พยาธิกำเนิดและพยาธิสรีรวิทยาอาจอธิบายได้จากการบาดเจ็บโดยตรงของกล้ามเนื้อหัวใจ ภาวะออกซิเจนในเลือดต่ำ ภาวะอักเสบทั่วร่างกาย ความผิดปกติของเกลือแร่ในร่างกาย และผลข้างเคียงจากการรักษา ผู้ป่วยโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะแต่กำเนิดที่ควรได้รับการดูแลเป็นพิเศษในช่วงการติดเชื้อไวรัสโคโรนา คือ ผู้ป่วยในโรค Long QT syndrome และ Brugada syndrome การใช้ยารักษาการติดเชื้อด้วย hydroxychloroquine, chloroquine, azithromycin และ lopinavir/ritonavir อาจส่งผลให้เกิดภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะผ่านกลไก QT prolongation การเฝ้าติดตามคลื่นไฟฟ้าหัวใจเป็นระยะ หยุดยาเมื่อมีภาวะ QT prolongation รักษาระดับเกลือแร่ในร่างกายให้เป็นปกติ และหยุดยาอื่นที่มีความเสี่ยงให้เกิด QT prolongation สามารถลดความเสี่ยงการเกิดหัวใจเต้นผิดจังหวะในผู้ป่วยติดเชื้อไวรัสโคโรนาได้ สรุป ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะสามารถพบได้ในผู้ป่วยติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 และส่งผลต่อพยากรณ์โรคของผู้ป่วย การตระหนักถึงความสำคัญของภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะและจัดการความเสี่ยงที่ก่อให้เกิดภาวะดังกล่าวจะทำให้การดูแลรักษาผู้ป่วยติดเชื้อไวรัสโคโรนา 209 เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ | th_TH |
dc.language.iso | th | th_TH |
dc.publisher | คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา | th_TH |
dc.subject | การติดเชื้อไวรัสโคโรนา | th_TH |
dc.subject | ภาวะหัวใจเสียจังหวะ | th_TH |
dc.subject | หัวใจ -- โรค | th_TH |
dc.subject | สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์ | |
dc.title | การติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 กับภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ | th_TH |
dc.title.alternative | Coronavirus disease 2019 (COVID-19) and cardiac arrhythmias | en |
dc.type | Article | th_TH |
dc.issue | 1 | th_TH |
dc.volume | 7 | th_TH |
dc.year | 2563 | th_TH |
dc.description.abstractalternative | Introduction The cardiovascular manifestation can occur commonly in patient who suffering from the coronavirus disease 2019 (also known as, COVID-19). This review will examine and focus on the cardiac arrhythmias in the patients with COVID-19 which is one of the cardiovascular manifestations, considered as one of the prognostic factors. Aims This literature will emphasis on incidence, pathogenesis, pathophysiology, association of COVID-19 and inherited cardiac arrhythmia, management and adverse effects of medication, and the guidance to minimized arrhythmic risk in the patients with COVID-19. Methods A literature review was done using PubMed and Google search engines to prepare a narrative review on this topic. Results The author has found that the chance of arrhythmia incidence in COVID-19 patients was 5.9% to 16.7%. The directly myocardial injury, hypoxemia, electrolyte disturbance, and systemic inflammation were considered as mechanism of arrhythmia in these patients. Especially patients who have inherited arrhythmia, particularly Long QT syndrome and Brugada syndrome will requires special attention in this circumstance. Furthermore, we found that the medication used for COVID-19 treatment, including hydroxychloroquine, chloroquine, azithromycin, and lopinavir/ ritonavir may increase the risk of cardiac arrhythmia via the QT prolongation mechanism. To prevent this, closely monitoring, withhold or withdrawal these medication as indicated, till the normalization of the electrolyte level; is the key role to minimized arrhythmic risk strategies. Conclusion The cardiac arrhythmias are not uncommon manifestation in the COVID-19 patients and may be considered as one of the prognostic factors. Realization and risk management are fundamental to ensuring efficiency in dealing with CODVID-19 patient. | en |
dc.journal | บูรพาเวชสาร | th_TH |
dc.page | 153-164. | th_TH |