Abstract:
บทความนี้ จึงต้องการนำเสนอมุมมองของผู้เขียนที่เกิดจากศึกษาค้นคว้าจากเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องเพื่อประกอบการทำวิจัยเรื่อง เพลงโคราช : การอนุรักษ์มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมไทยสู่สากล เพื่อเป็นการเผยแพร่ความรู้ความเข้าใจในองค์ความรู้และการถ่ายทอดองค์ความรู้ของเพลงโคราช มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมไทย ใช้แนวทางเดียวกันกับหลักเกณฑ์การขึ้นทะเบียนมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมขององค์การศึกษา วิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (UNESCO) ซึ่งประกอบด้วย 1) การศึกษาวัฒนธรรมและความคงอยู่ของมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม 2) การถ่ายทอดองค์ความรู้ของมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม 3) การศึกษาองค์ความรู้ของมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม และ 4) การศึกษาวิถีชีวิตชุมชนของมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม ตามหลักเกณฑ์ดังกล่าวสิ่งที่สะท้อนความเป็นมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมได้เด่นชัดและทำให้มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมอยู่คู่ในสังคมได้อย่างยาวนาน ผลการศึกษา พบว่า การแสดงเพลงโคราช เป็นมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมไทยที่สะท้อนอัตลักษณ์และสังคมของจังหวัดนครราชสีมา อัตลักษณ์เฉพาะที่เด่นชัด คือการใช้ภาษาโคราช และการแสดงที่ไม่มีดนตรีประกอบสังคมที่ประกอบด้วยผู้คนที่อาศัยหลากหลายกลุ่มชาติพันธุ์ เสียงเหน่อโคราช เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว เป็นสำเนียงกึ่งภาคกลาง กึ่งอีสาน กึ่งอีสานใต้ จึงเรียกว่า “สำเนียงโคราช” การถ่ายทอดองค์ความรู้ของการแสดงเพลงโคราชจากอดีตสู่ปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็นการถ่ายทอดจากบิดามารดาสู่บุคคลในครอบครัว หรือการถ่ายทอดจากครูสู่ลูกศิษย์ ถือว่าเป็นการอนุรักษ์มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมอีกรูปแบบหนึ่ง