dc.contributor.author | ศุภรา อรุณศรีมรกต | |
dc.contributor.author | ปิติวรรธน์ สมไทย | |
dc.contributor.author | ภรดี พันธุภากร | |
dc.contributor.other | มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศิลปกรรมศาสตร์ | |
dc.date.accessioned | 2021-06-21T02:01:26Z | |
dc.date.available | 2021-06-21T02:01:26Z | |
dc.date.issued | 2562 | |
dc.identifier.uri | http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/4205 | |
dc.description.abstract | วัตถุประสงค์ของการวิจัยเพื่อศึกษากระบวนการนำกลับมาใช้ใหม่ของเศษขยะขวดน้ำพลาสติกและกระบวนการสร้างพื้นผิวโดยผสมผสานกับเศษวัสดุแห เชือก อวน และทุ่นโฟม วิธีการวิจัย คือ แยกชนิดขวดน้ำพลาสติก PET และ HDPE ด้วยวิธีการทำมือ และย่อยขนาดขวดน้ำพลาสติกให้เล็กด้วยวิธีการตัด ผลิตชิ้นพลาสติกในอัตราส่วน ร้อยละ 100 ด้วยวิธีการหลอมด้วยความร้อนในเตาอบ เมื่อพลาสติกโดนความร้อนจะเกิดการละลายและยุบตัวจึงจำเป็นต้องเติมปริมาณเศษพลาสติกที่ตัดเป็นชิ้นเล็กให้เต็มแม่แบบจนได้ขนาดตามแม่แบบ การผลิตชิ้นพลาสติกผสมผสานกับเศษวัสดุแห เชือก อวน และทุ่นโฟมในอัตราส่วนการผสมเศษขวดน้ำพลาสติก ร้อยละ 90 และ เศษวัสดุอื่น ๆ ร้อยละ 10 ผลการศึกษากระบวนการสร้างพื้นผิวของเศษขยะขวดน้ำพลาสติกและการผสมผสานกับเศษวัสดุแห เชือก อวน และทุ่นโฟม พบว่า จุดหลอมเหลวพลาสติก HDPE ที่ 230 องศาเซลเซียส จะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างชัดเจนโดยเผาไหม้และเปลี่ยนเป็นสีดำ ส่วนพลาสติกชนิด PET ที่ 293 องศาเซลเซียส จะเกิดการละลายกลายเป็นน้ำ ส่วนเศษวัสดุแห เชือก อวน ที่นำมาผสมมีลักษณะละลายเข้ากับเนื้อพลาสติกขวดน้ำด้วยความร้อนได้ดี แต่เกิดการเผาไหม้เร็วกว่าพลาสติกโดยเฉลี่ยใช้ระยะเวลา 10 นาที จะเกิดการเผาไหม้เปลี่ยนสีเป็นสีน้ำตาลเข้ม และแข็งตัวคงรูป ซึ่งมีผลต่อลักษณะพื้นผิวของพลาสติกทำให้ไม่เรียบ ขรุขระ ลักษณะพื้นผิวที่ได้จากการหลอมของเศษวัสดุแห และอวน มีความใกล้เคียงกันสูง แตกต่างเพียงขนาดของเส้นแห และอวน เศษวัสดุเชือกเมื่อถูกการหลอมละลายมีการหดตัวสูงมากเมื่อเทียบกับการหดตัวของเศษวัสดุแห และอวน ลักษณะพื้นผิวที่ได้จะไม่เรียบ มีความขรุขระสูงกว่าเศษวัสดุแห และอวน เศษวัสดุทุ่นโฟมไม่สามารถยึดติดกับพลาสติก ลักษณะพื้นผิวที่ได้จึงเป็นเพียงแค่ร่องรอยของทุ่นโฟมบนพลาสติก การศึกษากระบวนการนำกลับมาใช้ใหม่ของเศษขยะขวดนำพลาสติกและกระบวนการสร้างพื้นผิวโดยผสมผสานกับเศษวัสดุแห เชือก อวน และทุ่นโฟม มีลักษณะพื้นผิววัสดุที่ใกล้เคียงกัน โดยเศษวัสดุแหและอวนให้พื้นผิวที่เรียบและการผสมผสานได้ดีที่สุด | th_TH |
dc.language.iso | th | th_TH |
dc.publisher | คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา | th_TH |
dc.subject | การนำกลับมาใช้ใหม่ | th_TH |
dc.subject | ขยะพลาสติก -- การนำกลับมาใช้ใหม่ | th_TH |
dc.subject | สาขาสังคมวิทยา | th_TH |
dc.title | การศึกษากระบวนการนำกลับมาใช้ใหม่ของเศษขยะขวดน้ำพลาสติกและกระบวนการสร้างพื้นผิวโดยผสมผสานกับเศษวัสดุแห เชือก อวน และ ทุ่นโฟม | th_TH |
dc.title.alternative | The study of recycle process of plastic bottle and texturing process by integration with debris netting, rope, nets and foam buoy | en |
dc.type | Article | th_TH |
dc.issue | 2 | th_TH |
dc.volume | 22 | th_TH |
dc.year | 2562 | th_TH |
dc.description.abstractalternative | The purpose of research is to study of recycle process of waste plastic bottle and texturing process by integration with debris netting, rope, nets and foam buoy. The research method is to separate the waste plastic bottles of PET and HDPE by hand and subsize of plastic water bottles with cutting method. The production process is using 100 percentage of waste plastic bottles melting in the oven; when waste plastic is melted by heat, waste plastic will shrink and deform so it is necessary to fill up more waste plastic scrap to full the mold. The production of texturing process by integration with debris netting, rope, nets and foam buoy is using waste plastic water bottle scrap 90 percent and other scrap 10 percent of the physical properties of scrap. The results found that melting point of HDPE plastic is at 230 ° C. The change is made clearly by burning and turning black color. The melting point of PET plastic is at 293 ° C and turn the property into water. The scrap of debris netting, rope, and nets are melted with plastic bottles well by heat, but the average burn-up time is 10 minutes, and the color is burned to a dark brown and solid-shaped. This affects the surface appearance of the plastic by making it uneven. Rugged surface appearance is from the melting of scrap and fishnet material. There is a high contrast, only the size of the strands and the fishnet, the rope material when molten, are very high shrinkage compared to the contraction of the scrap and fishnet material. The appearance of the surface is not smooth. There is a higher roughness than debris and a fishnet; the foam buoy cannot be attached to plastic, so it is just a trace of foam buoys on the plastic. The study of recycled processes of debris, water bottles, plastic, and the process of creating surfaces, combined with scrap material. Fishnet, rope and foam buoy have similar material textures. The scrap and fishnet material provide a smooth surface and the best combination. | en |
dc.journal | วารสารศิลปกรรมบูรพา | th_TH |
dc.page | 90-103. | th_TH |