Abstract:
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 3 ข้อ ได้แก่ เพื่อ 1) ศึกษาความพร้อมของวัด
ในการรองรับสังคมสูงวัยจังหวัดชลบุรี 2) ค้นหาแนวทางการพัฒนาวัดฯ และ 3) วางแผนพัฒนาวัดฯ ใช้วิธีดำเนินการวิจัยเชิงคุณภาพ ผู้ให้ข้อมูลหลักจำนวน 95 รูป/คน ได้มาด้วยการเลือกแบบเจาะจงจาก 11 อำเภอ และ 1 เขตปกครองพิเศษ อำเภอ/เขตปกครองพิเศษละ 1 วัด รวบรวมข้อมูลด้วยแบบสัมภาษณ์แทนการประชุมกลุ่มย่อย วิเคราะห์ข้อมูลด้วยความถี่และค่าร้อยละพร้อมกับการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า 1) วัดในจังหวัดชลบุรีมีความพร้อมในการรองรับสังคมสูงวัย
ในระดับน้อยที่สุด โดยเฉพาะป้ายธรรมะ/สัญลักษณ์อยู่ในระดับขาดแคลน จึงมี
ความต้องการพัฒนาในระดับมากที่สุด 2) แนวทางการพัฒนาวัดควรประกอบด้วย
ใคร อะไร เมื่อไหร่ อย่างไร และจากไหน (งบ) ตามแผนยุทธศาสตร์การปฏิรูปกิจการพระพุทธศาสนาแห่งชาติ คำนึงถึงแนวคิดเมืองที่เป็นมิตรกับผู้สูงอายุ และการออกแบบเพื่อทุกคน 3) แผนพัฒนาวัดเป็นแผนระยะสั้นหรือแผนเร่งด่วนควรดำเนินการภายใน 1 ปี สิ่งที่ควรพัฒนาเป็นอันดับแรก คือ ป้ายธรรมะ/สัญลักษณ์ ห้องนน้ำ/สุขา และบันได/ทางเดิน ผู้มีส่วนร่วมที่สำคัญ คือ ประชาชน พระสงฆ์/วัด และผู้นำชุมชน งบประมาณส่วนใหญ่ควรมาจากประชาชน หน่วยงานรัฐ และผู้นำชุมชน และสิ่งที่ผู้ให้ข้อมูลหลักมีส่วนร่วมได้มาก คือ กำลังกาย และการประชาสัมพันธ