Abstract:
การวิจัยครั้งมีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาการนำนโยบายการจัดการศึกษาเด็กต่างด้าวไปปฏิบัติในพื้นที่จังหวัดสระแก้ว ผู้วิจัยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพในรูปพหุกรณีศึกษา ที่มุ่งการเก็บข้อมูลในเชิงลึก เพื่อความเข้าใจที่ลึกซึ้งและเป็นองค์รวม โดยเก็บข้อมูลจากโรงเรียนที่เป็นกรณีศึกษา 4 โรงเรียน ผลการวิจัยพบว่า การนำนโยบายการจัดการศึกษาเด็กต่างด้าวไปปฏิบัติในพื้นที่จังหวัดสระแก้ว มีวัตถุประสงค์และแนวทางในการปฏิบัติการจัดการศึกษาให้เด็กต่างด้าวอย่างชัดเจน ตามมติคณะรัฐมนตรี วันที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2548, ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยหลักฐานในการรับนักเรียนเข้าเรียน ในสถานศึกษา พ.ศ. 2548, คู่มือและแนวปฏิบัติสำหรับการจัดการศึกษาแก่บุคคล ที่ไม่มีหลักฐานทะเบียนราษฎร หรือไม่มีสัญชาติไทย (ฉบับปรับปรุงใหม่ พ.ศ. 2560) ด้านทรัพยากรของนโยบาย พบว่า ทรัพยากรด้านบุคลากร และงบประมาณที่ได้รับ การจัดสรร ไม่เพียงพอในการปฏิบัติงานจริง แต่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องก็สามารถแก้ไขปัญหา และปฏิบัติตามนโยบายได้ ด้านการสื่อสารระหว่างองค์กร ผู้บริหารมีความสามารถในการโน้มน้าวใจที่ดี ทำให้ผู้ปฏิบัติสามารถดำเนินงานตามหลักเกณฑ์และแนวทางจนบรรลุเป้าหมายที่วางไว้ ด้านลักษณะของหน่วยปฏิบัติ ไม่ได้มีการกำหนดผู้รับผิดชอบเฉพาะสำหรับการจัดการศึกษาเด็กต่างด้าว แต่ปฏิบัติตามแนวทางที่รัฐกำหนด ด้านเงื่อนไข ทางเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง พบว่า ชุมชน หน่วยงานด้านความมั่นคง องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เต็มใจและสนับสนุนให้ทางโรงเรียนจัดการศึกษาให้เด็กต่างด้าวสัญชาติกัมพูชา ด้านทัศนคติของผู้บริหาร พบว่า ผู้บริหารมีทัศนคติเชิงบวกต่อนโยบาย ส่งผลให้ทุกฝ่ายมีการรับรู้และเข้าใจ เกิดการยอมรับ และสามารถตอบสนองต่อนโยบายได้เป็นอย่างดี ทำให้การนำนโยบายมาปฏิบัติประสบความสำเร็จได้ จุดสำคัญที่ค้นพบจากงานวิจัยนี้ คือ กระบวนการนโยบายสาธารณะในขั้นการนำนโยบายไปปฏิบัติ มีส่วนสำคัญอย่างยิ่งต่อความสำเร็จ หรือความล้มเหลวของนโยบายนั้น ซึ่งการดำเนินนโยบายการจัดการศึกษาเด็กต่างด้าวในพื้นที่จังหวัดสระแก้วที่ผ่านมา ชี้ให้เห็นว่าการนำนโยบายไปปฏิบัติบรรลุวัตถุประสงค์ของนโยบาย
การโน้มน้าวใจที่ดี ท าให้ผู้ปฏิบัติสามารถด าเนินงานตามหลักเกณฑ์และแนวทางจนบรรลุ
เป้าหมายที่วางไว้ ด้านลักษณะของหน่วยปฏิบัติ ไม่ได้มีการก าหนดผู้รับผิดชอบเฉพาะ
ส าหรับการจัดการศึกษาเด็กต่างด้าว แต่ปฏิบัติตามแนวทางที่รัฐก าหนด ด้านเงื่อนไข
ทางเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง พบว่า ชุมชน หน่วยงานด้ านความมั่นคง
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เต็มใจและสนับสนุนให้ทางโรงเรียนจัดการศึกษาให้
เด็กต่างด้าวสัญชาติกัมพูชา ด้านทัศนคติของผู้บริหาร พบว่า ผู้บริหารมีทัศนคติเชิงบวกต่อ
นโยบาย ส่งผลให้ทุกฝ่ายมีการรับรู้และเข้าใจ เกิดการยอมรับ และสามารถตอบสนองต่อ
นโยบายได้เป็นอย่างดี ท าให้การน านโยบายมาปฏิบัติประสบความส าเร็จได้ จุดส าคัญ
ที่ค้นพบจากงานวิจัยนี้ คือ กระบวนการนโยบายสาธารณะในขั้นการน านโยบายไปปฏิบัติ
มีส่วนส าคัญอย่างยิ่งต่อความส าเร็จ หรือความล้มเหลวของนโยบายนั้น ซึ่งการด าเนิน
นโยบายการจัดการศึกษาเด็กต่างด้าวในพื้นที่จังหวัดสระแก้วที่ผ่านมา ชี้ให้เห็นว่าการน า
นโยบายไปปฏิบัติบรรลุวัตถุประสงค์ของนโยบาย