dc.contributor.author |
แววตา ทองระอา |
th |
dc.contributor.author |
วันชัย วงสุดาวรรณ |
th |
dc.contributor.author |
อาวุธ หมั่นหาผล |
th |
dc.contributor.author |
ฉลวย มุสิกะ |
th |
dc.contributor.other |
มหาวิทยาลัยบูรพา. สถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล |
|
dc.date.accessioned |
2019-03-25T08:51:48Z |
|
dc.date.available |
2019-03-25T08:51:48Z |
|
dc.date.issued |
2552 |
|
dc.identifier.uri |
http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/412 |
|
dc.description.abstract |
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการปนเปื้อนของโลหะหนัก 5 ชนิด ได้แก่ ปรอท ตะกั่ว แคดเมียม สังกะสี และทองแดง ในสัตว์ทะเลชนิดต่าง ๆ ที่ได้จากพื้นที่อุตสาหกรรมชายฝั่งทะเลตะวันออก ได้แก่ บริเวณนิคมอุตสาหกรรมแหลมฉบัง จังหวัดชลบุรี และนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุดจังหวัดระยอง เก็บตัวอย่างโดยใช้อวนลากแผ้นตะเฆ่ รวม 3 ครั้งคือ ระหว่างเดือนพฤษาคม-มิถุนายน (ต้นฤดูฝน) ระหว่างเดือนสิงหาคม-กันยายน 2550 (ฤดูฝน) และเดือนมีนาคม 2551 (ฤดูแล้ง) ได้ตัวอย่างรวมทั้งสิ้น 50 ชนิด จำนวน 949 ตัวอย่าง ในจำนวนนี้เป็นตัวอย่างจากนิคมอุตสาหกรรมแหลมฉบัง 580 ตัวอย่าง และนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด 69 ตัวอย่าง ผลการศึกษาพบว่าโลหะหนักในสัตว์ส่วนใหญ่อยู่ในระดับที่ปลอดภัยสำหรับการบริโภค พบโลหะหนักสูงเกินระดับปลอดภัยในบริเวณนิคมอุตสาหกรรมแหลมฉบังคิดเป็นร้อยละ 15.7 และในบริเวณนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด พบในปริมาณใกล้เคียงกัน คือร้อยละ 14.9 ของตัวอย่างทั้งหมดในแต่ละบริเวณโดยโลหะหนักที่ตรวจพบสูงเกินระดับปลอดภัย เรียงตามลำดับ ได้แก่ ทองแดง สังกะสี และแคดเมียม ซึ่งพบใน กุ้ง กั้ง ปู หอย และหมึกบางชนิด สำหรับสารปรอทพบสูงเกินมาตรฐานเพียง 2 ตัวอย่าง ในบริเวณนิคมอุตสาหกรรมแหลมฉบัง ในบรรดาโลหะหนักทั้ง 5 ชนิด มีเพียงปรอทที่พบความสัมพันธ์ทางบวกกับความยาวของปลารวมทั้งสัตว์ทะเลอื่นด้วย การประเมินความเสียงต่อสุขภาพจากการบริโภคอาหารทะเลในบริเวณนิคมอุตสาหกรรมทั้ง 2 บริเวณ พบว่าการปนเปื้อนโลหะหนักในอาหารทะเลบริเวณดังกล่าวยังไม่มีความเสี่ยงต่อสุขภาพของผู้บริโภค ยกเว้นกลุ่มเด็กที่บริโภคสัตว์ทะเลจำพวก กุ้ง กั้ง ปู และหมึกบางชนิดมากเกินไปอาจได้รับอันตรายจากโลหะทองแดงได้ |
th_TH |
dc.description.sponsorship |
ได้รับทุนอุดหนุนการวิจัยจากงบประมาณแผ่นดิน ประจำปีงบประมาณ 2550-2551 สถาบันวิทยาศาตร์ทางทะเล มหาวิทยาลัยบูรพา |
en |
dc.language.iso |
ภาษาไทย |
th_TH |
dc.publisher |
สถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล มหาวิทยาลัยบูรพา |
th_TH |
dc.subject |
ความปลอดภัยทางด้านอาหาร |
th_TH |
dc.subject |
โลหะหนัก |
th_TH |
dc.subject |
สุขภาพ - - ความเสี่ยง - - วิจัย |
th_TH |
dc.subject |
สาขาวิทยาศาสตร์เคมีและเภสัช |
th_TH |
dc.title |
การประเมินความเสี่ยงต่อสุขภาพของโลหะหนักในอาหารทะเลในพื้นที่อุตสาหกรรมชายฝั่งทะเลภาคตะวันออก |
th_TH |
dc.title.alternative |
Health risk assessment of heavy metals in seafood from industrial area of the eastern coast of Thailand |
en |
dc.type |
งานวิจัย |
|
dc.year |
2552 |
|
dc.description.abstractalternative |
This study investigated the presence of Hg, Pb, Cd, Zn and Cu in the edible tissue of marine animal caught from the coastal aeea of laemchabang industrial estate, Chon Buri Province and Map Ta Phut industrial estate, Rayong Province. A total of 949 sample of 50 species including fishes and shellfish were caught by otter trawling 3 time in May – June 2007 (early rainy season), August – September 2007 (rainy season) and March 2008 (dry season). All samples comprised 580 samples from Laemchabang and 369 sample from Map Ta Phut. Results indicated that the concentration of heavy metals in most of the marine animals were within the acceptable limits for consumption. There were only 15.7 % of total sample from Laemchabang and 14.9 % of total sample from Map Ta Phut having the concentration of heavy metals over acceptable limits. Those heavy metals were Cu, Zn and Cd, respectively, which were found in some shellfish species, There were only 2 samples from Laemchabang having Hg concentration exceeding the acceptable limits. Among 5 analyzed metals, only concentration of Hg was signifacatly positively correlated with the size of some fishes and shellfish species. Results of the assessment of the health risk of consumption of seafood containing heavy metals from both industrial estates suggest that there is no health risk for seafood consumers, except children may pose a health from Cu containing in some shellfish species. |
en |