Abstract:
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการปนเปื้อนของโลหะหนัก 5 ชนิด ได้แก่ ปรอท ตะกั่ว แคดเมียม สังกะสี และทองแดง ในสัตว์ทะเลชนิดต่าง ๆ ที่ได้จากพื้นที่อุตสาหกรรมชายฝั่งทะเลตะวันออก ได้แก่ บริเวณนิคมอุตสาหกรรมแหลมฉบัง จังหวัดชลบุรี และนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุดจังหวัดระยอง เก็บตัวอย่างโดยใช้อวนลากแผ้นตะเฆ่ รวม 3 ครั้งคือ ระหว่างเดือนพฤษาคม-มิถุนายน (ต้นฤดูฝน) ระหว่างเดือนสิงหาคม-กันยายน 2550 (ฤดูฝน) และเดือนมีนาคม 2551 (ฤดูแล้ง) ได้ตัวอย่างรวมทั้งสิ้น 50 ชนิด จำนวน 949 ตัวอย่าง ในจำนวนนี้เป็นตัวอย่างจากนิคมอุตสาหกรรมแหลมฉบัง 580 ตัวอย่าง และนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด 69 ตัวอย่าง ผลการศึกษาพบว่าโลหะหนักในสัตว์ส่วนใหญ่อยู่ในระดับที่ปลอดภัยสำหรับการบริโภค พบโลหะหนักสูงเกินระดับปลอดภัยในบริเวณนิคมอุตสาหกรรมแหลมฉบังคิดเป็นร้อยละ 15.7 และในบริเวณนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด พบในปริมาณใกล้เคียงกัน คือร้อยละ 14.9 ของตัวอย่างทั้งหมดในแต่ละบริเวณโดยโลหะหนักที่ตรวจพบสูงเกินระดับปลอดภัย เรียงตามลำดับ ได้แก่ ทองแดง สังกะสี และแคดเมียม ซึ่งพบใน กุ้ง กั้ง ปู หอย และหมึกบางชนิด สำหรับสารปรอทพบสูงเกินมาตรฐานเพียง 2 ตัวอย่าง ในบริเวณนิคมอุตสาหกรรมแหลมฉบัง ในบรรดาโลหะหนักทั้ง 5 ชนิด มีเพียงปรอทที่พบความสัมพันธ์ทางบวกกับความยาวของปลารวมทั้งสัตว์ทะเลอื่นด้วย การประเมินความเสียงต่อสุขภาพจากการบริโภคอาหารทะเลในบริเวณนิคมอุตสาหกรรมทั้ง 2 บริเวณ พบว่าการปนเปื้อนโลหะหนักในอาหารทะเลบริเวณดังกล่าวยังไม่มีความเสี่ยงต่อสุขภาพของผู้บริโภค ยกเว้นกลุ่มเด็กที่บริโภคสัตว์ทะเลจำพวก กุ้ง กั้ง ปู และหมึกบางชนิดมากเกินไปอาจได้รับอันตรายจากโลหะทองแดงได้