dc.contributor.author |
กัลชนา ศรีพรหม |
|
dc.contributor.author |
นิภาวรรณ สามารถกิจ |
|
dc.contributor.author |
เขมารดี มาสิงบุญ |
|
dc.contributor.other |
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะพยาบาลศาสตร์ |
|
dc.date.accessioned |
2021-06-14T02:03:56Z |
|
dc.date.available |
2021-06-14T02:03:56Z |
|
dc.date.issued |
2563 |
|
dc.identifier.uri |
http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/4123 |
|
dc.description.abstract |
ผู้ป่วยบาดเจ็บทรวงอกที่ใส่ท่อระบายทรวงอกที่มีพฤติกรรมการฟื้นฟูสภาพปอดที่ไม่เหมาะสมจะมีความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อน เช่น ปอดแฟบ ปอดติดเชื้อได้ การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างอาการปวด ความวิตกกังวล และความรู้เกี่ยวกับการฟื้นฟูสภาพปอดกับพฤติกรรมการฟื้นฟูสภาพปอดในผู้ป่วยบาดเจ็บทรวงอกที่ใส่ท่อระบายทรวงอก กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ป่วยบาดเจ็บทรวงอกที่ได้รับการใส่ท่อระบายทรวงอกที่เข้าพักรักษา ณ โรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์ อุบลราชธานี จำนวน 84 ราย เก็บรวบรวมข้อมูลระหว่างเดือนมีนาคม ถึง ธันวาคม 2561 เครื่องมือวิจัยประกอบด้วย แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคล แบบสอบถามอาการปวด แบบสอบถามความวิตกกังวล แบบสอบถามพฤติกรรมการฟื้นฟูสภาพปอด แบบสอบถามความรู้เกี่ยวกับการฟื้นฟูสภาพปอด วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนาและสถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน
ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีคะแนนเฉลี่ยอาการปวดในระดับน้อย (M = 4.72, SD = 1.67) คะแนนเฉลี่ยความวิตกกังวลในระดับต่ำ (M = 7.19, SD = 4.21) คะแนนเฉลี่ยความรู้เกี่ยวกับการฟื้นฟูสภาพปอดในระดับต่ำ (M = 11.00, SD = 4.54) และมีคะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมการฟื้นฟูสภาพปอดในระดับปานกลาง (M = 30.27, SD = 7.59) อาการปวดและความวิตกกังวลมีความสัมพันธ์ทางลบกับพฤติกรรมการฟื้นฟูสภาพปอดในผู้ป่วยบาดเจ็บทรวงอกที่ใส่ท่อระบายทรวงอกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r = -.34, p < .05; r = -.21, p < .01 ตามลำดับ) ส่วนความรู้เกี่ยวกับการฟื้นฟูสภาพปอดไม่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการฟื้นฟูสภาพปอดในผู้ป่วยบาดเจ็บทรวงอกที่ใส่ท่อระบายทรวงอก (r = .06, p >.05) ผลจากการศึกษาครั้งนี้เสนอแนะว่า บุคลากรสุขภาพควรมีการประเมินอาการปวดและความวิตกกังวล และการจัดการอาการปวดและความวิตกกังวลให้มีประสิทธิภาพในระยะเฉียบพลัน เพื่อส่งเสริมให้ผู้ป่วยบาดเจ็บทรวงอกที่ใส่ท่อระบายทรวงอกมีพฤติกรรมการฟื้นฟูสภาพปอดที่มีประสิทธิภาพอย่างต่อเนื่อง |
th_TH |
dc.language.iso |
th |
th_TH |
dc.publisher |
คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา |
th_TH |
dc.subject |
ผู้ป่วย -- การฟื้นฟูสมรรถภาพ |
th_TH |
dc.subject |
ปอด -- โรค -- การรักษา |
th_TH |
dc.subject |
การฟื้นฟูสมรรถภาพ |
th_TH |
dc.subject |
ทรวงอก -- บาดแผลและบาดเจ็บ |
th_TH |
dc.subject |
สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์ |
th_TH |
dc.title |
ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการฟื้นฟูสภาพปอดในผู้ป่วยบาดเจ็บทรวงอกที่ใส่ท่อระบายทรวงอก |
th_TH |
dc.title.alternative |
Factors related to lung rehabilitation behavior in chest trauma patients with intercostal chestdrainage |
en |
dc.type |
Article |
th_TH |
dc.issue |
1 |
th_TH |
dc.volume |
28 |
th_TH |
dc.year |
2563 |
th_TH |
dc.description.abstractalternative |
Chest trauma patients with intercostal chest drainage who have ineffective lung rehabilitation
behavior are at risk for lung atelectasis and infections. This research aimed to examine relationships
among pain, anxiety, knowledge and lung rehabilitation behavior in chest trauma patients with
intercostal chest drainage. Sample were 84 chest trauma patients with intercostal chest drainage from
Sappasitthipasong Ubonratchathani hospital. Data were collected from March to December 2018.
Research instruments included personal information record form, pain questionnaire, anxiety subscale
of hospital anxiety and depression Scale [HADS-A], knowledge about lung rehabilitation and lung
rehabilitation behavior questionnaires. Descriptive statistics and Pearson’s product moment correlation
coefficient were used to analyze data.
The results revealed that samples had low level of pain, anxiety, and knowledge about lung
rehabilitation (M = 4.72, SD = 1.67; M = 7.19, SD = 4.21; M = 11.00, SD = 4.21 respectively), and
moderate level of lung rehabilitation behavior (M = 30.27, SD = 7.59). There was significantly
negatively correlation between pain and anxiety with lung rehabilitation behavior. (r = -.34, p <.01,
r = -.22, p <.05 respectively). There was no association between knowledge of lung rehabilitation
and lung rehabilitation behavior (r = .06, p >.05). The findings suggested that healthcare providers
should assess pain and anxiety and provide effective pain and anxiety management in acute phase
in order to enhance continuity of effective lung rehabilitation behavior in chest trauma patients with
intercostal chest drainage. |
en |
dc.journal |
วารสารคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา |
th_TH |
dc.page |
83-94. |
th_TH |