DSpace Repository

ปัญหาเกี่ยวกับสถานะทางกฎหมายของใบตราส่งต่อเนื่องในฐานะเอกสารสิทธิภายใต้ระบบกฎหมายอังกฤษ

Show simple item record

dc.contributor.author พิมพ์กมล กองโภค
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์
dc.date.accessioned 2021-05-25T08:56:42Z
dc.date.available 2021-05-25T08:56:42Z
dc.date.issued 2563
dc.identifier.uri http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/4095
dc.description.abstract ในปัจจุบันรูปแบบการขนส่งระหว่างประเทศเปลี่ยนแปลงไปจากในอดีต กล่าวคือ การขนส่งรูปแบบเฉพาะอย่างใดอย่างหนึ่งมีบทบาทน้อยลง แต่ในทางกลับกันการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบ ซึ่งบูรณาการรูป แบบการขนส่งที่หลากหลายมารวมเข้าด้วยกันเป็นระบบปฏิบัติการการขนส่งเดียวกลับมีบทบาทมากขึ้นตามลำดับ อันเป็นผลสืบมาเนื่องจากการพัฒนาการขนส่งด้วยตู้คอนเทนเนอร์และเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับระบบปฏิบัติการขนส่งและระบบโครงสร้างพื้นฐาน ถึงแม้ว่าการเติบโตของการขนส่งด้วย ตู้คอนเทนเนอร์และการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบจะเป็นไปอย่างต่อเนื่อง บทบาทที่เพิ่มมากขึ้นดังกล่าวกลับไม่ถูกสะท้อนให้เห็นในบริบทของกฎหมายระหว่างประเทศ กล่าวคือ ยังไม่มีสนธิสัญญาระหว่างประเทศเกี่ยวกับการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบ ฉบับใดที่มีจำนวนประเทศสมาชิกรับรองถึงเกณฑ์ที่จะมีผลบังคับใช้ ส่งผลให้ไม่มีกฎหมายระหว่างประเทศซึ่งสร้างความสอดคล้อง กลมกลืน และบรรทัดฐานในระดับนานาชาติ ผลที่ตามมาอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้คือ ปัญหาความไม่เป็นแบบแผนอันหนึ่งอันเดียวกันของกฎหมายที่ใช้บังคับกับการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบในบริบทของใบตราส่งต่อเนื่อง ในบางประเทศไม่มีกฎหมายเฉพาะใช้บังคับกับการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบอยู่เลยและหนึ่งในนั้นคือ ประเทศอังกฤษ การไม่มีกฎหมายที่ใช้บังคับกับการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบส่งผลให้เกิดปัญหาความไม่แน่นอนทางกฎหมายเกี่ยวกับสถานะของเอกสารดังกล่าว ซึ่งอาจส่งผลเสียในหลากหลายมิติรวมถึงในประเด็นของสถานะเอกสารสิทธิซึ่งมีบทบาทสำคัญในการรับรองสิทธิของผู้รับตราส่งและผู้รับโอนในฐานะผู้ทรงสิทธิที่จะรับมอบสินค้าจากผู้ขนส่ง ณ จุดหมายปลายทางและสิทธิที่จะจำหน่ายจ่ายโอนสินค้าในระหว่างระยะเวลาขนส่ง หากประเด็นปัญหาความ ไม่แน่นอนดังกล่าวยังคงอยู่ ย่อมส่งผลเสียแก่ผู้รับตราส่งและลดคุณค่าใบตราส่งต่อเนื่องลง อีกทั้งในระดับมหภาคย่อมส่งผลกระทบในเชิงลบต่อระบบการค้าระหว่างประเทศที่มีการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบเข้ามาเกี่ยวข้อง บทความนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อวิเคราะห์ความเป็นไปได้ที่ใบตราส่งต่อเนื่องจะได้รับการยืนยันสถานะในระดับเดียวกับใบตราส่งทางทะเลในประเด็นการเป็นเอกสารสิทธิซึ่งให้สิทธิผู้รับตราส่งและผู้รับโอนใบตราส่งภายใต้ระบบกฎหมายอังกฤษ และจากผลการวิเคราะห์ ผู้เขียนมีความเห็นว่าเพื่อรับรองและปกป้องสิทธิของผู้รับตราส่งและผู้รับโอนใบตราส่ง อีกทั้งเมื่อคำนึงถึงวิวัฒนาการของรูปแบบการขนส่งและบทบาทของการใช้การขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบในปัจจุบัน สถานะในแง่ของการเป็นเอกสารสิทธิมีแนวโน้มที่จะได้รับการยอมรับจากศาลอังกฤษในอนาคตอันใกล้ ซึ่งจะเป็นทางออกของปัญหาความไม่แน่นอนของสถานะของใบตราส่งต่อเนื่องซึ่งเป็นอยู่ในปัจจุบัน th_TH
dc.language.iso th th_TH
dc.publisher คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา th_TH
dc.subject ใบตราส่ง th_TH
dc.subject การขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบ th_TH
dc.subject การขนส่งสินค้า th_TH
dc.subject สาขารัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ th_TH
dc.title ปัญหาเกี่ยวกับสถานะทางกฎหมายของใบตราส่งต่อเนื่องในฐานะเอกสารสิทธิภายใต้ระบบกฎหมายอังกฤษ th_TH
dc.title.alternative Problems relating to legal status of multimodal transport documents as documents of title under English Common Law en
dc.type Article th_TH
dc.issue 547-558. th_TH
dc.volume 12 th_TH
dc.year 2563 th_TH
dc.description.abstractalternative The current cross-border transport of goods has been shifted from unimodal carriage of goods to an integrated multimodal transport where two or more modes of transport are involved in one journey under a single contract. This phenomenon is obviously a by-product of containerisation and technological developments in terms of transport operations and relevant infrastructure. Despite the constant growth of containerisation and multimodal transport operations, the peculiar but true fact is that, in terms of regulatory framework, there has been no successful attempt that could achieve global uniformity. Therefore, the fragmented and disharmonious legal framework on multimodal transport both at international level and national level is inevitable. Moreover, there is no specific law regulating multimodal transport in many countries including England. In terms of multimodal transport documents, a lack of international set of rules regulating multimodal transport leads to the situation where the legal status and functions of multimodal transport documents are ambiguous and it can possibly jeopadise the legal value of this type of transport documents in various dimensions including the legal status as document of title which entitles consignees and transferees the right to claim delivery at the destination as well as the right to trade goods in transit. Providing that this legal uncertainty still remains, not only the rights of consignees and transferee is put at risk, at the larger scale, it can negatively affect international trade transaction as a whole. This article aims to analyse the appropriateness and possibility that multimodal transport documents could be considered as documents of title in the same level as maritime bills of lading under English common law. From the discussion in this article, it is found that, in order to provide proportionate protection to all stakeholders involving in multimodal transport contracts and according to the prevalence of multimodal transport, the status as document of title is likely to be granted by the English Court in the near future. en
dc.journal วารสารการเมือง การบริหาร และกฎหมาย. th_TH


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account