DSpace Repository

เศรษฐศาสตร์การเมืองว่าด้วยกระบวนการตกขอบและปฏิกิริยาต่ออำนาจรัฐและทุนของชาติพันธุ์กะเหรี่ยง

Show simple item record

dc.contributor.author ภัทรมน สุวพันธุ์
dc.contributor.author สุธี ประศาสน์เศรษฐ
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์
dc.date.accessioned 2021-05-24T05:34:05Z
dc.date.available 2021-05-24T05:34:05Z
dc.date.issued 2563
dc.identifier.uri http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/4089
dc.description.abstract การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากระบวนการเป็นชายขอบของชาติพันธุ์กะเหรี่ยงในอุทยานแห่งชาติแก่งกระจานและพื้นที่โดยรอบอุทยานฯ และผลกระทบจากการถูกทำให้เป็นชายขอบ ซึ่งเกิดจากอำนาจรัฐ ทุน และวัฒนธรรมสมัยใหม่ รวมทั้งศึกษาปฏิกิริยาต่าง ๆ ของชาติพันธุ์กะเหรี่ยงในพื้นที่อุทยานแห่งชาติแก่งกระจานที่มีต่อการจัดการป่าและที่ดินของรัฐ รวมทั้งศึกษานิเวศวิทยาชาติพันธุ์กะเหรี่ยงในพื้นที่อุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน เพื่อนำไปสู่แนวทางในการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งเรื่องปัญหาการจัดการทรัพยากรป่าและที่ดินในพื้นที่อย่างเป็นรูปธรรม จุดยืนทางญาณวิทยาของผู้วิจัยจึงเป็นจุดยืนของเศรษฐศาสตร์การเมืองแนววิพากษ์ ที่มุ่งสลายมายาคติ และเปลี่ยนแปลงสังคม โดยผู้วิจัยยืนอยู่ข้างเดียวกับผู้ถูกกดขี่ขูดรีด โดยวิธีวิทยาการวิจัย จะเป็นการวิจัยในระดับพื้นที่ เพื่อการต่อต้าน ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพเป็นการศึกษาผ่านมุมมองทางเศรษฐศาสตร์การเมืองเชิงบูรณาการ ผลการศึกษาพบว่ากะเหรี่ยงแก่งกระจานนั้นต้องกลายเป็น “คนตกขอบ” เนื่องจากปัจจัยหลายประการ ไม่ว่าจะเป็นการขยายตัวของรัฐส่วนกลางในการจัดการทรัพยากร ที่ทำให้ไม่สามารถทำไร่หมุนเวียนตามวิถีชีวิตดั้งเดิม และนำมาซึ่งการสูญเสียอัตลักษณ์หลายประการ ไม่ว่าจะเป็นวิถีการดำรงชีวิต รวมทั้งประเพณีต่าง ๆ ที่สูญหายไป ยิ่งกว่านั้นการเข้ามาจัดการทรัพยากรป่าของรัฐ ยังทำให้กะเหรี่ยงแก่งกระจานถูกกระทำด้วยความรุนแรงจากกลไกอำนาจรัฐที่มีลักษณะเป็นการก่อการร้ายโดยรัฐ ไม่ว่าจะเป็นการถูกบังคับอพยพ การเผาบ้านเรือน รวมทั้งการฆาตกรรมแกนนำ นอกจากนี้การรุกคืบของทุนนิยมก็เป็นอีกปัจจัยสำคัญที่ทำให้กะเหรี่ยงแก่งกระจานต้องตกอยู่ในภาวะ “ตกขอบ” เมื่อกะเหรี่ยงซึ่งเคยมีวิถีชีวิตแบบดั้งเดิม ไม่สามารถทำการเกษตรแบบยังชีพได้ ต้องกลายมาเป็นแรงงานรับจ้างนอกพื้นที่ บางส่วนยังได้รับค่าจ้างน้อยว่าค่าแรงขั้นต่ำตามกฎหมาย เนื่องจากบางคนยังไม่มีบัตรประชาชน หรือต้องกลายเป็นแรงงานนอกระบบภายใต้ความช่วยเหลือของมูลนิธิหนึ่งที่เข้ามาส่งเสริมอาชีพให้แก่สตรีกะเหรี่ยง และต้องกลายเป็นชนชั้นแรงงานเสี่ยง (precariat) แม้ว่าจะสร้าง ความมั่นคงด้านเศรษฐกิจให้แก่กะเหรี่ยงที่เข้าไปร่วม แต่สิ่งที่ต้องแลกคือการไม่สามารถสืบสานลายผ้าทอที่เป็นอัตลักษณ์ของตนได้ เนื่องจากต้องทอผ้าตามลวดลายที่ตลาดต้องการ และได้รับค่าจ้างเป็นรายวัน ซึ่งต่ำกว่าค่าจ้างขั้นต่ำตามที่กฎหมายกำหนด ดังนั้นชาวบ้านที่เข้าโครงการส่งเสริมอาชีพก็ต้องใช้เวลาไปกับการทอผ้าตามลายที่ตลาดต้องการ นอกจากนี้การเข้ามาของทุนข้ามชาติที่เข้ามาทำเหมืองหลายประเภทก็ล้วนส่งผลกระทบต่อวิถีชีวิตของกะเหรี่ยงทั้งสิ้น รวมทั้งการเข้ามาทำไม้ของบริษัททำไม้ตามนโยบายสัมปทานป่าของรัฐบาลในอดีต ที่เป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้พื้นที่ป่าในแก่งกระจานสูญเสียไป และทำให้กะเหรี่ยงต้องตกเป็นจำเลยของสังคมว่าเป็นผู้ตัดไม้ทำลายป่า นอกจากนี้การตีตราต่าง ๆ ที่ลดทอนความภาคภูมิใจในอัตลักษณ์ของตน ก็ทำให้กะเหรี่ยงส่วนใหญ่ไม่ต้องการแสดงตัวตน จึงทำให้วัฒนธรรมสมัยใหม่เข้ามากลืนกินวัฒนธรรมและอัตลักษณ์ดั้งเดิมได้โดยง่าย อย่างไรก็ตามเมื่อมีความพยายามรวมตัวกันเป็นองค์กรชาวบ้านในนามเครือข่ายกะเหรี่ยงเพื่อวัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อม ซึ่งมีบทบาทอย่างมากในการรื้อฟื้นความเชื่อ ค่านิยม วิถีชีวิต และอัตลักษณ์ของกะเหรี่ยง รวมทั้งได้รณรงค์ผลักดันเชิงนโยบาย ก็ทำให้ความภาคภูมิใจในวิถีชีวิต ความเชื่อ ค่านิยม รวมทั้งอัตลักษณ์ของกะเหรี่ยงค่อย ๆ ถูกรื้อฟื้นขึ้นมาในที่สุด th_TH
dc.language.iso th th_TH
dc.publisher คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา th_TH
dc.subject เศรษฐศาสตร์การเมือง th_TH
dc.subject กะเหรี่ยง th_TH
dc.subject คนชายขอบ th_TH
dc.subject ชายขอบทางสังคม th_TH
dc.subject การจัดการป่าไม้ th_TH
dc.subject สาขาเศรษฐศาสตร์ th_TH
dc.title เศรษฐศาสตร์การเมืองว่าด้วยกระบวนการตกขอบและปฏิกิริยาต่ออำนาจรัฐและทุนของชาติพันธุ์กะเหรี่ยง th_TH
dc.title.alternative Political economy of super-marginalization of Karen ethnicity and their reactions to state power and capitalist penetration en
dc.type Article th_TH
dc.issue 2 th_TH
dc.volume 8 th_TH
dc.year 2563 th_TH
dc.description.abstractalternative This article aims to study marginalization of Karen ethnicity in Kaengkrachan National Park. The purposes of this qualitative research are to study the political economy of marginalization of Karen Ethnicity and effects of being marginalized, which resulted from the state power, capitalist penetration and modern culture, to study reactions of Karen Ethnicity in Kaengkrachan National Park toward forest and land management and to study Ethnic ecology of Karen in Kaengkrachan National Park and in the area around it, in order to find solutions to conflicts in forest and land management. Epistemology standpoint of the researcher is the standpoint of critical political economy which aims to refute the myth for social change. Research methodology is the area-based research for resistance, the researcher stands with the oppressed who have been affected from physical and ideological violence from state power and capitalist by using qualitative research via transdisciplinary political economy. The study shows that Karen in Kaengkhachan is not only marginalized but indeed super-marginalized from many factors, for example, the expansion of the state in resource management which leads to the loss of traditional ways of life i.e., Karen cannot conduct shifting cultivation resulting in the loss of many identities and traditions. In addition to this the resource management of the state leads to severe Human Rights violations toward Karen in Kaengkrachan area including forced evacuation and demolition, intentional community burning and even murder of the leaders of the Karen movement. These are Repressive State Apparatus which have severely affects the Karen. Moreover, the capitalist penetration is one of the main factors which made Karen in Kaengkrachan being super-marginalized. When Karen cannot maintain their traditional ways of live, cannot conduct shifting cultivation which used to be their subsistence economy, they become workers outside their communities or become informal workers under support of a foundation which has a career promotion project, even though such project can partly secure the earning of female Karen but what they have to pay is that they cannot inherit their style of their garment because they have to weave clothes according to the style that market demands. This is marginalization in the direction of inclusion. In addition to this the penetration of world capitalists for mining affect the lives of Karen. Moreover, logging of some companies in accordance with the forest concession policy of the government, which is the main reason of the loss of forest area in Kaengkrachan, which leads to the stigmatization of Karen of deforestation. Such stigmatization and other stigmatization diminish their self-esteem lead them not to show up their identity, so that new culture can assimilate traditional culture easily. However, they have tried to establish a people organization called the Network of Karen for Culture and Environment, who has played a vital role in resurrection of their believes, values, ways of life and identities of Karen and driving public policies to protect their identities, so the proud of believes, values, ways of life and identities gradually resurrect. en
dc.journal วารสารเศรษฐศาสตร์การเมืองบูรพา th_TH
dc.page 48-78. th_TH


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account