DSpace Repository

การทบทวนและปรับยุทธศาสตร์การพัฒนาของโครงการพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งทะเลตะวันออกสู่การเป็นประเทศอาเซียนในจังหวัดฉะเชิงเทรา: กรณีการจัดการขยะของเสียอันตรายจากโรงงานอุตสาหกรรม

Show simple item record

dc.contributor.author เมทินา อิสริยานนท์
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์
dc.date.accessioned 2021-04-26T06:09:43Z
dc.date.available 2021-04-26T06:09:43Z
dc.date.issued 2560
dc.identifier.uri http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/4050
dc.description โครงการวิจัยประเภทงบประมาณเงินรายได้จากเงินอุดหนุนรัฐบาล (งบประมาณแผ่นดิน) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2560 th_TH
dc.description.abstract การศึกษาวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์เพื่อทบทวนปัญหาการจัดตั้งโรงงานการจัดของเสียอันตรายในภาคตะวันออกที่ผ่านมา และศึกษาการขยายตัวของปัญหาขยะของเสียอันตรายจากโรงงานอุตสาหกรรมในจังหวัดฉะเชิงเทรา รวมทั้งนำเสนอมาตรการในการจัดการขยะของเสียอันตรายจากโรงงานอุตสาหกรรมในจังหวัดฉะเชิงเทรา โดยใช้วิธีวิทยาการศึกษาประวัติศาสตร์เชิงโครงสร้างอยู่ภายใต้ฐานคิดที่สาคัญ 2 ประการ คือ การศึกษาสังคมโดยอาศัยหลักวิภาษวิธีและการศึกษาสังคมแนวสหวิทยาการแบบข้ามพ้นสาขาวิชา ผลการศึกษาพบว่า ปัญหาการลักลอบทิ้งกากอุตสาหกรรมมีความรุนแรงมากเป็นพิเศษในพื้นที่จังหวัดภาคตะวันออก ซึ่งมีโรงงานอุตสาหกรรมหนาแน่น มีการลักลอบทิ้งกากอุตสาหกรรมในพื้นที่ภาคตะวันออกและจังหวัดใกล้เคียงกว่า 40 แห่ง หลายพื้นที่กลายเป็นที่รองรับขยะอุตสาหกรรม ซึ่งส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและคุณภาพชีวิตของชุมชนโดยรอบ เฉพาะในเขตจังหวัดฉะเชิงเทรา มีพื้นที่ซึ่งพบการลักลอบนำกากอุตสาหกรรมจากนิคมอุตสาหกรรมและโรงงานอุตสาหกรรมในจังหวัดชลบุรี มาลักลอบทิ้งอย่างน้อย 11 จุด ในเขตอำเภอพนมสารคาม และอำเภอแปลงยาว ทำให้ชุมชนที่ได้รับความเดือดร้อนต้องรวมตัวกันประท้วงโรงงานรับบำบัดและกำจัดของเสียในพื้นที่ จนนำไปสู่การลักลอบสังหารแกนนำชุมชนที่ตำบลหนองแหน การขยายตัวของปัญหาขยะของเสียอันตรายจากโรงงานอุตสาหกรรมในช่วง พ.ศ. 2558 2560 ที่ผ่านมา พบว่า รัฐบาลมีเป้าหมายในการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ โดยส่งเสริมการลงทุนในพื้นที่และอุตสาหกรรมเป้าหมายตามนโยบายของรัฐบาล เป็นผลให้รัฐบาลได้ออกคำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติออกประกาศต่าง ๆ เพื่อเป็นการยกเว้นกฎหมายที่เป็นข้อขัดข้องหรืออุปสรรคจากข้อกำหนดทางกฎหมาย เช่น มีคาสั่งให้ยกเว้นการใช้บังคับกฎกระทรวงให้ใช้บังคับผังเมืองรวมตามกฎหมายว่าด้วยการผังเมือง เป็นต้น ปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นยังมีปัญหาการกำกับดูแลไม่ให้โรงงานก่อมลพิษจนเป็นเหตุให้เกิดความเดือดร้อนและผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพต่อประชาชนที่อาศัยอยู่ในบริเวณพื้นที่รอบและใกล้เคียงกับโรงงาน ซึ่งจากการศึกษามีข้อเสนอมาตรการในการจัดการขยะของสียอันตรายจากโรงงานอุตสาหกรรมในจังหวัดฉะเชิงเทรา 3 ประการ คือ (1) กาหนดให้นิคมอุตสาหกรรมแต่ละนิคมมีศูนย์รับบำบัดและกำจัดของเสียอุตสาหกรรมประจำนิคมอุตสาหกรรม เพื่อเป็นการแก้ไขปัญหาการขนย้ายกากของเสียอุตสาหกรรมออกนอกพื้นที่ (2) จัดการปัญหาการทิ้งขยะอุตสาหกรรมปนกับขยะชุมชน เพื่อหลีกเลี่ยงการขนย้ายขยะอุตสาหกรรมมาทิ้งปะปนกับขยะชุมชน และ (3) สนับสนุนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการใช้พระราชบัญญัติการสาธารณสุขฯ ในการกำกับดูแลบ่อขยะชุมชนและการประกอบกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ ทั้งในส่วนที่เป็นกิจการโรงงานและร้านรับซื้อของเก่า th_TH
dc.description.sponsorship สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ th_TH
dc.language.iso th th_TH
dc.publisher คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา th_TH
dc.subject ขยะ - - การจัดการ - - ฉะเชิงเทรา th_TH
dc.subject อุตสาหกรรมการเกษตรและเทคโนโลยีชีวภาพ th_TH
dc.subject เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) th_TH
dc.subject สาขาสังคมวิทยา th_TH
dc.title การทบทวนและปรับยุทธศาสตร์การพัฒนาของโครงการพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งทะเลตะวันออกสู่การเป็นประเทศอาเซียนในจังหวัดฉะเชิงเทรา: กรณีการจัดการขยะของเสียอันตรายจากโรงงานอุตสาหกรรม th_TH
dc.type Research th_TH
dc.author.email methina_p@hotmail.com th_TH
dc.year 2560 th_TH
dc.description.abstractalternative This qualitative research has an objective to review some problems on the formation of hazardous waste management factory in the Eastern Region. The extension of hazardous waste management in industrial factory in Chachoengsao province is provided based on historically constructive studies: social study with dialectic theory and inter-disciplinary beyond specific subject. This study has found that it is extremely severe of toxic dumping approximately 40 places in the Eastern Region and surrounding areas which condensed of industrial factories. Some areas are served as industrial toxic waste. These specific locations are surrounded by local communities and have direct consequence on environmental problem, particularly Chachoengsao. It has also found that there are 11 times of Chonburi industrial factories left industrial toxic waste in Panomsarakam and Plangyao district. The citizens in these areas make protest to the treatment plant and waste disposal factory. This situation leads to the assassination of Nonghae sub-district leader. From 2016 to 2018, there was a high number of industrial toxic waste problem. The government has a target to increase a competitive level by promoting investment area and set a specific target based on governmental policy. Thus, the government releases its National Council for Peace and Order (NCPO)’s commands in order to exempt from some obstacles and legal restrictions, for example, an order for exempting the Ministerial Order on Town Planning Act. Other problems include good corporate governance for decreasing pollutions which have direct effects on the peoples residing nearby factory in environment and health problems. From this research, there are three further suggestions. 1) Each industrial estate should have at least one treatment plant and waste disposal factory in order to solve toxic dumping in external areas. 2) It is necessary to resolve the problem of mixing industrial and community waste in order to avoid combining industrial toxic dumping with other community wastes. 3) It is essential to support the local administrative organization to implement Public Health Act in order to generate community landfills and other affairs related to dangerous health, both in factory and recycling store, in order to decrease any disturbance and annoyance to local people from doing business. th_TH


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account