Abstract:
สาหร่าย 4 ชนิด ที่แยกได้จากบริเวณบ่อเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำและแหล่งน้ำเค็มธรรมชาติที่ตั้งอยู่ในจังหวัดจันทบุรี คือ Nitzschia sp. สายพันธุ์ BUUC1501 Amphora subtropicsa BUUC1502 Chlorella protothecoides BUUC1602 และ Amphora coffereformis นามาเพาะเลี้ยงภายใต้สภาวะออโตโทรฟิค มิกโซโทรฟิคและเฮเทอโรโทรฟิค พบว่าสาหร่าย Nitzschia sp. สายพันธุ์ BUUC1501, Amphora subtropicsa BUUC1502, Chlorella protothecoides BUUC1602 และ Amphora coffereformis เติบโตได้ดีในสภาวะออโตโทรฟิคและมิกโซโทรฟิค ส่วนในสภาวะเฮเทอโรโทรฟิคพบว่าเซลล์เติบโตได้ต่ำ เมื่อเพาะเลี้ยงสาหร่าย Nitzschia sp. สายพันธุ์ BUUC1501, A. subtropicsa BUUC1502, C. protothecoides BUUC1602 และ A. coffereformis ในขวด 2 ลิตร พบว่าเซลล์ที่เพาะเลี้ยงในสภาวะออโตโทรฟิคมีชนิดกรดไขมันไม่อิ่มตัวมากกว่าเซลล์ที่เลี้ยงในสภาวะมิกโซโทรฟิค นอกจากนี้ยังพบว่าสาหร่ายมีกรดไขมัน C16:0 และ C18:1 เป็นชนิดเด่นทั้ง 2 สภาวะการเลี้ยงในการเพาะเลี้ยงแบบต่อเนื่องพบว่าสาหร่าย Nitzschia sp. สายพันธุ์ BUUC1501, A. subtropicsa BUUC1502, C. protothecoides BUUC1602 และ A. coffereformis ต้องใช้อัตราการเจือจางที่ให้ผลผลิตสูงสุด คือ 1.28, 1.12, 0.73 และ 1.27 ต่อวัน ตามลำดับ การขยายขนาดการเพาะเลี้ยงสาหร่ายในถังปฏิกรณ์ชีวภาพขนาด 50 ลิตร ในสภาวะออโตโทรฟิคภายนอกห้องปฏิบัติการ พบว่าสาหร่าย C. protothecoides ให้ความหนาแน่นเซลล์สูงสุดได้สูงถึง 1013 x 104 เซลล์ต่อมิลลิลิตร และมีกรดไขมันไม่อิ่มตัวเชิงเดี่ยวและเชิงซ้อนสูงถึง 23.21 และ 35.21 เปอร์เซ็นในกรดไขมันทั้งหมด ตามลำดับ