Abstract:
การกระตุ้นและชะลอการสุกของทุเรียนพันธุ์หมอนทองโดยการไม่ใช้และใช้เอทิฟอนความเข้มข้น 48% ป้ายที่ขั้วผล และการรมผลทุเรียนด้วย 1-MCP (1-methylcyclopropene) ภายหลังการเก็บเกี่ยวแล้วนำไปเก็บรักษาที่อุณหภูมิ 25 OC ทำการบันทึกความแข็งของเนื้อ อัตราการผลิตเอทิลีน การแตกของผล ทำการจำแนกและศึกษาคุณสมบัติของยีน cell wall hyhrolases ผลการทดลองพบว่า ผลทุเรียนของชุดควบคุมมีความแน่นเนื้อของผลทุเรียนลดลงอย่างรวดเร็วภายในระยะเวลา 5 วัน การลดลงของความแน่นเนื้อเกิดขึ้นได้โดยการให้เอทิลีน ในขณะที่สารยับยั้งการทำงานเอทิลีน 1-MCP ชะลอการอ่อนนุ่มของเนื้อ การโคลนยีน expansin ในเนื้อผลทุเรียนสามารถโคลนยีน alpha expansin ได้ 3 ยีน ได้แก่ DzEXP1, DzEZP2 และ DzEXP3 การแสดงออกของยีน DzEXP1 และ DzEXP2 เพิ่มสูงขึ้นชัดเจนระหว่างการอ่อนนุ่มของเนื้อผล ผลการให้เอทิลีนและสารยับยั้งการทำงาน 1-MCP แสดงให้เห็นว่า DzEXP1 และ DzEXP2 เกี่ยวกับการอ่อนนุ่มของเนื้อทุเรียน ในการจำแนกยีน cell wall-degrading enzymes พบว่า สามารถโคลนยีนได้ 5 ยีน ได้แก่ DzPME (pectin methylesterase), DzPL (pectate lyase), DzPG (polygalacturonase), DzGAL (β-galactosidase ) และ DzEG (endo-β-1,4-glucanase) ในเนื้อผล ระดับการแสดงออกของยีน DzPG ในเนื้อผลเพิ่มสูงขึ้นและการให้เอทีฟอนชักนำให้มีการแสดงออกมากขึ้น การใช้สาร 1-MCP สามารถยับยั้งการแสดงออกของยีน DzPG อย่างไรก็ตามลักษณะการแสดงออกของยีน DzPL เหมือนกับการแสดงออกของ DzPG การแสดงออกของยีน DzPG สอดคล้องกับการลดลงของความแน่นเนื้อเนื้อผลทุเรียนอย่างเด่นชัด ผลการทดลองแสดงให้เห็นว่ายีน DzPG มีบทบาทสำคัญในการอ่อนนุ่มของเนื้อผลทุเรียน