Abstract:
งานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ หนึ่ง เพื่อทบทวนยุทธศาสตร์ของการพัฒนาอุตสาหกรรมในพื้นที่แหลมฉบัง สอง เพื่อวิเคราะห์ผลกระทบจากการพัฒนาอุตสาหกรรมในพื้นที่แหลมฉบัง และสามเพื่อเสนอแนวทางและมาตรการเชิงนโยบายการพัฒนาอุตสาหกรรมในพื้นที่แหลมฉบัง ผลการศึกษาตามวัตถุประสงค์มีดังนี้ ผลการศึกษาตามวัตถุประสงค์ข้อที่ 1 พบว่า ยุทธศาสตร์ของการพัฒนาอุตสาหกรรมในพื้นที่แหลมฉบัง พบว่าการพัฒนาอุตสาหกรรมในพื้นที่แหลมฉบังนั้นมีพัฒนาการมาทั้งหมด 4 ระยะด้วยกันคือ ยุคแหลมฉบังในก่อนอุตสาหกรรมเน้นการทำเกษตรและประมงเป็นหลัก ยุคที่สองคือยุคของอุตสาหกรรมยุคต้น (พ.ศ. 2490– พ.ศ. 2520) เป็นยุคที่เริ่มมีการผลิตในลักษณะของอุตสาหกรรมการค้าจากสินค้าเกษตร ยุคเริ่มต้นของการเป็นเมืองอุตสาหกรรมจากการเข้ามาของกลุ่มอุตสาหกรรมปิโตเลี่ยม ยุคที่ 3 แหลมฉบังในยุคแห่งการเปลี่ยนแปลงเป็นเมืองอุตสาหกรรม (พ.ศ. 2520 – 2535) เป็นยุคแห่งการขยายตัวเข้ามาของอุตสาหกรรมต่างในพื้นที่ อันได้แก่ ท่าเรือเอกชน การเข้ามาของท่าเรือน้าลึกแหลมฉบังและนิคมแหลมฉบัง มีผลให้แหลมฉบังเริ่มมีการขยายตัวของความเป็นเมืองอุตสาหกรรม และยุคที่สี่คือยุคของการการเป็นเมืองอุตสาหกรรม (พ.ศ. 2535 – ปัจจุบัน) ผลการศึกษาตามวัตถุประสงค์ข้อที่สองพบว่าผลของการพัฒนาในพื้นที่แหลมฉบังนั้นมีผลทางด้านเศรษฐกิจ ได้แก่ การล่มสลายของอาชีพเกษตรกรรม การปิดล้อมของอุตสาหกรรม ผลทางด้านสังคมได้แก่ การผูกขาดของระบบการเลือกตั้งประชาธิปไตยแบบตัวแทน การแตกตัวทางสังคม ผลทางด้านสิ่งแวดล้อมได้แก่ ที่ได้รับจากการพัฒนาของอุตสาหกรรมในพื้นที่แหลมฉบัง ได้แก่ การเกิดปัญหามลพิษ ทั้งทางอากาศและทางทะเล การเสื่อมโทรมของทรัพยากรธรรมชาติที่มีผลมาจากการพัฒนาด้านสิ่งแวดล้อม ผลการศึกษาตามวัตถุประสงค์ข้อที่ 3 พบว่าแนวทางในการควรที่พัฒนาทรัพยากรบุคลในการที่สร้างให้เป็นผู้มีความรู้และสามารถที่จะทำงานนั้น ควบคู่กันไปด้วย ให้ความสำคัญของการกระจายรายได้ควบคู่กับความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ การปรับแนวทางการชดเชยจากผู้ได้รับผลกระทบจากอุตสาหกรรม ข้อเสนอในการจัดการผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม มีข้อเสนอดังนี้ ด้านกระบวนทัศน์ของการพัฒนานั้นควรมีการปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์ใหม่บนฐานของการพัฒนาที่ยั่งยืนและใส่ใจสิ่งแวดล้อม โดยปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมที่จะต้องดาเนินการร่วมกันหากมีการขยายตัวของนโยบายพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก การจัดการขยะมูลฝอย ระบบบาบัดน้าเสีย มลพิษทางอากาศ ข้อเสนอต่อการกาหนดนโยบายสาธารณะ ในการพัฒนาอุตสาหกรรมควรมีการกระจายอำนาจในการกำหนดนโยบายสาธารณะให้กับประชาชน ข้อเสนอต่อการกระจายรายได้ลงสู่ประชาชนฐานรากและการสร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจให้กับประชาชนในท้องถิ่น อันได้แก่ การปรับปรุงท่าเรือให้เป็นสถานที่ท่องเที่ยว การส่งเสริมการท่องเที่ยวชุมชนโดยอาศัยต้นทุนทางวัฒนธรรม ทรัพยากรธรรมชาติ ที่มีอยู่ในชุมชน การบูรณาการระหว่างหน่วยงานราชการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการการพัฒนาอุตสาหกรรมในเรื่องของการจัดการปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม ทั้งในด้านสาธารณสุข ด้านเศรษฐกิจ ด้านสิ่งแวดล้อม เป็นต้น