DSpace Repository

การประมาณความถี่ธรรมชาติของโครงสร้างสะพานจากสัญญาณความเร่งของยานพาหนะ

Show simple item record

dc.contributor.author พัทรพงษ์ อาสนจินดา
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิศวกรรมศาสตร์
dc.date.accessioned 2021-01-05T03:10:32Z
dc.date.available 2021-01-05T03:10:32Z
dc.date.issued 2561
dc.identifier.uri http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/4002
dc.description โครงการวิจัยประเภทงบประมาณเงินรายได้จากเงินอุดหนุนรัฐบาล (งบประมาณแผ่นดิน) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2558 th_TH
dc.description.abstract งานวิจัยนี้ทำการศึกษาการหาความถี่ธรรมชาติของสะพานจากผลตอบสนองทางพลศาสตร์ของยานพาหนะเมื่อเคลื่อนที่ผ่านสะพาน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาวิธีการเพิ่มประสิทธิภาพการระบุความถี่ธรรมชาติของสะพานด้วยวิธีการทดสอบทางอ้อม และพิจารณารูปแบบการสัญจรที่เหมาะสมในการประยุกต์ การระบุความถี่ของสะพานทำได้ด้วยการวิเคราะห์สัญญาณในโดเมนความถี่ด้วยวิธีการแปลงฟูเรียร์แบบเร็ว และใช้วิธีการแยกรูปแบบสัญญาณเชิงสังเกตในการจำแนกความถี่ยานพาหนะและความถี่สะพานจากการคัดแยกความถี่ที่ไม่พึงประสงค์ออกจากสัญญาณตรวจวัด ด้วยเหตุนี้ค่าความถี่ธรรมชาติของสะพานจึงสามารถระบุได้ โดยได้จากความชัดเจนของความถี่ในช่วงที่เป็นไปได้ งานวิจัยได้ทำ การศึกษาด้วยการทดสอบในห้องปฏิบัติการโดยใช้แบบจำลองย่อส่วน เพื่อพิจารณาถึงผลกระทบ ของปัจจัยต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องได้แก่ ความเร็วในการสัญจร มวลของยานพาหนะ ความถี่ธรรมชาติของยานพาหนะ และการสัญจรในช่องจราจรที่แตกต่างกัน รวมถึงพิจารณาคุณลักษณะของยานพาหนะที่เหมาะสมในการทดสอบ จากผลการศึกษา พบว่าวิธีที่นำเสนอสามารถช่วยวิเคราะห์หาความถี่ธรรมชาติของสะพานได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยพบว่าค่าความถี่ที่วิเคราะห์ได้เป็นความถี่ที่มีค่าสอดคล้องกันกับพฤติกรรมการสั่นไหวของสะพานที่ได้จากการวัดที่โครงสร้างสะพานโดยตรง ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานของการทดสอบทางอ้อมที่สามารถทำการตรวจวัดที่ยานพาหนะแทนการตรวจวัดที่สะพานโดยตรงได้ จากผลการศึกษาพบว่าที่ระดับความเชื่อมั่น 94.44% พบว่ามีความคลาดเคลื่อนของการระบุความถี่ธรรมชาติ ของสะพานจากการใช้ยานพาหนะต่อพ่วงและยานพาหนะที่ปราศจากส่วนต่อพ่วงเท่ากับ 11.57% และ 7.36% ตามลำดับ ซึ่งแสดงให้เห็นถึงการใช้ยานพาหนะที่ปราศจากส่วนต่อพ่วงในการตรวจวัดให้ผลที่ดีกว่ากรณีที่ใช้ยานพาหนะต่อพ่วง ทั้งนี้ความเร็วในการสัญจรที่เหมาะสมต่อการทดสอบในทุกช่องจราจรโดยไม่ส่งผลต่อระดับความคลาดเคลื่อนได้แนะนำที่ความเร็วประมาณ 50 กิโลเมตรต่อชั่วโมง th_TH
dc.description.sponsorship สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ th_TH
dc.language.iso th th_TH
dc.publisher คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา th_TH
dc.subject สะพาน -- ฐานรากและตอม่อ th_TH
dc.subject สะพาน th_TH
dc.subject สาขาวิศวกรรมศาสตร์และอุตสาหกรรมวิจัย th_TH
dc.title การประมาณความถี่ธรรมชาติของโครงสร้างสะพานจากสัญญาณความเร่งของยานพาหนะ th_TH
dc.title.alternative Estimation of Bridge Fundamental Frequency from Vehicle Acceleration Response en
dc.type Research th_TH
dc.author.email pattarapong@buu.ac.th th_TH
dc.year 2561 th_TH
dc.description.abstractalternative This research studied the determination of bridge natural frequency from acceleration response of the passing vehicle. The objectives were to develop the approach of efficiency improvement of bridge natural frequency identification by indirect testing method, and to consider appropriate patterns of vehicle travel for application. The bridge frequency could be identified by Fast Fourier Transformation. Moreover, the Empirical Mode Decomposition technique was applied to specify the vehicle and bridge frequencies by extraction unwanted frequencies from the measured signal. Consequently, the bridge natural frequency was identified in accordance with possibility range of frequencies. The research was experimentally studied in the laboratory using Scale-down Model. Various effects of related parameters such as moving speed, vehicle mass, vehicle fundamental frequency, travel path as well as the appropriate vehicle characteristic were considered. Regarding to the result of this study, it was found that the proposed method effectively improves bridge natural frequency identification. It was revealed that analyzed bridge frequency is consistent directly with bridge vibration by observation at the bridge structure. Consequently, it could be confirmed as the hypothesis of the indirect test which said that the measurement can be done at the vehicle instead. According to the experimental result, it was observed that at the 94.44% confidence level, the errors of bridge natural frequency identification by using a tractor-trailer and vehicle without cart are 11.57% and 7.36%, respectively. It could be concluded that using vehicle without cart was better than tractor-trailer. Finally, the appropriate moving speed for testing in any traffic lanes without affecting to the error was recommended at 50 km/hr approximately. en


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account