dc.contributor.author |
จรัญ ศรีชัย |
|
dc.contributor.other |
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิศวกรรมศาสตร์ |
|
dc.date.accessioned |
2020-12-19T02:46:49Z |
|
dc.date.available |
2020-12-19T02:46:49Z |
|
dc.date.issued |
2563 |
|
dc.identifier.uri |
http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/3985 |
|
dc.description |
งานวิจัยนี้ได้รับทุนสนับสนุนการวิจัยจากงบประมาณเงินรายได้ (เงินอุดหนุนรัฐบาล) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2561 |
th_TH |
dc.description.abstract |
โครงการวิจัยนี้ทำการศึกษาพฤติกรรมการต้านทานแรงด้านข้างของผนังอิฐก่อ เพื่อพัฒนาวิธีการเสริมกำลังจุดต่อระหว่างผนังและโครงต้านแรงดัดคอนกรีตเสริมเหล็กที่มีประสิทธิภาพในการต้านทานแผ่นดินไหวและสามารถลดความเสียหายของโครงสร้าง โดยการทดสอบชิ้นส่วนโครงสร้างผนังอิฐก่อภายใต้แรงด้านข้างแบบวัฏจักรร่วมกับการวิเคราะห์โดยใช้แบบจำลองไฟไนต์เอลิเมนต์ จากผลการศึกษาวิจัยพบว่าประสิทธิภาพในการส่งถ่ายแรงของจุดต่อระหว่างผนังอิฐและคานคอนกรีตเสริมเหล็กมีผลกระทบอย่างมากต่อการต้านทานแรงและรูปแบบความเสียหายที่เกิดขึ้นในผนัง จุดต่อที่มีประสิทธิภาพจะต้องมีสมรรถนะในการส่งถ่ายแรงได้ดีและยอมให้ผนังเกิดการเลื่อนไถลได้ในระดับที่เหมาะสม การใช้เดือยเหล็กรับแรงเฉือน (steel shear dowels) ร่วมกับคานทับหลังที่มีการเสริมเหล็ก (reinforced tie beams) เชื่อมต่อระหว่างผนังอิฐก่อและคานของโครงต้านแรงดัด สามารถส่งถ่ายแรงจากคานไปยังผนังอิฐก่อในระดับที่เหมาะสม เมื่อแรงที่ส่งถ่ายผ่านจุดต่อถึงขีดจำกัดในการต้านทานแรง ผนังอิฐก่อสามารถเลื่อนไถลได้ซึ่งช่วยลดความเสียหายที่จะเกิดขึ้นอีกทั้งช่วยลดการเอียงตัวออกนอกระนาบของผนัง จากการศึกษาสมรรถนะในการต้านทานแรงด้านข้างของโครงต้านแรงดัดคอนกรีตเสริมเหล็กที่มีผนังอิฐก่อ (masonry infilled reinforced concrete frames) โดยใช้แบบจำลองไฟไนต์เอลิเมนต์ พบว่าผนังอิฐก่อส่งผลให้ค่าสติฟเนสและกำลังต้านทานแรงด้านข้างสูงสุดของโครงสร้างสูงขึ้นเมื่อเทียบกับโครงต้านแรงดัดที่ไม่มีผนัง (reinforced concrete bare frames) อย่างไรก็ตามเมื่อผนังเกิดความเสียหาย กำลังต้านทานโดยรวมของโครงสร้างลดลงอย่างทันทีทันใด และแรงปฏิสัมพันธ์จากผนังอิฐจะก่อให้เกิดความเสียหายเนื่องจากแรงเฉือนขึ้นในเสา การปรับปรุงจุดต่อระหว่างโครงต้านแรงดัดคอนกรีตเสริมเหล็กและผนังอิฐก่อ โดยการแยกผนังไม่ให้ติดกับเสาและใช้เดือยเหล็กรับแรงเฉือนร่วมกับคานทับหลังที่มีการเสริมเหล็กเป็นตัวเชื่อมต่อระหว่างผนังอิฐก่อและคาน สามารถเพิ่มสติฟเนสและกำลังต้านทานแรงด้านข้างโดยรวมของโครงสร้างได้อย่างมีนัย เมื่อเทียบกับโครงต้านแรงดัดที่ไม่มีผนัง ที่สำคัญวิธีการนี้สามารถป้องกันการวิบัติด้วยแรงเฉือนของเสาเนื่องจากแรงปฏิสัมพันธ์จากผนังอิฐก่อและลดความเสียหายของผนังอิฐก่อได้อีกด้วย |
th_TH |
dc.description.sponsorship |
สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ |
th_TH |
dc.language.iso |
th |
th_TH |
dc.publisher |
คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา |
th_TH |
dc.subject |
อิฐ |
th_TH |
dc.subject |
อิฐก่อ |
th_TH |
dc.subject |
กำลังอัด |
th_TH |
dc.subject |
สาขาวิศวกรรมศาสตร์และอุตสาหกรรมวิจัย |
th_TH |
dc.title |
โครงการผลกระทบของจุดต่อระหว่างผนังและโครงต้านแรงดัดคอนกรีตเสริมเหล็กต่อพฤติกรรมของผนังอิฐก่อภายใต้แรงด้านข้างในระนาบ |
th_TH |
dc.title.alternative |
An Effects of Wall-RC Frame Interconnection on Masonry Infilled Wall Behavior Under In-plane Lateral Loading |
en |
dc.type |
Research |
th_TH |
dc.author.email |
srechai@eng.buu.ac.th |
th_TH |
dc.year |
2563 |
th_TH |
dc.description.abstractalternative |
This research aims to evaluate the behavior of masonry wall under lateral in-plane loading. In order to develop an efficient beam-to-wall connection strengthening method. To enhance the lateral load resistant performance and reduce structural damage of seismic resistant structures. The masonry wall structural assemblages were tested under in-plane horizontal cyclic load. Finite element analysis was also carried out to evaluate the structural behavior of test specimens and masonry infilled RC frames. Based on the results, the load transfer capability of the beam-to-wall connection provided a significant effect on horizontal load resistance and damage pattern of the wall. The efficient connection must have adequate load transfer capability and allows a slight slip between the wall and frame to occur. The combined steel shear dowels and reinforced tie beam as the beam-to-wall connection showed a suitable load transfer capability. Once the transferred load exceeds a certain threshold, a slight slip can occur between the wall and beams. Consequently, the both wall’s damages and out-of-plane deformation were reduced. Based on finite element analysis of masonry infilled reinforced concrete frames, the infill wall can increase the overall lateral frame strength and stiffness, compared with a reinforced concrete bare frame. However, once the wall was damaged, the lateral load suddenly dropped. Subsequently, the interaction between the infill wall and the frame induce undesirable shear failure in the column. After a proposed retrofit scheme including the gaps between wall and column as well as the combined steel shear dowels and reinforced tie beam were utilized, the lateral strength and stiffness of the specimen increased, compared with the bare frame. Moreover, the column shear failure due to the interaction between the infill wall and the frame was prevented. The infill wall’s damage was also reduced. |
en |