Abstract:
งานศึกษานี้เป็นการศึกษาถึงพฤติกรรมของจุดต่อคานเสาของโครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็กของอาคารที่มีอัตราส่วนของกำลังรับโมเมนต์ดัดของเสาต่อคานที่เท่ากับ 2.24 จำนวน 2 ตัวอย่าง โดยตัวอย่าง RCBC-5 มีการเสริมเหล็กตามมาตรฐาน ว.ส.ท.1008-38 เพื่อรับแรงในแนวดิ่งเท่านั้น และ
ตัวอย่าง RCBC-6 มีการเสริมเหล็กตามมาตรฐานของ มยพ.1301-54 ตัวอย่างชิ้นงานก่อสร้างและทดสอบภายในห้องปฏิบัติการภาควิชาวิศวกรรมโยธา มหาวิทยาลัยบูรพา ผลจากการทดสอบนั้นสามารถสรุปผลได้ดังนี้
1) ตัวอย่างทั้ง 2 (BC-5 และBC-6) สามารถรับแรงสูงสุดได้เท่ากัน อย่างไรก็พฤติกรรมตามหลังการรับแรงสูงสุด พบว่า BC-6 ที่มีรายละอียดการเสริมเหล็กตามมาตรฐานของ มยพ.1301-54 มีการสูญเสียกำลังรับแรงช้ากว่า BC-5 ซึ่งมีรายละอียดการเสริมเหล็กตามมาตรฐานว.ส.ท.1008-38 เพื่อรับแรงในแนวดิ่งเท่านั้น
2) ลักษณะการเสียหายของตัวอย่างที่จุดวิบัติของตัวอย่างทั้ง 2 มีการเสียหายเนื่องมาจากการวิบัติเนื่องจากแรงเฉือนที่บริเวณข้อต่อ (Joint shear failure) และพบว่าอัตราส่วนกำลังรับโมเมนต์ดัดของเสาต่อคานที่มากกว่า 1 ถึง 2.24 เท่า ไม่สามารถที่จะย้ายจุดวิบัติให้เกิดความเสียหายให้เกิดบริเวณคานได้
3) จากผลการทดสอบแสดงให้เห็นว่าค่าคงที่ของกำลังเฉือน () คำนวณตามมาตรฐาน FEMA 356 มีค่าใกล้เคียงกว่าค่าที่คำนวณโดยมาตรฐานมยผ.1301-54 (ACI318)
4) ตัวอย่างทั้ง 2 มีการสลายพลังงานสะสมความใกล้เคียงกันเนื่องจากขนาดหน้าตัดคานและเสามีขนาดเท่ากัน