DSpace Repository

การพัฒนาระบบนำส่งระดับนาโนบรรจุตัวยาฟูราโซลิโดนไปสู่เซลล์มะเร็ง

Show simple item record

dc.contributor.author วัชรพงษ์ แจ่มสว่าง
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะเภสัชศาสตร์
dc.date.accessioned 2020-05-01T08:32:55Z
dc.date.available 2020-05-01T08:32:55Z
dc.date.issued 2563
dc.identifier.uri http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/3924
dc.description.abstract ระบบนำส่งยาอนุภาคนาโนเป็นกลยุทธ์สำคัญในการเพิ่มความจำเพาะต่อเซลล์มะเร็งร่วมกับเทคนิคการเพิ่มการละลายจะช่วยเพิ่มการนำส่งยาเข้าสู่เซลล์มะเร็งมากยิ่งขึ้นและยังลดปัญหาความไม่คงตัวของยา โดยงานวิจัยมีจุดประสงค์เพื่อพัฒนำระบบนำส่งยาโดยใช้เทคนิค micellar solubilization ที่เตรียม polymeric micelle โดยใช้ poloxamer407 ร่วมกับ CTAB หรือ lecithin ที่มียา furazolidone เพื่อใช้นำส่งไปยังเซลล์มะเร็งด้วยวิธี thin-film hydration method โดยตำรับที่เตรียมได้แต่ละสูตรจะนำมาเปรียบเทียบผลของประจุบนพื้นผิวของการใช้สารลดแรงตึงผิวร่วมทั้ง 2 ชนิด โดยพิจารณาลักษณะทางกายภาพ ขนาด การกระจายตัวของอนุภาค และความสามารถในการกักเก็บยา พบว่าตำรับประจุบวกและประจุลบที่เหมาะสมที่สุดคือ poloxamer407 : CTAB ที่อัตราส่วน 10:1 มีขนาดอนุภาค 307.14 ± 62.01 nm zeta potential เท่ากับกับ 22. 36 ± 7. 97 และสามารถกักเก็บตัวยาได้ถึง 92. 26 ± 1. 49 และ poloxamer407 : lecithin ที่อัตราส่วน 50:1 มีขนาดอนุภาค 311.42 ± 32.42 nm zeta potential เท่ากับ -22.34 ± 1.31 และสามารถกักเก็บตัวยาได้ถึง 87.47 ± 3.14 เมื่อนำตำรับที่คัดเลือกนั้นมาทดสอบความสามารถในการนำเข้าสู่เซลล์มะเร็งเต้านม (MCF-7) และฤทธิ์การยับยั้งเซลล์มะเร็ง ผลการศึกษาพบว่า สูตร poloxamer407 : CTAB (10:1) ที่มียำ furazolidone สามารถเพิ่มการนำส่งยาเข้าสู่เซลล์มะเร็งและการยับยั้งเซลล์มะเร็งได้ดีที่สุด โดยสรุปแล้ว polymeric micelle ที่มีประจุบวกนั้นสามารถนำมาพัฒนาเพื่อใช้เป็นระบบนำส่งยาต่อไปได้ในอนาคต th_TH
dc.description.sponsorship งานวิจัยนี้ได้รับทุนสนับสนุนการวิจัยจากงบประมาณเงินรายได้จากเงินอุดหนุนรัฐบาล (งบประมาณแผ่นดิน) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2561 มหาวิทยาลัยบูรพา ผ่านสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ th_TH
dc.language.iso th th_TH
dc.publisher คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา th_TH
dc.subject ระบบนำส่งยา
dc.subject มะเร็ง
dc.subject สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์
dc.title การพัฒนาระบบนำส่งระดับนาโนบรรจุตัวยาฟูราโซลิโดนไปสู่เซลล์มะเร็ง th_TH
dc.title.alternative Development nano-carrier containing furazolidone for delivery to cancer cell en
dc.type Research th_TH
dc.author.email watcharaphong@go.buu.ac.th th_TH
dc.year 2563 th_TH
dc.description.abstractalternative Nano-drug delivery system is an important strategy to increase specificity towards cancer cells and also reduce side effect of the drug. The study aims to develop drug delivery system as polymeric micelle. The polymeric micelle was prepared from poloxamer407 with CTAB or lecithin which loaded furazolidone had to be delivered to breast cancer cells (MCF- 7) using thin- film hydration method. Each formulation is prepared to compare the effect of ions on the surface of the surfactant including 2 types by considering parameter; physical properties, particle size, particle size distribution and entrapment efficiency. The results showed that cationic and anionic optimum formulations are poloxamer407: CTAB ratio of 10:1 (particle size was about 307.14 ± 62.01 nm, zeta potential 22.36 ± 7.97 and entrapment efficiency 92.26 ± 1.49) and poloxamer407: lecithin ratio of 50:1 (particle size was about 311.42 ± 32.42 nm, zeta potential - 22. 34 ± 1. 31 and entrapment efficiency 87. 47 ± 3. 14) . After that the selected formulation were cellular uptake and cell cytotoxicity (MCF-7) evaluation. The results showed that the poloxamer407: CTAB (10:1) which loaded furazolidone has highest values in cellular uptake and inhibit cancer cell. In conclusion polymeric micelle has a positive charge that can be developed and used as a drug delivery system further in the future. en


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account