Abstract:
ระบบนำส่งยาอนุภาคนาโนเป็นกลยุทธ์สำคัญในการเพิ่มความจำเพาะต่อเซลล์มะเร็งร่วมกับเทคนิคการเพิ่มการละลายจะช่วยเพิ่มการนำส่งยาเข้าสู่เซลล์มะเร็งมากยิ่งขึ้นและยังลดปัญหาความไม่คงตัวของยา โดยงานวิจัยมีจุดประสงค์เพื่อพัฒนำระบบนำส่งยาโดยใช้เทคนิค micellar solubilization ที่เตรียม
polymeric micelle โดยใช้ poloxamer407 ร่วมกับ CTAB หรือ lecithin ที่มียา furazolidone เพื่อใช้นำส่งไปยังเซลล์มะเร็งด้วยวิธี thin-film hydration method โดยตำรับที่เตรียมได้แต่ละสูตรจะนำมาเปรียบเทียบผลของประจุบนพื้นผิวของการใช้สารลดแรงตึงผิวร่วมทั้ง 2 ชนิด โดยพิจารณาลักษณะทางกายภาพ ขนาด การกระจายตัวของอนุภาค และความสามารถในการกักเก็บยา พบว่าตำรับประจุบวกและประจุลบที่เหมาะสมที่สุดคือ poloxamer407 : CTAB ที่อัตราส่วน 10:1 มีขนาดอนุภาค 307.14 ± 62.01
nm zeta potential เท่ากับกับ 22. 36 ± 7. 97 และสามารถกักเก็บตัวยาได้ถึง 92. 26 ± 1. 49 และ poloxamer407 : lecithin ที่อัตราส่วน 50:1 มีขนาดอนุภาค 311.42 ± 32.42 nm zeta potential เท่ากับ
-22.34 ± 1.31 และสามารถกักเก็บตัวยาได้ถึง 87.47 ± 3.14 เมื่อนำตำรับที่คัดเลือกนั้นมาทดสอบความสามารถในการนำเข้าสู่เซลล์มะเร็งเต้านม (MCF-7) และฤทธิ์การยับยั้งเซลล์มะเร็ง ผลการศึกษาพบว่า สูตร poloxamer407 : CTAB (10:1) ที่มียำ furazolidone สามารถเพิ่มการนำส่งยาเข้าสู่เซลล์มะเร็งและการยับยั้งเซลล์มะเร็งได้ดีที่สุด โดยสรุปแล้ว polymeric micelle ที่มีประจุบวกนั้นสามารถนำมาพัฒนาเพื่อใช้เป็นระบบนำส่งยาต่อไปได้ในอนาคต