Abstract:
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะทางสัณฐานวิทยาและการเกิดโรคของเชื้อ
Phytophthora palmivora สาเหตุโรครากเน่าและโคนเน่าของทุเรียนในประเทศไทย เก็บตัวอย่าง
โรครากเน่าและโคนเน่า จำนวนทั้งสิ้น 100 ตัวอย่าง จากแหล่งปลูกทุเรียนใน 5 จังหวัด ได้แก่
นนทบุรี ระยอง จันทบุรี ตราด และจังหวัดชุมพร ภายหลังทาการแยกเชื้อด้วยวิธี tissue transplanting
method ได้เชื้อ P. palmivora จำนวน 57 ไอโซเลท ศึกษาลักษณะทางสัณฐานวิทยาของเชื้อ
P. palmivora ที่แยกได้จากอัตราการเจริญเติบโต รูปร่างโคโลนี และสปอร์แรงเจียม ผลการศึกษา
อัตราการเจริญเติบโตสามารถแบ่งเชื้อ P. palmivora ทั้งหมด ได้เป็น 3 กลุ่ม คือ 1. มีการ
เจริญเติบโตเฉลี่ยสูงสุด 6.58 เซนติเมตร จานวน 16 ไอโซเลท 2. มีการเจริญเติบโตเฉลี่ยปานกลาง
5.68 เซนติเมตร จำนวน 35 ไอโซเลท และ 3. มีการเจริญเติบโตเฉลี่ยต่าสุด 4.74 เซนติเมตร จำนวน
6 ไอโซเลท ตามลาดับ ผลการศึกษาลักษณะโคโลนีของเชื้อ P. palmivora ทุกไอโซเลท พบว่า
สามารถจำแนกได้ 5 รูปแบบ ได้แก่ uniform, radial, stellate, chrysanthemum และ rosette
ตามลำดับ ตรวจสอบรูปร่างและขนาดสปอร์แรงเจียมของเชื้อ P. palmivora จำนวน 18 ไอโซเลท
ภายใต้กล้องจุลทรรศน์ พบว่าเป็นแบบ ovoid ขนาด (กว้าง xยาว) เฉลี่ยเท่ากับ 7.43 x 10.36
ไมโครเมตร ผลการทดสอบความสามารถในการก่อโรคของเชื้อ P. palmivora จานวน 18 ไอโซเลท
โดยการตรวจสอบการเกิดแผลจุด ฉ่ำน้ำ บนใบทุเรียนที่ปลูกเชื้อ พบว่ามีความแตกต่างในความรุนแรง
ในการเกิดโรค