Abstract:
การศึกษางานวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอิทธิพลทางตรงอิทธิพลทางอ้อมและอิทธิพลโดยรวมของตัวแปรต่อความได้เปรียบในการแข่งขันของสถานประกอบการในอุตสาหกรรมชิ้นส่วนยานยนต์ และเพื่อพัฒนารูปแบบสมการโครงสร้างของนวัตกรรมและเทคโนโลยีที่ส่งผลต่อความได้เปรียบในการแข่งขันของสถานประกอบการในอุตสาหกรรมชิ้นส่วนยานยนต์ ผู้วิจัยได้ดำเนินการวิจัยเป็นแบบการวิจัยเชิงผสม คือ การวิจัยเชิงปริมาณ โดยใช้วิธีเก็บรวบรวมข้อมูลด้วย แบบสอบถาม จากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 360 แห่ง และการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้บริหารอุตสาหกรรมชิ้นส่วนยานยนต์ในประเทศไทยจำนวน 10 ท่าน ผู้วิจัยใช้โปรแกรมทางสถิติ เพื่อวิเคราะห์สถิติร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าความเบ้ ค่าความโด่ง ค่าความเชื่อถือได้ของแบบสอบถาม และในการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน และการวิเคราะห์โครงสร้าง
ความสัมพันธ์เชิงสาเหตุ ผลการวิจัยเป็นดังนี้
การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน พบว่า รูปแบบการวัดมีความสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์และสอดคล้องกับทฤษฎี โดยตัวแปรสังเกตได้มีค่ามาตรฐานน้ำหนักองค์ประกอบอยู่ระหว่าง 0.691-0.869 ค่าอัตราความผันแปร (R2) เท่ากับ 0.365-0.754 และการวิเคราะห์โครงสร้างความสัมพันธ์เชิงสาเหตุ พบว่า รูปแบบของตัวแปรมีความกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์
(Model Fit) มีค่าทดสอบดังนี้ Chi-square ( 2 ) = 53.173, df = 42, p = .116, CMIN/DF( 2 /df) = 1.266, GFI=.960, CFI=.992, AGFI=.925, NFI=.962 and RMSEA= .037 ซึ่ง ส ามารถอธิบายความผันแปรของความได้เปรียบเชิงการแข่งขันได้ ร้อยละ 54 (R2= 0.54) ผลการศึกษาพบว่า
เทคโนโลยีและนวัตกรรมส่งอิทธิพลทางตรง อิทธิพลทางอ้อม และอิทธิพลรวมในเชิงบวกต่อความได้เปรียบในการแข่งขันของสถานประกอบการในอุตสาหกรรมชิ้นส่วนยานยนต์ ดังนั้นอุตสาหกรรมต้องส่งเสริม สนับสนุนด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อให้เกิดความได้เปรียบในการแข่งขันขององค์กร รวมถึงการพัฒนาศักยภาพของบุคลากรในการสร้างสรรค์นวัตกรรมเพื่อการพัฒนาอุตสาหกรรมชิ้นส่วนยานยนต์ของไทยได้อย่างยั่งยืนต่อไป