Abstract:
งานวิจัยนี้ศึกษาเกี่ยวกับผลกระทบของมวลรวมคอนกรีตรีไซเคิลจากโรงงานคอนกรีตผสมเสร็จต่อความต้านทานการแทรกซึมคลอไรด์และกำลังอัดของคอนกรีต โดยใช้อัตราส่วนมวลรวมคอนกรีตรีไซเคิลต่อมวลรวมหยาบธรรมชาติ
ที่ร้อยละ 10, 25, 50 และ 100 อัตราส่วนน้ำต่อวัสดุประสานที่ 0.40, 0.50 และ 0.60 อัตราส่วนเถ้าลอยต่อวัสดุประสานที่ 0.30 และอัตราส่วนผงหินปูน
ต่อวัสดุประสานที่ 0.10 สำหรับทดสอบการแทรกซึมคลอไรด์แบบเร่งและทดสอบกำลังอัดของคอนกรีตที่ระยะเวลาบ่มน้ำ 28, 56 และ 91 วันการทดสอบแทรกซึมคลอไรด์แบบแช่ของคอนกรีตภายหลังระยะเวลาบ่มน้ำ 28 วันและเผชิญสารละลายคลอไรด์ 3.0% เป็นเวลา 28, 56 และ 91 วัน
สำหรับทดสอบกำลังอัดคอนกรีตที่ระยะเวลาบ่มน้ำ 28, 56 และ 91 วัน
จากผลการทดลองพบว่า เมื่อใช้อัตราส่วนมวลรวมคอนกรีตรีไซเคิลต่อมวลรวมหยาบสูงขึ้นส่งผลให้ความต้านทานการแทรกซึมคลอไรด์และกำลังอัดของคอนกรีตต่ำลง คอนกรีตที่ใช้มวลรวมคอนกรีตรีไซเคิลและใช้เถ้าลอยแทนที่บางส่วนของปูนซีเมนต์มีความต้านการแทรกซึมคลอไรด์สูงกว่าคอนกรีตที่ใช้มวลรวมคอนกรีตรีไซเคิลที่ไม่ใช้เถ้าลอย กำลังอัดของคอนกรีตที่ใช้มวลรวมคอนกรีตรีไซเคิลและใช้เถ้าลอยมีค่าสูงกว่าคอนกรีตที่ใช้มวลรวมคอนกรีตรีไซเคิลที่ไม่ใช้เถ้าลอยอย่างเห็นได้ชัดที่อายุ 91 วัน คอนกรีตที่ใช้เถ้าลอยและผงหินปูนแทนที่บางส่วนของปูนซีเมนต์มีกำลังอัดและความต้านทานการแทรกซึมคลอไรด์ต่ำกว่าคอนกรีตที่ใช้เถ้าลอย จากความสัมพันธ์ของกำลังอัด ปริมาณประจุไฟฟ้าที่ไหลผ่านคอนกรีตและสัมประสิทธิ์ การแพร่คลอไรด์สามารถนำมาหาส่วนผสมคอนกรีตที่มีความต้านทานการแทรกซึมคลอไรด์และกำลังอัดที่ดีได้
จากการเปรียบเทียบคอนกรีตที่ใช้มวลรวมคอนกรีตรีไซเคิลจากคอนกรีตผสมเสร็จและมวลรวมคอนกรีตรีไซเคิลจากคอนกรีตสำเร็จรูปพบว่า ที่อัตราส่วนน้ำต่อวัสดุประสานต่ำและอัตราส่วนมวลรวมรีไซเคิลคอนกรีตต่อมวลรวมหยาบต่ำและใช้เถ้าลอยและผงหินปูนแทนที่วัสดุประสานคอนกรีตมีกำลังอัดและความต้านทานการแทรกซึมคลอไรด์ใกล้เคียง