dc.contributor.author |
ยุพิน ถนัดวณิชย์ |
|
dc.contributor.author |
นนทกร ดำรงค์ |
|
dc.contributor.other |
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะพยาบาลศาสตร์ |
|
dc.date.accessioned |
2020-04-21T02:54:36Z |
|
dc.date.available |
2020-04-21T02:54:36Z |
|
dc.date.issued |
2562 |
|
dc.identifier.uri |
http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/3891 |
|
dc.description.abstract |
การวิจัยนี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษารูปแบบการดูแลความสุขสบายในการดูแลแบบประคับประคองภาวะสุขภาพสำหรับผู้ที่อยู่ในระยะท้ายของชีวิต ในระยะที่ 1 ซึ่งเป็นการศึกษาแบบผสมผสาน-การตรวจสอบข้อมูลแบบสามเส้า มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาความสุขสบายและความไม่สุขสบายใน 4 บริบท (ด้านร่างกาย ด้านจิตใจ-จิตวิญญาณ ด้านสังคม-วัฒนธรรมและด้านสิ่งแวดล้อม) ของผู้ป่วยที่อยู่ในระยะท้ายของชีวิต และ 2) เพื่อศึกษาความสุขสบายของ สมาชิกครอบครัวผู้ดูแล กลุ่มตัวอย่างมี 2 กลุ่มแบบคู่ ได้แก่ 1) ผู้ป่วยที่อยู่ในระยะท้ายของชีวิต (ผู้ป่วยที่แพทย์ลงความเห็นว่ามีการเจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อรังอย่างน้อย 1 โรคที่ไม่สามารถรักษาให้หายได้และการเจ็บป่วยอยู่ในระยะท้ายของชีวิตซึ่งประเมินได้จากผลคะแนนที่ได้จากการประเมินความ
ต้องการการดูแลแบบประคับประคอง < 60 คะแนน) และ 2) สมาชิกครอบครัวผู้ดูแลผู้ป่วยที่อยู่ในระยะท้ายของชีวิต (ที่ทำหน้าที่รับผิดชอบหลักในการดูแลผู้ป่วยที่อยู่ในระยะท้ายของชีวิตในขณะที่ผู้ป่วยเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล) ได้ถูกคัดเลือกตามเกณฑ์ที่กำหนด จำนวน 300 คู่ จาก 3 โรงพยาบาล เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยมีจำนวน 6 ฉบับ ได้แก่ 1) แบบประเมินความต้องการการดูแลแบบประคับประคองภาวะสุขภาพ 2) แบบสถอบถามข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ป่วยที่อยู่ในระยะท้ายของชีวิต 3) แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคลของสมาชิกครอบครัวผู้ดูแล 4) แบบสอบถามความสุขสบายของผู้ป่วยอยู่ในระยะท้ายชีวิต 5) แบบสอบถามความสุขสบายสมาชิกครอบครัวผู้ดูแลและ 6) แบบสัมภาษณ์ความไม่สบายของผู้ป่วยที่อยู่ในระยะท้ายของชีวิต ข้อมูลที่ถูกนำมาวิเคราะห์ด้วยสถิติเชิงพรรณนา (ข้อมูลจากเครื่องมือที่ 1-5) และสรุปและจับประเด็นเนื้อหา (ข้อมูลจากเครื่องมือที่ 6) ผลการศึกษาพบว่า คามสุขสบายของกลุ่มตัวอย่างผู้ที่อยู่ในระยะท้ายของชีวิตอยู่ในระดับ
ปานกลาง (X = 4.11, SD = 0.58) และความสุขสบายของกลุ่มตัวอย่างสมาชิกครอบครัวผู้ดูแลอยู่ในระดับปานกลางเช่นกัน (X = 3.92, SD = 0.47) ส่วนความไม่สุขสบาย ทั้ง 4 บริบทของกลุ่มตัวอย่างผู้ที่ในระยะท้ายของ
ชีวิตที่พบมากและมีความรุนแรงมาก ได้แก่ ด้านร่ายกาย-ความปวด ด้านจิตใจ-จิตวิญญาณ-วิตกกังวลเกี่ยวกับ
ความเจ็บป่วย และปัญหาเศรษฐกิจ ด้านสังคม-วัฒนธรรม-มีความห่วงใยบุคคลในครอบครัว และด้านสิ่งแวดล้อม-เสียงดังภายในหอ/ ห้องผู้ป่วย
สรุปได้ว่า ผู้ที่อยู่ในระยะท้ายของชีวิตและสมาชิดครอบครัวผู้ดูแลยังต้องการการส่งเสริมความสุขสบายทั้ง 4 บริบทขณะเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล พยาบาลควรจะมีความรู้และความเข้าใจแนวคิด/ทฤษฎีเรื่องความสุขสบายเพื่อให้มีศักยภาพเพียงพอในการให้การพยาบาลความสุขสบายแก่ผู้ที่อยู่ในระยะท้ายของชีวิตและสมาชิกครอบครัวผู้ดูแลให้มีความสุขสบายมากที่สุด |
th_TH |
dc.description.sponsorship |
ได้รับทุนสนับสนุนการวิจัยจากสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ ประจำปีงบประมาณ 2561 |
th_TH |
dc.language.iso |
th |
th_TH |
dc.publisher |
คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา |
th_TH |
dc.subject |
สุขภาวะ |
th_TH |
dc.subject |
สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์ |
th_TH |
dc.title |
รูปแบบการดูแลความสุขสบายในการดูแลแบบประคับประคองภาวะสุขภาพ สำหรับผู้ที่อยู่ในระยะท้ายของชีวิต |
th_TH |
dc.title.alternative |
Comfort model in Palliative Care for End-of-Life patients |
en |
dc.type |
Research |
th_TH |
dc.author.email |
tanatwanit@buu.ac.th |
|
dc.author.email |
nontakorn_katob@hotmail.com |
|
dc.year |
2562 |
th_TH |
dc.description.abstractalternative |
This research was one part of the study 3- - Comfort model in palliative care for end-of-life (EOL) patients Phase 1, designed as the method triangulation (between method triangulation). Its aims were to study comfort and discomfort within 4 contexts of the EOL patients and comfort of their family caregivers. There were 2 sample groups: 1) EOL patients (the ones were diagnosed by oncologists with at least one chronic disease and had the score of palliative performance scale > 60) and 2) family caregivers (were the members of the patients’ families who provided care for the patients during the hospitalization. These double dual sample groups had to meet the inclusion criteria (N = 300) These were 6 instruments applied: 1) Palliative performance scale version 2 (PPSv2) , 2) Demographic data form of EOL patents, 3) Demographic data form of family caregivers, 4) Hospice comfort questionnaire (Patient), 5) Hospice comfort questionnaire (Caregivers), and 6) Discomfort of EOL- patient interview. The data from 1st to 5 th tools were analyzed by descriptive statistics and the discomfort texts from the 6th tool were summarized and categorized following 4 comfort contexts. The results of the study showed that the comfort of EOL- patient samples was in the middle level (x = 411, SD = 0.58) and the comfort of EOL- patients’ family caregivers was at the middle level as well (X = 3.92, SD = 0.47). Focusing on the most common serious discomfort within 4 contexts of these EOL patients, the results revealed that encompassed: physical discomfort - - pain, psycho - - spiritual discomfort anxiety about the EOL patients themselves illness and financial problems, social-cultural discomfort - - concerning about family members, and finally, environmental discomfort - - loudly sound within he patients’ units or rooms. In summary, EOL patients and their family caregivers still need comfort promotion within 4 contexts during their hospitalization. Nursing professionals should have knowledge and better understand about comfort concept/theory in order to have sufficient potential to provide comfort nursing care to EOL patients and their family caregivers optimally. |
en |