DSpace Repository

ความสัมพันธ์ระหว่างคุณภาพน้ำและแพลงก์ตอนบริเวณประมงพื้นบ้านบ้านตากวน – อ่าวประดู่: กรณีศึกษานิเวศน์ชายฝั่งนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด จังหวัดระยอง

Show simple item record

dc.contributor.author เบ็ญจมาศ ไพบูลย์กิจกุล
dc.contributor.author ชลี ไพบูลย์กิจกุล
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตจันทบุรี. คณะเทคโนโลยีทางทะเล
dc.date.accessioned 2020-04-14T09:03:55Z
dc.date.available 2020-04-14T09:03:55Z
dc.date.issued 2562
dc.identifier.uri http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/3882
dc.description.abstract การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างคุณภาพน้ำ และแพลงก์ตอนบริเวณประมงพื้นบ้าน บ้านตากวน – อ่าวประดู่: กรณีศึกษานิเวศน์ชายฝั่งนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด จังหวัดระยอง ระยะเวลาในการศึกษาวิจัยทั้งสิ้น 12 เดือน โดยทำการเก็บตัวอย่าง 3 ครั้ง เป็นตัวแทนแต่ละฤดูกาล ได้แก่ ฤดูหนาว (เดือนมกราคม) ฤดูร้อน (เดือนเมษายน) และฤดูฝน (เดือนกรกฏาคม) เก็บตัวอย่างน้ำในช่วงเวลาน้ำขึ้นพารามิเตอร์ที่เก็บคือ แพลงก์ตอนพืช แพลงก์ตอนสัตว์ ธาตุอาหาร (แอมโมเนีย ไนไตร์ท ไนเตรต ปริมาณฟอสเฟตละลายน้ำ และ ปริมาณซิลิเกตละลายน้ำ) ตะกอนแขวนลอย อุณหภูมิ ความเค็ม ค่าดีโอ พีเอช ความลึก ความโปร่งแสง เป็นต้น ในการเก็บตัวอย่างแต่ละครั้งระบุให้ตรงพิกัดโดยเครื่อง GPS เก็บตัวอย่างแพลงก์ตอนพืชและแพลงก์ตอนสัตว์ โดยการตักน้ำจากแต่ละสถานี ๆ ละประมาณ 50 ลิตร ลึกลงไปจากผิวน้ำประมาณ 30 เซนติเมตร นำน้ำมากรองผ่านถุงแพลงก์ตอนพืช และแพลงก์ตอนสัตว์ขนาด 21 และ 55 ไมครอน ตามลำดับ ผลการศึกษาพบว่า พบแพลงก์ตอนพืช 54 สกุล มาจาก 3 ดิวิชั่น ได้แก่ ดิวิชั่น Cyanotphyta Chlorophyta และ Chromophyta สกุลที่เด่นในการศึกษานี้ ได้แก่ Chaetoceros sp., Rhizosolenia sp., Bacteriastrum sp., Psuedosolenia sp., Pseudonitzshia sp., Oscillatoria sp. และ Thalassiothrix sp. ความหนาแน่นของแพลงก์ตอนพืชเฉลี่ยเท่ากับ 307,302 เซลล์ต่อลิตร ความหนาแน่นของแพลงก์ตอนพืชสูงสุดพบในฤดูร้อนเท่ากับ 1.55 x 105 เซลล์ต่อลิตร ความหนาแน่นแพลงก์ตอนพืชน้อยที่สุดพบในฤดูหนาว เท่ากับ 6.22 x 104 เซลล์ต่อลิตร เมื่อทดสอบทางสถิติพบความแตกต่างความหนาแน่นของแพลงก์ตอนพืชตามฤดูกาลอย่างมีนัยสำคัญ แต่ไม่พบความแตกต่างตามสถานี อีกทั้งพบแนวโน้มความหนาแน่นของแพลงก์ตอนพืชใกล้กับชายฝั่ง 1 – 2 กิโลเมตรมีมากกว่าห่างจากชายฝั่ง ค่าความเข้มข้นของแอมโมเนีย ไนไตร์ท และไนเตรท สูงสุดพบในฤดูร้อน เท่ากับ 0.0172 ± 0.005 0.0028 ± 0.002 และ 0.0392 ± 0.027 mg-N/L ตามลำดับ การศึกษาสหสัมพันธ์พบว่าอุณหภูมิและพีเอชแปรผกผันกับความหนาแน่นของแพลงก์ตอนพืช ในขณะที่ค่าความเค็ม ออกซิเจนละลายน้ำ ปริมาณแอมโมเนีย ไนไตร์ท และไนเตรท มีความแปรผันตรงกับความหนาแน่นของแพลงก์ตอนพืช ผลการศึกษานี้สรุปได้ว่าความหนาแน่นของแพลงก์ตอนพืชที่พบขึ้นอยู่กับปัจจัยสิ่งแวดล้อมและระยะเวลาการศึกษาสำหรับแพลงก์ตอนสัตว์พบจากการศึกษาทั้งหมด 8 ไฟลัม ได้แก่ Phylum Protozoa Cnidaria Chaetognatha Annelida Arthropoda Mollusca Echinodermata และ Chordata โดยพบ Phylum Arthropoda มากที่สุดทุกสถานีและทุกระยะทางตลอดระยะเวลาที่ทำการศึกษา โดยสกุลที่เด่นได้แก่ โคพีพอดกลุ่มคาลานอยด์ (Calanoid copepods) พบได้มากที่สุดในทุกฤดูกาลที่เก็บตัวอย่าง และทุกสถานีตลอดระยะเวลาที่ทำการศึกษา โดยความหนาแน่นของแพลงก์ตอนสัตว์ตลอดระยะเวลาที่ทำการศึกษาเท่ากับ 3.55×106 Unit/L (3.55×108 ตัว/ลูกบาศก์เมตร) ซึ่งในฤดูร้อนจะพบความหนาแน่นของแพลงก์ตอนสัตว์มากที่สุดมีความหนาแน่นเท่ากับ 1.64×106 Unit/L (1.64×108 ตัว/ลูกบาศก์เมตร) และในฤดูฝนพบความหนาแน่นของแพลงก์ตอนสัตว์น้อยที่สุดมีความหนาแน่นเท่ากับ 5.93×105 Unit/L (5.93×107 ตัว/ลูกบาศก์เมตร) อีกทั้งพบว่า ปริมาณความเข้มข้นของสารแอมโมเนีย ไนไตร์ท ไนเตรท และฟอสเฟตละลายน้ำ พบได้ปริมาณมากที่สุด ในฤดูร้อน และพบได้น้อยที่สุดในฤดูฝน ในขณะที่สารซิลิเกตละลายน้ำพบได้ปริมาณมากที่สุด ในฤดูฝนและพบได้น้อยในฤดูร้อน ในขณะที่ปริมาณตะกอนแขวนลอยพบได้มากในฤดูหนาว และพบได้น้อยในฤดูฝน ผลการวิเคราะห์สหสัมพันธ์ระหว่างความหนาแน่นของแพลงก์ตอนสัตว์กับปัจจัยแวดล้อมต่าง ๆ พบว่า แพลงก์ตอนสัตว์มีความสัมพันธ์ในทิศทางเดียวกับฟอสเฟตละลายน้ำ ซิลิเกตละลายน้ำ อุณหภูมิ ปริมาณตะกอนแขวนลอย และความเค็ม th_TH
dc.description.sponsorship งานวิจัยนี้ได้รับทุนสนับสนุนการวิจัยจากงบประมาณเงินรายได้จากเงินอุดหนุนรัฐบาล (งบประมาณแผ่นดิน) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2561 th_TH
dc.language.iso th th_TH
dc.publisher คณะเทคโนโลยีทางทะเล มหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตจันทบุรี th_TH
dc.subject คุณภาพน้ำ th_TH
dc.subject แพลงก์ตอน th_TH
dc.subject ประมงพื้นบ้าน th_TH
dc.subject สาขาเกษตรศาสตร์และชีววิทยา th_TH
dc.title ความสัมพันธ์ระหว่างคุณภาพน้ำและแพลงก์ตอนบริเวณประมงพื้นบ้านบ้านตากวน – อ่าวประดู่: กรณีศึกษานิเวศน์ชายฝั่งนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด จังหวัดระยอง th_TH
dc.title.alternative Relationship between Water Quality and Plankton in Small – scale Fishermen Baan Ta Kuan – Ao Pra Du: Case Study of Coastal Marine Ecosystem along Map Ta Phut Industrial Estate Rayong Province en
dc.type Research th_TH
dc.author.email pchalee@buu.ac.th th_TH
dc.author.email benjamas@buu.ac.th th_TH
dc.year 2562 th_TH
dc.description.abstractalternative This study aimed to investigate the relationship between water qualities and phytoplankton at Ban Ta Kuan - Ban Ao Pradu, Map Ta Phut, Rayong province. The study was conducted for 12 months. Samples were collected three times, representing each season composed of winter (January), summer (April) and the rainy season (July). Water samples were collected during high tide. The collected parameters were phytoplankton, zooplankton, nutrients (ammonia, nitrite, nitrate, dissolved phosphate content and dissolved silicate content, suspended sediment), sediment temperature, salinity, DOP value, Deep, and transparent. The coordinates for the sampling station set by GPS. Collecting phytoplankton and zooplankton were done by collected 30 cm deep from the water surface amount 50 liters filtered by the 21-micron phytoplankton and 55-micron zooplankton nets. The results showed that 54 phytoplankton were found from 3 divisions, including Cyanotphyta, Chlorophyta, and Chromophyta. The dominant genera in this study were Chaetoceros sp., Rhizosolenia sp., Bacteriastrum sp., Pseudonolshia sp. Oscillatoria sp., and Thalassiothrix sp. The average density of phytoplankton was 307,302 cell/L. The highest density of phytoplankton was found in the summer as 1.55 x 105 cell/L. The least phytoplankton density found in the winter as 6.22 x 104 cell/L. The seasonal density of the phytoplankton was significantly different (P<0.05) but not found significantly different from the density of phytoplankton by the station. The density of the nearshore phytoplankton was higher than the far shore phytoplankton. The highest concentration of ammonia, nitrite, and nitrate found in the summer as 0.0172 ± 0.005 0.0028 ± 0.002 and 0.0392 ± 0.027 mg- N/L, respectively. Temperature and pH were an inversely proportional correlation to the density of phytoplankton while the salinity, dissolved oxygen, ammonia, nitrite, and nitrate varied directly with the density of phytoplankton. The consequence of this study showed that the density of phytoplankton found depends on environmental factors and season. Zooplankton was found in all eight phylum studies, including Protozoa, Cnidaria, Chaetognatha, Annelida, Arthropoda, Mollusca, Echinodermata, and Chordata. Arthropoda was found the most in all station and distance in the study. The dominant group was Calanoid copepods. The density of zooplankton throughout the study period was 3.55 × 106 Unit/L (3.55 × 108 individuals /cubic meter). In the summer, the highest zooplankton density was 1.64 × 106 Unit/L (1.64 × 108 individuals/cubic meter), and in the rainy season, the smallest zooplankton density was found equal to 5.93 × 105 Unit/L (5.93 × 107 individuals/cubic meter). Concentrations of ammonia, nitrite, nitrate and, dissolved phosphate found most in the summer and the least found in the rainy season while the water-soluble silicate was found in the highest amounts in the rainy season and was rare in the summer. The suspended sediment quantity was found in the winter and rarely found in the rainy season. The results of the correlation analysis between zooplankton density and various environmental factors showed that the density of zooplankton was in the positive correlate with the dissolved phosphate, soluble silicate, temperature, suspended sediment, and salinity. en


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account