DSpace Repository

การออกแบบคันดินเพื่อป้องกันการรุกล้ำของน้ำทะเล และน้ำท่วมชายฝั่งบริเวณพื้นที่ตำบลตำมะลัง อำเภอเมือง จังหวัดสตูล

Show simple item record

dc.contributor.author ชาญยุทธ กาฬกาญจน์
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิศวกรรมศาสตร์
dc.date.accessioned 2020-04-14T08:41:13Z
dc.date.available 2020-04-14T08:41:13Z
dc.date.issued 2562
dc.identifier.uri http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/3881
dc.description.abstract ปัญหาน้ำท่วมชายฝั่งพบได้บริเวณพื้นที่ริมชายฝั่งทะเลและบริเวณปากแม่น้ำ ปัจจัยที่ทำให้เกิดปัญหาดังกล่าว คือ น้ำทะเลหนุน แผ่นดินทรุดตัว แผ่นดินถูกน้ำฝนและน้ำที่กัดเซาะ หรือน้ำทะเลที่เพิ่มสูงขึ้น การใช้ที่ดินที่ไม่เหมาะสม ส่งผลให้ในบางพื้นที่ไม่สามารถใช้ประโยชน์ในการเพาะปลูกพืช หรืออยู่อาศัยได้ เช่น พื้นที่บริเวณตำบลตำมะลัง อำเภอเมือง จังหวัดสตูล ซึ่งได้ถูกเลือกมาเป็นพื้นที่ศึกษาของโครงการนี้ วิธีการศึกษาประกอบด้วย การทดสอบหาคุณสมบัติทางด้านวิศวกรรมของตัวอย่างดิน การปรับปรุงคุณภาพของดินในพื้นที่เพื่อใช้เป็นวัสดุก่อสร้างเพื่อลดราคาค่าก่อสร้าง วิธีการปรับปรุงคุณภาพดิน คือ การผสมดินในพื้นที่กับปูนซีเมนต์ประเภทที่ 1 ด้วยสัดส่วน 0 2 5 8 และ 10% ของน้ำหนักดินแห้ง ปริมาณน้ำที่ใช้ในการผสมตัวอย่าง ได้จากปริมาณค่าความชื้นที่เหมาะสมของการทดสอบการบดอัดแบบมาตรฐานของแต่ละอัตราส่วนผสมดินซีเมนต์ วิธีการทดสอบการอัดตัวคายน้ำ และการทดสอบการอัดตัวแบบอิสระถูกนำมาใช้เพื่อประเมินคุณสมบัติด้านวิศวกรรมของดินซีเมนต์ ที่ระยะเวลาการบ่ม 0 7 และ 28 วัน จากตัวอย่างดินเหนียวที่นำมาจากพื้นที่ศึกษา พบว่า เป็นดินเหนียวอินทรีย์ชนิด Clay of low plasticity (CL) และ Clay of high plasticity (CH) ตาม Unified soil classification system จากผลการทดสอบ พบว่า อัตราส่วนของดินและปูนซีเมนต์ที่เหมาะสมสำหรับการก่อสร้างคันดินกั้นน้ำทะเล คือ ดินเหนียว CL ผสมปูนซีเมนต์ที่อัตราส่วน 2% ที่อายุการบ่ม 0 วัน และดินเหนียว CH ผสมปูนซีเมนต์ที่อัตราส่วน 5% ที่อายุการบ่ม 7 วัน เนื่องจากปริมาณดังกล่าวเป็นอัตราส่วนผสมที่น้อยที่สุดที่ทำให้ค่าสัมประสิทธิ์การซึมผ่านได้มีค่าน้อยกว่า 10-8 เมตร/วินาที และยังมีกำลังรับแรงเฉือนที่เพียงพอในการนำไปใช้ก่อสร้างคันดินกั้นน้ำทะเล นอกจากนี้ อัตราส่วนดินซีเมนต์ที่เหมาะสมถูกนำมาวิเคราะห์เพื่อหาเสถียรภาพของลาดดิน ปริมาณการไหลซึมของน้ำทะเลผ่านคันดิน และค่าความเค็มของน้ำที่ไหลซึมผ่านคันดินโดยใช้โปรแกรม GeoStudio 2007 ผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่า ดินเหนียวในพื้นที่ซึ่งผสมปูนซีเมนต์สามารถนำมาใช้เป็นวัสดุก่อสร้างคันดินได้ และที่อัตราส่วนผสมนี้ ค่าความเค็มของน้ำทะเลที่ไหลซึมผ่านคันดินและฐานราก มีค่าน้อยกว่า 10 กก./ลบ.ม. (10 ppt) ดังนั้น เพื่อเป็นการลดค่าวัสดุก่อสร้าง การใช้ดินในพื้นที่ผสมกับปูนซีเมนต์สามารถนำมาใช้เป็นวัสดุก่อสร้างของคันดินได้ และคันดินสามารถป้องกันพื้นที่จากความเค็มของน้ำทะเลได้ ซึ่งส่งผลให้พื้นที่ด้านหลังคันดินสามารถนำมาใช้ทำการเกษตรได้ th_TH
dc.description.sponsorship งานวิจัยนี้ได้รับทุนสนับสนุนการวิจัยจากงบประมาณเงินรายได้จากเงินอุดหนุนรัฐบาล (งบประมาณแผ่นดิน) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2561 th_TH
dc.language.iso th th_TH
dc.publisher คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา th_TH
dc.subject ดินซีเมนต์ th_TH
dc.subject ดินเหนียวอินทรีย์ th_TH
dc.subject คันดิน th_TH
dc.subject สาขาวิศวกรรมศาสตร์และอุตสาหกรรมวิจัย th_TH
dc.title การออกแบบคันดินเพื่อป้องกันการรุกล้ำของน้ำทะเล และน้ำท่วมชายฝั่งบริเวณพื้นที่ตำบลตำมะลัง อำเภอเมือง จังหวัดสตูล th_TH
dc.title.alternative Design of Dikes for protection of saltwater intrusion and coastal flooding in Tambon Tammalang, Amphoe Mueang, Satun Province en
dc.type Research th_TH
dc.author.email chanyut@buu.ac.th th_TH
dc.year 2562 th_TH
dc.description.abstractalternative Many coastal and estuary areas have been facing severe flooding problem. The main causes of this problem are high sea-level rise, ground collapse, soil erosion induced by heavy rainfall and water in the river and improper soil usage. As a result, some areas could not be used for agriculture and residential purpose including areas in Tammalang, Mueang, Satun province, which was used as a model in this study. The local soil was investigated for its engineering properties. In order to minimize the construction cost, the local soil was planned to use as a construction material. Initially, the properties of local soil were improved by mixing with Portland cement type 1. Soil specimens were mixed with Portland cement at ratios of 0, 2, 5, 8, and 10% by dry weight of soil. The quantity of water used in specimens was the optimum moisture content obtained from the standard compaction test for each soil-cement mixture. Consolidation test and unconfined compression test were used to evaluate the soil engineering properties after curing at 0, 7, and 28 days. It was found that the local soil was identified as organic clay and was categorized as Clay of Low Plasticity (CL) and Clay of High Plasticity (CH) according to the unified soil classification system. The results demonstrated that the optimum Portland cement contents for the construction of sea dike were at 2% with 0-day curing and 5% with 7-day curing by weight of oven-dry CL clay and CH clay, respectively. At these ratios, the permeability coefficients were less than 10-8 meters per second indicating that the shear strength of materials were acceptable for the construction of the sea dike. Furthermore, the optimum mixing ratio was analyzed to estimate the slope stability, the seepage through sea dike, and the salinity flowing through the sea dike by using GeoStudio 2007. The result demonstrated that the in-situ clay mixed with cement could be considered as suitable material for the construction of sea dike. At these ratios, the salinity of saltwater intrusion was lower than 10 kg/m3 (10 ppt). In conclusion, the optimal construction materials with low cost were successfully obtained. After constructing sea dikes, the protected areas could be used for agricultural farming. en


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account