dc.contributor.author |
วิทวัส แจ้งเอี่ยม |
|
dc.contributor.other |
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิศวกรรมศาสตร์ |
|
dc.date.accessioned |
2020-04-13T08:42:16Z |
|
dc.date.available |
2020-04-13T08:42:16Z |
|
dc.date.issued |
2562 |
|
dc.identifier.uri |
http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/3870 |
|
dc.description.abstract |
การพัฒนาการย่อยสลายสารอินทรีย์ประเภทเซลลูโลส เฮมิเซลลูโลสและลิกนินโดยใช้ถังปฏิกรณ์ชีวภาพ มีความสำคัญอย่างยิ่งเนื่องจากเป็นระบบที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมซึ่งในปัจจุบันปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมมีมากขึ้นเรื่อย ๆ ตามความต้องการของประชากรที่เพิ่มขึ้น ดังนั้นการใช้ระบบบำบัดน้ำเสียทางชีวภาพจึงเป็นอีกตัวเลือกหนึ่งที่สามารถแก้ปัญหาทางสิ่งแวดล้อมและไม่ส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศน์ ซึ่งจากงานวิจัยการพัฒนากระบวนการบำบัดน้ำเสียโรงงานผลิตกระดาษโดยการตรึงเซลล์จุลินทรีย์บนเม็ดตรึงอัลจิเนตในถังปฎิกรณ์ชีวภาพแพคเบตเพื่อกำจัดเซลลูโลสในน้ำเสีย ที่ทางทีมผู้วิจัยได้วิจัยไว้นั้นสามารถแก้ปัญหาทางสิ่งแวดล้อมในการกำจัดสารอินทรีย์ประเภทเซลลูโลสได้เป็นอย่างดีแต่ทว่าในน้ำเสียนั้นมีองค์ประกอบของสารอินทรีย์ที่มากกว่าเซลลูโลสทางผู้วิจัยจึงนำงานวิจัยมาพัฒนาเติม โดยการย่อยสลายสารจำพวกเฮมิเซลลูโลสและลิกนินเพิ่มอีกสองชนิด ซึ่งสารอินทรีย์สองชนิดนี้มัก
อยู่เป็นกลุ่มและรวมตัวกับเซลลูโลส เรียกว่า สารลิกโนเซลลูโลส อีกทั้งจุลินทรีย์ที่เป็นแบคทีเรียที่ได้ทำการค้นหาไว้ในงานวิจัยก่อนหน้านั้น ไม่สามารถรองรับน้ำเสียที่มีสารลิกโนเซลลูโลสเข้มข้นได้ ทางผู้วิจัยจึง เปลี่ยนมาใช้จุลินทรีย์ในกลุ่มของรา โดยมีจุลินทรีย์ Phanerocheate chysosporium ซึ่ง
เป็นราที่สามารถย่อยสลายลิกนินได้อย่างมีประสิทธิภาพ ร่วมกับจุลินทรีย์ Trichoderma reesei ซึ่งมีศักยภาพในการย่อยสลายได้ทั้งเซลลูโลสและเฮมิเซลลูโลส ซึ่งมีประสิทธิภาพสูงกว่าจุลินทรีย์ที่เป็นแบคทีเรีย อีกทั้งยังสามารถอาศัยอยู่ร่วมกันได้ ผู้วิจัยได้ทำการเลี้ยงจุลินทรีย์ร่วมกันสองชนิดคือ Phanerocheate chysosporium ร่วมกับ Trichoderma reesei ในอาหารเลี้ยงเชื้อ potato dextrose agar พบว่าจุลินทรีย์ทั้งสองชนิดสามารถอาศัยอยู่ร่วมกันได้และไม่สร้างสารที่เป็นปฏิปักษ์ต่อกัน จากนั้นนำจุลินทรีย์ ทั้งสองชนิดไปบำบัดน้ำเสียในถังปฏิกรณ์ชีวภาพแบบกะเพื่อกำหนดสภาวะเหมาะสมสำหรับการใช้จุลินทรีย์ร่วมกัน พบว่าการใส่จุลินทรีย์ Phanerocheate chysosporium ก่อนใส่จุลินทรีย์ Trichoderma reesei เป็นเวลา 72 ชั่วโมงนั้น ส่งเสริมให้จุลินทรีย์ Trichoderma reesei ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ระยะเวลาในการย่อยสลายเซลลูโลสและเฮมิเซลลูโลสหลังจากการเติมจุลินทรีย์ Trichoderma reesei อยู่ที่ 96 ชั่วโมง จึงกำหนดเวลาสำหรับการบำบัดน้ำเสียในปฎิกรณ์แบบ CSTR ให้มีสภาวะเช่นเดียวกับถังปฎิกรณ์แบบกะ ซึ่งได้ผลการทดลอง ที่ 96 ชั่วโมงพบว่า สามารถลดปริมาณเซลลูโลสและเฮมิเซลลูโลสได้ อีกทั้งสามารถย่อยสลายลิกนินได้ 73 เปอร์เซ็นต์ โดยสรุปในน้ำเสียตัวอย่างเริ่มต้น มีปริมาณของสารแขวนลอย เริ่มต้น 2751 มิลลิกรัมต่อลิตร และมีค่า COD 10,667 มิลลิกรัมต่อลิตร ซึ่งหลังจากการบำบัดน้ำเสียของทีมผู้วิจัยแล้วสามารถลดค่า COD เหลือเพียง 4% (533 มิลลิกรัมต่อลิตร) |
th_TH |
dc.description.sponsorship |
งานวิจัยนี้ได้รับทุนสนับสนุนการวิจัยจากงบประมาณเงินรายได้ (เงินอุดหนุนจากรัฐบาล) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 |
th_TH |
dc.language.iso |
th |
th_TH |
dc.publisher |
คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา |
th_TH |
dc.subject |
ระบบบำบัดน้ำเสีย |
th_TH |
dc.subject |
น้ำเสีย - - การบำบัด |
th_TH |
dc.subject |
สาขาวิศวกรรมศาสตร์และอุตสาหกรรมวิจัย |
th_TH |
dc.title |
การพัฒนาการย่อยสลายสารอินทรีย์ประเภทเซลลูโลส เฮมิเซลลูโลส และลิกนิน โดยใช้ถังปฏิกรณ์ชีวภาพ |
th_TH |
dc.title.alternative |
Development of degradation in cellulose hemicellulose and lignin by using bioreactor |
en |
dc.type |
Research |
th_TH |
dc.author.email |
witawat@buu.ac.th |
th_TH |
dc.year |
2562 |
th_TH |
dc.description.abstractalternative |
The development of organic-substance degradation, cellulose hemicellulose and lignin, by using bioreactor is promising the implementing environmentally friendly practices. Nowadays the environmental problem is increasing proportional with the increasing of human needed, so the biological waste water treatment is an option to resolve the problem and not affect to the ecosystem. From our previous research project was to develop the wastewater treatment of paper company by using bacterial immobilized in the alginate beads in packed bed bioreactor to remove cellulose in wastewater. These project was successful to remove the organic substance in term of cellulose. But in the real wastewater from industry is contained other organic substances beside cellulose which are hemicellulose and lignin. The cellulose hemicellulose and lignin often gather and are called lignocellulose. Moreover, our bacteria from previous research did not have the ability to remove lignocellulose. So, we decided to change the method from our bacteria to fungi by using Phanerocheate chysosporium which has the acceptably ability to remove lignin and using co-culture techniques with Trichoderma reesei which has the fine ability to degrade both cellulose and hemicellulose. Both fungi not only have the ability to remove lignocellulose better than bacteria but also can culture together. Phanerocheate chysosporium and Trichoderma reesei were co-culture in the potato dextrose agar and found that both can live together and not creating any substances that are antagonistic one another. Furthermore, the co-culture fungi were used in the batch bioreactor to find the suitable condition. We found that by culturing Phanerocheate chysosporium 72 hours before Trichoderma reesei increase the Trichoderma reesei activity. The best time-point to remove the cellulose and hemicellulose after add Trichoderma reesei was 96 hours. Then, we used the previous batch bioreactor condition in the CSTR bioreactor. In 96 hours, the cellulose hemicellulose and lignin were decreased especially lignin was 73% removed. From the initial wastewater we found that total suspension is 2751 mg/L and COD is 10,667 mg/L, after treated we can decrease the COD level as low as 4% (533 mg/L). |
en |